ผลของการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศต่อคุณภาพของผักกาดหอมตัดแต่งพร้อมบริโภค

Main Article Content

กฤติยาณี วรรณภิระ
ดนัย บุณยเกียรติ
พิชญา พูลลาภ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศ และคุณภาพตลอดจนอายุการเก็บรักษาของผักกาดหอมตัดแต่งพร้อมบริโภค (ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮต และผักกาดหอมเรดคอรัล) ที่ผ่านการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศ โดยผักมีอุณหภูมิเริ่มต้น 22 - 25 °ซ ลดอุณหภูมิให้ได้อุณหภูมิสุดท้ายเท่ากับ 4 ± 1 °ซ ในการทดลองกำหนดความดันสุดท้ายในห้องลดอุณหภูมิ 3 ระดับ คือ 6.0, 6.5 และ 7.0 มิลลิบาร์ ระยะเวลาที่ผลิตผลอยู่ภายใต้ความดันที่กำหนด 2 ระดับ คือ 5 และ 10 นาที จากนั้นนำผักกาดหอมตัดแต่งพร้อมบริโภคที่ผ่านและไม่ผ่านการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศบรรจุในถุงพอลิโพรพิลีน (PP) และถุงพอลิเอทิลีน (PE) ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 ± 1 °ซ เพื่อศึกษาคุณภาพและอายุการเก็บรักษา จากการศึกษา พบว่า พารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศของผักกาดหอมตัดแต่งพร้อมบริโภคทั้งสามชนิด คือ กำหนดความดันสุดท้ายภายในห้องลดอุณหภูมิที่ 6.5 มิลลิบาร์ อยู่ภายใต้ความดันนาน 5 นาที ส่งผลให้ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮต และผักกาดหอมเรดคอรัลตัดแต่งพร้อมบริโภคใช้เวลาในการลดอุณหภูมิทั้งสิ้น 18, 19 และ 19 นาที ตามลำดับ ผักกาดหอมตัดแต่งพร้อมบริโภคที่ผ่านการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศมีคุณภาพดีกว่าและมีอายุการเก็บรักษานานกว่าตัวอย่างที่ไม่ผ่านการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศ และผักกาดหอมตัดแต่งพร้อมบริโภคที่บรรจุในถุง PP มีคุณภาพดีกว่าและมีอายุการเก็บรักษานาน 6.2 วัน ซึ่งนานกว่าตัวอย่างที่บรรจุในถุง PE ที่มีอายุการเก็บรักษา 4.7 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จริงแท้ ศิริพานิช. 2541. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2558. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักบนพื้นที่สูง. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่.

ธันย์ชนก ยอเสน, พิชญา พูลลาภ, และดนัย บุณยเกียรติ. 2560. ผลของการลดอุณหภูมิแบบสุญญากาศและชนิดของบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพของสลัดผักกาดหอมตัดแต่งพร้อมบริโภค. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 48 พิเศษ: 379-382.

นิธิยา รัตนาปนนท์ และดนัย บุณยเกียรติ. 2548. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. 2541. บรรจุภัณฑ์อาหาร. สำนักพิมพ์แพคเมทส์, กรุงเทพฯ.

พิชญา บุญประสม. 2559. การลดอุณหภูมิผักและผลไม้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา. นพบุรีการพิมพ์, เชียงใหม่.

Ahvenainen, R. 1996. New approaches in improving the shelf life of minimally processed fruit and vegetables. Trends in Fruit Science and Technology. 7: 179-187.

Alzamora, S. M., M. S. Tapia, and A. Lopez-Malo. 2000. Minimally processed fruits and vegetables. Fundamental Aspects and Applications. Aspen Publishers. Inc. Gaithersburg, USA.

Artes, F. and A. Allende. 2014. Minimal processing of fresh fruit, vegetables, and juices. In: Sun, D. W. ed. Emerging technologies for Fruit Processing. Academic Press. Elsevier, UK.

Bolin, H. R., A. E. Stafford., A. D. Jr. King, and C. C. Huxsoll. 1977. Factors affecting the storage stability of shredded lettuce. J. Food Sci. 42: 1319-1321.

Brosnan, T. and D. W. Sun. 2001. Precooling techniques and applications for horticultural products: a review. International Journal of Refrigeration. 24: 154-170.

Fillion, L. and D. Kilcast. 2002. Consumer perception of crispiness and crunchiness in fruits and vegetables. Food Quality and Preference. 13: 23-29.

Kader, A. A. 1997. Biological bases of O2 and CO2 effects on postharvest-life of horticultural perishable. p.160-163. In: Proceedings of the 7th International Controlled Atmosphere Research Conference. Vol. 4: Vegetables and ornamentals. July 13-18, 1997, University of California, Davis, USA.

McDonald, K. and D. W. Sun. 2000. Vacuum cooling technology for the food processing industry: a review. Journal of Food Engineering. 45: 55-56.

Rubatzky, E. V. and M. Yamaguchi. 1997. World vegetables: principles. Production and Nutritive Values. 2nd ed. International Thomson Publishing, New York.

Thompson, J. F., F. G. Mitchell, and R. F. Kasmire. 2002. Cooling Horticultural Commodities. P.97-112. In A. A. Kader. ed. Postharvest Technology of Horticultural Crops. Agriculture and Natural Resource. University of California, USA.

Toivonen, P. M. A. 1997. Quality changes in packaged. diced onions (Allium cepa L.) containing two different absorbent materials. Proc. Seventh Inter. Controlled Atmosphere Research Confer. University of California. Davis. 5: 1-6.

Watkins, C. B. and J. H. Ekman. 2005. Storage Technologies: Temperature interactions and effects on quality of horticultural products. Acta Horticulturae. 682: 1527-1533.

Willson, L. G., M. D. Boyette, and E. A. Estes. 2009. Postharvest handling and cooling of fresh fruits, vegetables and flowers for small farm part I. Department of Horticulture Science. North Carolina State University and North Carolina A&T State University Cooperative Extension Helping People Put Knowledge to Work, USA

Yimyong, W. and P. Soni. 2014. Effects of modified atmosphere packaging on quality of cut Dendrobiumorchid.Journal of Food, Agriculture and Environment. 12: 408-411.