การประเมินประชากรลูกผสมระหว่างข้าวไร่พันธุ์ก่ำหอม มช. กับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง

Main Article Content

เทวา ขอดเรือนแก้ว
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย
ต่อนภา ผุสดี
ศันสนีย์ จำจด

บทคัดย่อ

ข้าวเป็นพืชอาหารที่สำคัญแต่มีปริมาณธาตุเหล็กที่มีความจำเป็นต่อร่างกายน้อยกว่าธัญพืชชนิดอื่นๆ การพัฒนาพันธุ์ข้าวให้มีปริมาณธาตุเหล็กสูงจึงมีความสำคัญเพื่อแก้ปัญหาการขาดธาตุเหล็กสำหรับผู้ที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักข้าวพันธุ์ก่ำหอม มช. เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่มีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง เป็นข้าวเหนียวถูกจัดอยู่ในกลุ่ม tropical japonica ที่มีผลผลิตต่ำและตอบสนองต่อช่วงแสงทำให้สามารถปลูกได้เพียงปีละครั้งการนำข้าวพันธุ์ก่ำหอม มช. มาใช้ประโยชน์จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตแต่คงไว้ด้วยปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูงดังนั้น การทดลองนี้จึงผสมพันธุ์ระหว่างข้าวก่ำหอม มช. กับข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสงพันธุ์ปทุมธานี 1 โดยมีจุดประสงค์เพื่อประเมินความเข้ากันได้ทางพันธุกรรม ประเมินลักษณะทางพืชไร่ ลักษณะเมล็ดและปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดของลูกผสมที่ได้จากการผสมพันธุ์ และคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง มีผลผลิตและมีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง ผลการศึกษาพบว่าข้าวพันธุ์ก่ำหอม มช. สามารถผสมกับข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ได้และให้ลูกผสมที่เป็นปกติ ลูกผสมชั่วแรกออกดอกในฤดูนาปรังแสดงว่าได้รับการถ่ายทอดลักษณะไม่ไวแสงมาจากพันธุ์ปทุมธานี 1 ลูกผสมชั่วที่ 2 มีการกระจายตัวกว้างในทุกลักษณะที่ศึกษา โดยเฉพาะลักษณะผลผลิตและปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดที่มีการกระจายตัวเหนือขอบเขตพ่อแม่ นอกจากนี้ยังพบการกระจายตัวของสีเยื่อหุ้มเมล็ด และชนิดแป้งในเมล็ดมีทั้งแบบข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ทำให้สามารถคัดเลือกต้นที่มีผลผลิตและปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูง และมีชนิดแป้งต่างกันได้จำนวน 8 ต้น ลูกผสมเหล่านี้มีผลผลิตมากกว่าพันธุ์ก่ำหอม มช.3-5 เท่า และมีปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพันธุ์ปทุมธานี 1 37-95% ซึ่งสายพันธุ์ที่คัดเลือกจากการทดลองนี้จะเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ที่ไม่ตอบสนองต่อช่วงแสง มีผลผลิตและปริมาณธาตุเหล็กสูงได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธรรมนูญ หัทยานันท์, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย และศันสนีย์ จำจด. 2559. การคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้าพันธุ์ข้าวเจ้าก่ำไม่ไวต่อช่วงแสงและมีปริมาณแอนโทไซยานินสูง. วารสารเกษตร, 33: 81-90.

ปุริม คลิ้งทอง, ประภา ศรีพิจิตต์, รัตติกาน เกิดผล และธานี ศรีวงศ์ชัย. 2559. การถ่ายทอดลักษณะความยาวของเมล็ดในการผสมข้ามระหว่างข้าวอินดิกากับข้าวจาปอนิกา. Thai Journal of Science and Technology, 2: 144–149.

พัชรินทร์ ตุ้ยวงค์. 2558. ผลของการพ่นสังกะสีทางใบต่อผลผลิตและการสะสมธาตุสังกะสีในส่วนต่างๆ ของเมล็ดข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พิทวัส สมบูรณ์, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย, ต่อนภา ผุสดี และศันสนีย์ จำจด. 2560. การกระจายตัวทางพันธุกรรมของปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าวลูกผสมชั่วที่ 2 ระหว่างข้าวเหนียวดาจากที่สูงและข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ปลูกที่ลุ่มและที่สูง. วารสารเกษตร, 33: 323–332.

พีรนันท์ มาปัน, สุพรรณนิกา ติ๊บขัน, ชนากานต์ พรมอุทัย, ดำเนิน กาละดี และศันสนีย์ จำจด. 2557. การคัดเลือกในชั่วต้นเพื่อลักษณะแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงและไม่ไวต่อช่วงแสงในลูกผสมชั่วที่ 2 ระหว่างข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดและปทุมธานี 1. วารสารนเรศวรพะเยา, 7: 160-171.

เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์. 2550. การควบคุมทางพันธุกรรมของปริมาณธาตุเหล็กในเมล็ดข้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วรรณภา ก๋าถ้วย. 2559. ผลผลิตและปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกภายใต้สภาพไนโตรเจนและการจัดการน้ำที่แตกต่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุภาภรณ์ ยะเมืองมอญ และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2559. ผลของการจัดการน้ำต่อปริมาณผลผลิต แอนโทไซยานิน และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมือง. น. 96-99. ใน: งานวิจัยเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ.

Chang, T.T, and E.A. Bardenas. 1965. The morphology and varietal characteristics of the rice plant. Technical Bulletin 4. International Rice Research Institute, Laguna.

Delhaiza, E., B. Dell, G. Kirk, J. Loneragan, R. Nable, D. Plaskett, and M. Webb. 1984. Manual of Research Procedures. 1st edition. Plant Nutrition Research Group School of Environmental and Life Science. Murdoch University, Australia.

Fongfon, S., T. Pusadee, C. Prom-u-thai, and S. Jamjod. 2018. Population structure and genetic diversity of local black rice in Northern Thailand. Unpublished manuscript.

Graham, R.D., R.M. Welch, and H.E. Bouis. 2001. Addressing micronutrient malnutrition through enhancing the nutritional quality of staple foods: Principles, perspectives and knowledge gaps. P. 77-142. In: Advances in Agronomy.Academic Press.

Liu, P., Z. Dan, Z. Wang, S. Li, N. Li, H. Yan, X. Cai, and B. Lu. 2015. Predicting hybrid fertility from maker-based genetic divergence index of parental varieties: Implications for utilizing inter-subspecies heterosis in hybrid rice breeding. Euphytica, 203: 47–57.

McKenzie K.S, and J.N. Rutger. 1983. Genetic analysis of amylose content, alkali spreading score, and grain dimensions in rice. Crop Science, 23: 306–313.

Miko, I. 2008. Epistasis: Gene interaction and phenotype effects. Nature Education, 1: 197.

Nolte, A.W, and H.D. Sheets. 2005. Shape based assignment tests suggest transgressive phenotypes in natural sculpin hybrids (Teleostei, Scorpaeniformes, Cottidae). Frontiers in Zoology, 2:11.

Oka, H. 1974. Analysis of genes controlling F1sterility in rice by the use of isogenic lines. Genetics, 77: 521–534.

Prom-u-thai, C. 2003. Iron (Fe) in rice grain. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Rerkasem, B., S. Jumrus, N. Yimyam, and C. Prom-u-thai. 2015. Variation of grain nutritional quality among Thai purple rice genotypes grown at two different altitudes. Science Asia, 41: 377–385.

Sha, X. 2013. Rice artificial hybridization for genetic analysis. P. 1-12. In: Rice Protocols. Humana Press.
World Health Organization. 2015. The global prevalence of anaemia in 2011. Geneva.

Yan, C.J., Z.X. Tian, Y.W. Fang, Y.C. Yang, J. Li, S.Y. Zeng, S.L. Gu, C.W. Xu, S.Z. Tang, and M.H. Gu. 2011.Genetic analysis of starch paste viscosity parameters in glutinous rice (Oryza sativa L.). Theoretical and Applied Genetics, 122: 63–76.