ศักยภาพการเป็นพืชน้ำมันเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชที่ให้น้ำมันในป่าชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ชาติทนง โพธิ์ดง
ปริญญา ไกรวุฒินันท์
สุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์
ณัฐกฤตา บุณณ์ประกอบ

บทคัดย่อ

ชนิดของพันธุ์ไม้ที่มีศักยภาพการเป็นพืชน้ำมันเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชที่ให้น้ำมันในป่าชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์โดยสำรวจพื้นที่ป่าชุมชนทั้ง 4 ชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ ป่าชุมชนบ้านคุ้ม อำเภอลับแล (BK) ป่าชุมชนบ้านห้วยก้านเหลือง อำเภอฟากท่า (HKL) ป่าชุมชนเขาสัก อ.ทองแสนขัน (KS) และ ป่าชุมชนบ้านเหล่า อ.ตรอน (BL) จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยกำหนดจุดวางแปลงตัวอย่างชั่วคราวโดยวางแปลงตัวอย่าง ขนาด 100 X 100 เมตร จำนวน 1 แปลง ผลการศึกษาพบว่าพันธุ์ไม้ที่มีศักยภาพเป็นพืชน้ำมันทั้ง 4 พื้นที่พบพันธุ์ไม้จำนวน 4 ชนิด คือ มะกอก (Spondias pinnata) มะพอก (Parinari anamensis) หนามแท่ง (Catunaregam tomentosa) และกระบก (Irvingia malayana) โดยนำตัวอย่างพรรณไม้ที่ตรวจพบน้ำมันจำนวน 4 ชนิด คือ มะกอก มะพอก หนามแท่ง และกระบก มาทำการสกัดน้ำมัน โดยนำส่วนที่ตรวจพบน้ำมันมาทำการสกัดด้วยตัวทำละลาย คือ มะกอก(ส่วนลำต้น) มะพอก (ส่วนเมล็ด) หนามแท่ง(ส่วนเมล็ด) และกระบก (ส่วนเมล็ด) มาทำการสกัดด้วยตัวทำละลายพบว่า มะกอก หนามแท่ง และกระบก มีการตรวจพบน้ำมันด้วยการตรวจเบื้องต้น แต่เมื่อนำมาสกัดด้วยตัวทำละลายพบว่าตัวทำละลายไม่สามารถสกัดน้ำมันออกมาจากตัวอย่างได้ส่วนมะพอกตัวทำละลายสามารถสกัดน้ำมันออกมาจากเมล็ดได้การสกัดน้ำมันจากเมล็ดมะพอกได้ของเหลวมีสีเหลืองและสามารถพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมป่าไม้. 2553. สถิติป่าไม้. สำนักจัดการที่ดินป่าไม้, กรุงเทพฯ.

กนกวรรณ นิรมร. 2522. การศึกษาคุณสมบัติและองค์ประกอบของน้ำมันมะพอกและสารประกอบบางอย่างในใบประยงค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จตุฏฐาพร เพชรพรหม, ปริญญา หมั่นเก็บ, และธํารงค์ เมฆโหรา. 2556. ความหลากหลายของพืชพรรณการใช้ประโยชน์และมูลค่าทางเศรษฐกิจจากป่าชุมชนดอนยาง ตําบลหลักเมือง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 31: 37-46.

ดอกรัก มารอดและอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์สังคมพืช. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศิริหทัย แท่นแก้ว. 2548. การใช้ประโยชน์และการจัดการป่าชุมชนโนนใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุกัญญา นาคะ, วงศ์วรรณ, ชัยชาแท่น, และวิลาวัณย์ พร้อมพรม. 2559. การศึกษาสังคมพืชและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้บริเวณป่าช้าสาธารณประโยชน์ บ้านจาน เทศบาลตําบล ทุ่งกุลา อําเภอ สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 10: 93-120.

สำนักจัดการป่าชุมชน. 2555. โครงการป่าชุมชน.แหล่งข้อมูล:http://www.forest.go.th/community_forest. ค้นเมื่อ ธันวาคม 2555.

อานุช คีรีรัฐนิคม. 2556. ปริมาณคาร์บอนสะสมของป่าชุมชนบ้านหนองถิ่น ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 16: 34-40.

Kaufman, H. P., R.K. Sud, and F. Seinfen. 1960. Anstrichmittee. 62: 160-164.

Maneerat, L., S. Sarintip, C. Suraphol, N. Sajee, N. Nattaya, and P. Amorn. 2012. Fatty acid profile and lipid composition of farm-raised and wild-caught and worms, Perinereis nuntia, the diet for marine shrimp broodstock. J Anim Sci. 6: 65-75.

Marilyn, H. 1990. The contribution of forestry to food security. Available: http://www.fao.org/docrep/t7750e/t7750e02.html. Accessed Nov. 2, 2011.