ผลของการใช้กากมันสำปะหลังและเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในสูตรอาหารปลานิลต่อประสิทธิภาพการย่อยได้และการเจริญเติบโต

Main Article Content

สิทธิชัย ฮะทะโชติ
เกตุนภัส ศรีไพโรจน์
อรพินท์ จินตสถาพร
ศรีน้อย ชุ่มคำ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้กากมันสำปะหลัง และเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยชนิดต่างๆ ต่อประสิทธิภาพการย่อยได้ของคาร์โบไฮเดรต และการเจริญเติบโตในอาหารปลานิล อาหารทดลองทั้งหมด 5 สูตรมีการใช้เปลือกมันสำปะหลัง 8 เปอร์เซ็นต์ และเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยที่ระดับแตกต่างกัน ได้แก่ อาหารควบคุมที่ไม่เสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใย (T1), อาหารเสริมไซลาเนส (Xylanase) 24,000 U/Kg (T2), อาหารเสริมเซลลูเลส (Cellulase) 10 U/Kg (T3), อาหารเสริมแมนนาเนส (Mannanase) 750 U/Kg (T4) และอาหารเสริมเซลลูเลส (Cellulase) ร่วมกับ แมนนาเนส (Mannanase) (T5) อัตราส่วน 5U : 375U โดยทำการเลี้ยงปลานิลน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 45.81±1.95- 51.66±3.48 กรัม/ตัว มีการให้อาหารปลาจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลาการเลี้ยง 90 วัน ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการย่อยได้ของคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่เสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยทั้ง 4 ชนิด ไม่แตกต่างกับอาหารชุดควบคุม (P>0.05)  ส่วนการเจริญเติบโต การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตรารอดของปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารทั้ง 5 สูตร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) พบว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวันอยู่ในช่วง 0.41- 0.50 กรัม/วัน การเจริญเติบโตจำเพาะอยู่ในช่วง 0.65-0.95 เปอร์เซ็นต์/วัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้ออยู่ในช่วง 1.46-2.19 และอัตรารอดอยู่ในช่วง 91.67-100 เปอร์เซ็นต์ สรุปว่า สามารถเสริมกากมันสำปะหลังในสูตรอาหารปลานิล เพื่อทดแทนปลายข้าวได้ 8 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่จำเป็นต้องเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมประมง. 2554. ยุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล. (2553-2557). แหล่งที่มา:
http://www.fisheries.go.th/freshwater/web3/images/download/yutasat.pdf ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560.

เกวลิน หนูฤทธิ์.2559. รายงานสถานการณ์ปลานิลและผลิตภัณฑ์ปี 25592ส่วนเศรษฐกิจการประมง, กรมประมง.

เกตุนภัส ศรีไพโรจน์, รุ่งกานต์ กล้าหาญ, พงศ์นรินทร์ เมฆขุนทด และทองอยู่ อุดเลิศ . 2556. การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ปลานิลที่เลี้ยงในจังหวัดพะเยา. เกษตร. 29: 137-144.

แก้วตา ลิ้มเฮง, จันทร์จิภา อาภานันท์ และอาภรณ์ อรุณรัตน์. 2557. การศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในความหนาแน่นที่ต่างกันในน้ำความเค็มต่ำ. แก่นเกษตร 42(ฉบับพิเศษ 1) : 804-809.

คุณนิธี ลีลารัศมี,ตันติพงษ์ เพชรไชยา,ฐานันฎร เจริญรูป และณัฐพล สุวรรณวัฒน์. 2557. การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง. แก่นเกษตร 42(ฉบับพิเศษ 1): 728-734.

ธงชาติ สุริยวงค์. 2556. ผลของกากมันสำปะหลังเสริมด้วยเอนไซม์ไซลาเนสต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมรรถนะการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของไก่เนื้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา.

ปฐมพงษ์ กาศสกุล, ประจวบ ฉายบุ, ชนกันต์ จิตมนัส และ เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน. 2557. ความหนาแน่นที่เหมาะสมของการเลี้ยงปลานิลในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอควาโปนิกส์. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. แหล่งข้อมูล: www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=148817 ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2560.

เสาวนีย์ กลิ่นแก้วณรงค์ และ วรรณภา อินทร์ติยะ. 2560. การปรับปรุงคุณภาพกากมันสำปะหลังและเปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังโดยการใช้เอนไซม์ย่อยเยื่อใย. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร, สกลนคร.

อรพินท์ จิตสถาพร. 2554. เอกสารประกอบการสอนวิชาอาหารสัตว์น้ำ. คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

อรพินท์ จิตสถาพร, ทัศนีย์ คชสีห์, ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ, และ ส่งศรี มหาสวัสดิ์. 2546. การใช้ดักไหมบ้านทดแทนปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม. น. 94-120. ใน รายงานเรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 41 ประจำปี พ.ศ. 2546 (สาขาประมง). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Analia, V.F.G., C. D. Ana, M.V. Susana and L.F. Jorge. 2009. In vivo and in vitro Protein Digestibility of Formulated Feeds for Artemesia longinaris (Crutacea, Penaeidae). Braz. arch. biol. technol.52: 1379-1386.

A.O.A.C. 2000. Official Methods of Analysis. The Association of Official Analytical Chemists. Washington, D.C.

FAO. 2014. The State of World Fisheries and Aquaculture. Rome. Italy.

Heihen, J. M. 1981. Evaluation of some Binding Agent for crustacean Diets. Prog. Fish cult.

Lin, S.,Mai, K.,Tan, B., 2007. Effects of exogenous enzyme supplementation in diets on growth and feed utilization in tilapia,Oreochromis niloticus X O. aureus. Aquac. Res. 38: 1645-1653.

Malathi, V.and Devegowda G. 2001. In vitro evaluation of nonstarch polysaccharide digestibility of feed ingredients by enzymes. Poult. Sci. 80: 302-305.

Miller, G. L. 1959. Use of dinitrosalicylic acid reagent for determination of reducing sugar. Anal. Chem. 31: 426-428.

Steel, R. G. D., and Torrie, J. H. 1980. Principles and Procedures of Statistics: abiometeric Approach (2ed Ed). McGrowhill: New York.
Yigit, N.O., Olmez, M., 2011.Effects of cellulase addition to canola meal in tilapia (Oreochromis niloticus L.) diets. Aquac. Nutr. 17, e494-e590.