การประเมินความเหมาะสมที่ดินและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สำหรับต้นแบบการปลูกพืชภายใต้ระบบวนเกษตรบนพื้นที่สูง จังหวัดน่าน

Main Article Content

อังคณา สมศักดิ์
ถาวร อ่อนประไพ
กฤษฎา แก่นมณี

บทคัดย่อ

ปัญหาการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดน่าน มีสาเหตุสำคัญมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ป่าไม้ ทรัพยากรการเกษตร (เช่น ดินและแหล่งน้ำ) รวมถึงปัญหาหมอกควัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดต้นแบบของการปลูกพืชภายใต้ระบบวนเกษตรบนพื้นที่สูง โดยใช้วิธีประเมินความเหมาะสมที่ดินด้วยการประยุกต์ใช้ข้อมูลปัจจัยการเจริญเติบโตของพืชและวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ตามหลักการของ FAO และกรมพัฒนาที่ดิน ชุดของแปลงปลูกพืชทดลองต้นแบบได้ถูกดำเนินการในพื้นที่ศึกษาที่บ้านน้ำลีใต้ ตำบลปิงหลวง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน แปลงปลูกพืชทดลองต้นแบบจำนวน 7 แปลง ได้ถูกกำหนดขึ้นด้วยการประเมินและคัดเลือกระดับความเหมาะสมที่ดินร่วมกับแนวทางการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ได้แก่ การสร้างป่าสร้างรายได้และดอยตุงโมเดล และแบ่งสัดส่วนที่ดินการปลูกพืชเกษตรร่วมกับไม้ป่า หลังจากนั้น ทำการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในพื้นที่ศึกษาทั้ง 7 แปลง ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่การปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น จำนวน 120.90 ไร่ (สัดส่วนที่ดิน 70) และไม้ป่า จำนวน 51.81 ไร่ (สัดส่วนที่ดิน 30) มีระดับความเหมาะสมมาก (S1) จำนวน 7.58 ไร่ (ร้อยละ 4.38) ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 51.36 ไร่ (ร้อยละ 29.75) และระดับความเหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 113.77 ไร่ (ร้อยละ 65.87) ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดของสภาพพื้นที่ สมบัติดินเป็นกรดจัด และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดินต่ำ ท้ายที่สุด ผลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ต้นแบบผลการทดลองการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น และไม้ป่าตามสัดส่วนที่ดิน 70:30 มีความคุ้มค่าสำหรับการลงทุน เนื่องจากอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนอยู่ระหว่าง 2.99 – 3.26 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงพาณิชย์. 2554. ตารางสรุปดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปปี 2554. แหล่งข้อมูล: http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/cpi/stat/others/indexg_report2.asp?list_year=2554. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2562.

กระทรวงพาณิชย์. 2560. ตารางสรุปดัชนีราคาผู้บริโภคชุดทั่วไปปี 2561. แหล่งข้อมูล: http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/cpi/stat/others/indexg_report2.asp?list_year=2561. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2562.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2535. คู่มือการประเมินคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ. กองวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอน. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/thaisoils_museum/62_soilgroup/sgr_hi-land/sgr_hiland.htm. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2562.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2560. ข้อมูลการจัดการดิน. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/Web_Soil/acid.htm. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562.

กรมป่าไม้. 2553. การปลูกไม้ป่าเศรษฐกิจ (ยางนา สัก). สำนักงานส่งเสริมการปลูก, กรุงเทพฯ.

กรมป่าไม้. 2556ก. สัก. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า, กรุงเทพฯ.

กรมป่าไม้. 2556ข. กระถินเทพา. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า, กรุงเทพฯ.

กรมป่าไม้. 2556ค. ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า, กรุงเทพฯ.

กรมป่าไม้. 2561. เนื้อที่ป่าไม้ของประเทศไทยแยกรายจังหวัด ปี พ.ศ.2551 – พ.ศ.2560. แหล่งข้อมูล: http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id=80. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2562.

กรมป่าไม้. 2562. สวนป่าแบบผสมในรูปแบบระบบวนเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://forestinfo.forest.go.th/pfd/km1-1.aspx. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2562.

เกศศิรินทร์ แสงมณี, ธีระรัตน์ ชิณแสน, และดารณี ยุพิน. 2561. ผลของถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด. แก่นเกษตร. 49: 401-404.

จิรวรรณ กิจชัยเจริญ, พรสิริ สืบพงษ์สังข์, ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์, และพนมศักดิ์ พรหมบุรมย์. 2558. รายงานโครงการวิจัย การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง จังหวัดน่าน. ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จีราภรณ์ อินทสาร. 2557. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. สำนักพิมพ์ดีพริ้นท์, เชียงใหม่.

ชาญวาณิชย์ เกิดเกษม, สันติ สุขสะอาด, และวุฒิพล หัวเมืองแก้ว. 2548. การวิเคราะห์การลงทุนทางการเงินของสวนสมรมในป่าสงวนแห่งชาติป่าพะโต๊ะ ป่าบังหวาน และป่าปากทรง จังหวัดชุมพร. วิทยาศาสตร์เกษตร (สังคม). 26: 213-223.

เบญจพรรณ เอกะสิงห์, จิรวรรณ กิจชัยเจริญ, ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์, เทวินทร์ แก้วเมืองมูล, พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์, พรสิริ สืบพงษ์สังข์, รจเร นพคุณวงษ์, และสิทธิชัย ลอดแก้ว. 2557. โครงการวิจัยทางเลือกระบบพืชสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน จังหวัดน่าน. ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล, สำเริง ปานอุทัย, และพิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์. 2553. แบบจำลองเพื่อกำหนดพื้นที่ปลูกป่าที่ได้ผล. ส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และการจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

พชรพล เปียรักษา และสุขุมาภรณ์ แสงงาม. 2561. ผลของการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพริกขี้หนูซูเปอร์ฮอทภายใต้สภาวะดินเปรี้ยว. แก่นเกษตร. 46: 338-343.

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง. 2558. โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง, กรุงเทพฯ.

เยาวเรศ ทับพันธุ์ .2551. การประเมินโครงการตามแนวเศรษฐศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วาสนา พุฒกลาง และชรัตน์ มงคงสวัสดิ์. 2556. การโซนนิ่งพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการผสมผสานหาทางเลือกสำหรับการใช้ที่ดิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน: ประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2556: geoinfotech 2013 25 - 27 ธันวาคม 2556. อิมแพ็ค คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เมืองทองธานี, นนทบุรี.

สมชัย เบญจชัย. 2556. การเก็บคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากป่าไม้. กลุ่มงานวิชาการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16, เชียงใหม่.
สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และเขมรัฐ เถลิงศรี. 2558. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก. สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

สำนักพระราชวัง. 2557. คู่มือการปฏิบัติงานโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน. 2562. ข้อมูลพืชเศรษฐกิจจังหวัดน่าน. แหล่งข้อมูล: http://www.nan.doae.go.th/production/productiondoae.htm. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2562.

สำนักงานจังหวัดน่าน. 2562. ที่ตั้งอาณาเขต. แหล่งข้อมูล: http://www.nan.go.th/webjo/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=22. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562.

สำนักงานแรงงานจังหวัดน่าน. 2559. รายงานสถานการณ์แรงานจังหวัดน่าน ไตรมาสที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2559. สำนักงานแรงงานจังหวัดน่าน, น่าน.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6. 2554. ผลตอบแทนทางการเงินของการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกจังหวัดฉะเชิงเทรา กรณีแบ่งตามความเหมาะสมของกลุ่มชุดดินสำหรับปลูกมะม่วง. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร, ชลบุรี.

สุเพชร จิรขจรกุล. 2552. เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1. บริษัท เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, นนทบุรี.
หฤทัย มีนะพันธ์. 2550. หลักการวิเคราะห์โครงการ ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2530. คู่มือปฏิบัติการการสำรวจดิน (Soil survey laboratory manual). ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Bandyopadhyay, S., R.K. Jaiswal, V.S. Hegde, and V. Jayaraman. 2009. Assessment of land suitability potentials for agriculture using a Remote Sensing and GIS based approach. Remote Sens. 30(4): 879-895.

Bray, R.A. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available form of phosphorus in soil. Soil Sci. 59: 39-45.

FAO. 1983. Guidelines: Land Evaluation for Rainfed Agriculture Soils Bulletin No.52. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome, Italy.

Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand: Department of Land Development. Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand.

Molnár, M., E. Vaszita, É. Farkas, É. Ujaczki, I.F. Kertész, M. Tolner, O. Klebercz, C. Kirchkeszner, K. Gruiz, N. Uzinger, and V. Feigl. 2016. Acidic sandy soil improvement with biochar - a microcosm study. Sci. Total Environ. 563-564: 855-865.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual: Soil Survey Investigations Report No. 42 Version 3.0. United States Department of Agriculture (USDA), Washington D.C, United States.

Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1996. Total Carbon, Organic Carbon, and Organic Matter: Methods of Soil Analysis Part 3 - Chemical Methods. Soil Science Society of America and American Society of Agronomy, Wisconsin, United States.

Pleysier, J. L. 1995. Systematic Sampling. International Institute of Tropical Agriculture (IITA), Ibadan, Nigeria.

Pratt, P.E. 1965. Method of soil Analysis Part 2: Chemical and Microbiological Properties. American Society of Agronomy and Academic Press, Wisconsin, United States.

Ritung, S., Wahyunto, F. A., and H. Hidayat. 2007. Land suitability evaluation with a case map of Aceh Barat district. Indonesian Soil Research Institute and World Agroforestry Centre, Bogor, Indonesia.

Satienperakul, K. 2013. Economic Value Evaluation of Forest Plantation and Montane Forest Ecosystems for Restoration of Highland Head Watershed in Northern Thailand. Ph. D. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.

Soil Survey Division Staff. 1993. Soil Survey Manual. United States Department of Agriculture (USDA), Washington D.C., United States.

Summer, M.E. and W.P. Miller. 1996. Cation exchange capacity and exchange coefficient: Method of soil science analysis part 3 chemical methods. American Society of Agronomy and Soil Science Society of America, Wisconsin, United States.

Walkley, A. and C. A. Black. 1934. An Examination of the Degtjareff Method for Determination Soil organic Matter and a Proposed Modification of the Chrom Acid Titration method. Soil Sci. 37: 29-38.

Webster, R. 1977. Quantitative and numerical methods in soil classification and survey. Oxford University Press, Oxford, United Kingdom.

Widiatmaka W., Ambarwulan, A. Sutandi, K. Murtilaksono, K. Munibah, and U. Daras. 2015. Suitable and available land for cashew (Anacardium occidentale L.) in the island of lombok, Indonesia. J. Appl. Hortic. 17: 129 - 139.