อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ และน้ำหมักชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินและผลผลิตของพืชผัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินบางประการและผลผลิตของกระเจี๊ยบเขียว ผักกาดหัว และคะน้า ที่ปลูกต่อเนื่องในชุดดินสันทราย วางแผนการทดลองแบบ 3x4 factorial in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ มี 2 ปัจจัย ปัจจัยแรก น้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ 1) ไม่ใส่น้ำหมักชีวภาพ (ควบคุม), 2) น้ำหมักมูลไส้เดือน, และ 3) น้ำหมักปลา ปัจจัยที่สอง ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ควบคุม), 2) ปุ๋ยมูลค้างคาว, 3) ปุ๋ยหมัก และ 4) ปุ๋ยมูลไก่ จากการศึกษาพบว่าปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ และน้ำหมักชีวภาพมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินหลังปลูกและช่วยเพิ่มผลผลิตของพืชทั้ง 3 ชนิด โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และยังช่วยเพิ่มผลผลิตพืชผักที่ปลูกแตกต่างกันออกไป โดยปุ๋ยมูลไก่ทำให้กระเจี๊ยบเขียวมีผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 2,099.6 กก./ไร่ ปุ๋ยหมักทำให้ผักกาดหัวและคะน้ามีผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 1,191.0 และ 684.4 กก./ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวร่วมกับน้ำหมักมูลไส้เดือนดินทำให้ผลผลิตผักกาดหัวเพิ่มสูงที่สุด 62.5% และการใช้น้ำหมักปลาร่วมกับปุ๋ยหมักทำให้คะน้ามีผลผลิตเพิ่มสูงที่สุด 47.4% การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินและผลผลิตของพืชผักผันแปรตามชนิดของปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพที่ใช้
Article Details
References
กรมพัฒนาที่ดิน (ข). 2553. กระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และวัสดุปรับปรุงดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.
จิระพร เชยชิต, ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย, และมงคล ต๊ะอุ่น. 2556. อิทธิพลของน้ำหมักมูลไส้เดือนดินต่อการเร่งการเจริญเติบโต
ของรากและการแตกตาข้างของมันสำปะหลัง 3 พันธุ์. แก่นเกษตร. ฉบับพิเศษ 42: 297-301.
ชูจิตต์ สงวนทรัพยากร. 2553. ผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีบางประการและธาตุอาหารพืชในดินของพื้นที่โครงการหลวง.
การวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชูจิตต์ สงวนทรัพยากร, ละเอียด สินธุเสน, นฤมล จันทวัชรากร, และสุพัตรา บุตรพลวง, 2547, การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินในพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ของโครงการหลวง .ผลงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นภาพร พันธุกมลศิลป์ และกาญจนี วิริยะพานิชย์. 2560. ผลของการจัดการปุ๋ยต่อสมบัติดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตมันสำปะหลังในชุดดินยโสธร. แก่นเกษตร. 45: 505-514.
บัญชา รัตนีทู และศิราณี วงศ์กระจ่าง. 2561. ผลของการใช้วัสดุอินทรีย์เหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการปรับปรุงดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมกระดังงา (สายพันธุ์พื้นเมือง). แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ. 46: 463-467.
ปานชีวัน ปอนพังงา, ปริญญาพร เผ่ามงคล และสวิมล ทุมวารี. 2557. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินลูกรังและเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน. แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ. 42: 700-707.
พงสันติ์ สีจันทร์, ปุญญิศา ตระกูลยิ่งเจริญ, นภาพร วงษ์โพธิ์ขอม, ศุภชัย อำคา, พิบูลย์ กังแฮ, สุชาดา กรุณา, และเธียร วิทยาวรากุล. 2553. สภาวะธาตุอาหารพืชและปัจจัยทางดินเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนในพื้นที่เกษตรกรรมโครงการหลวง, การวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย.
พรทิพย์ ศรีมงคล, ภาคภูมิ ตันเตชสาธิต, และระวิวรรณ บุญเผย. 2557. ผลของอัตราปุ๋ยคอกและวันปลูกต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหน้าดินและในดิน และคุณสมบัติดินในระบบการปลูกข้าวโพดแซมด้วยถั่วเขียวภายใต้สภาพดินลูกรัง. แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ. 42: 407-413.
สมเกียรติ สุวรรณคีรี. 2547. ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพและการประยุกต์ใช้ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เสียงแจ๋ว พิริยพฤนต์. 2544. กระบวนการผลิตและประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. เอกสารวิชาการกองอนุรักษ์ดินและน้ำ,กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, สมฤทัย ตันเจริญ, ภาวนา ลิกขนานนท์, และสุปราณี มั่นหมาย. 2553. ศึกษาการสลายตัวและพฤติกรรมการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยผสมอินทรีย์เคมี ภายใต้สภาพความชื้นสนาม:การทดลองย่อย ศึกษาการสลายตัวและพฤติกรรมการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยหมัก.กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา, สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร.
อริสสรา แก้วพิลารมย์, วิมลนันทน์ กันเกตุ, ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช, และพรทิพย์ ศรีมงคล. 2557. ผลของการใช้วัสดุอินทรีย์และระบบการไม่ไถพรวนต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินบางประการในดินนาเค็มน้อย. แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ. 42: 198-203.
Al-Hamadany, S.Y.H. and C.G. Abdel. 2008. Improving radish yields by the application of nitrogen fertilizer. Journal of Tikrit University for Agricultural science. 8: 360-370.
Aranganathan, L. and R.S.R. Radhika. 2016. Bioconversion of marine trash fish (MTF) to organic liquid fertilizer for effective solid waste management and its efficacy on Tomato growth. Management of Environmental Quality. 27: 93-103.
Alfa, M.I. 2014. Assesment of biofertilizer quality and health implications of anaerobic digestion effluent of cow dung and chicken droppins. Renewable Energy. 63: 681-686
Almed-Baloch, P., R. Uddin, F.K. Nizamani, A.H. Solangi, and A.A. Siddiqui. 2014. Effect of nitrogen, phosphorus and potassium fertilizers on growth and yield characteristics of Radish (Raphinus sativus L.). American-Eurasian Journal Agriculture & Environment Science. 14(6): 565-569.
Chalhoub, M., P. Garnier, Y. Coquet, B. Mary, and F. Lafolie. 2013. Increased nitrogen availability in soil after repeated compost applications: Use of the PASTIS model to separate short and long-term effects. Soil Biology& Biochemistry. 65: 144-157.
Chang, R., Y. Yao, W. Cao, J. Wang, X. Wang, and Q. Chen. 2019. Effects of composting and carbon based materials on carbon and nitrogen loss in the arable land utilization of cow manure and corn stalks. Journal of Environment Management. 233: 283-290.
Guo, L., F. Wu, Y. Li, C. Li, W. Li, J. Meng, H. Liu, X. Yu, and G. Jiang. 2016. Effects of cattle manure compost combined with chemical fertilizer on topsoil organic matter, bulk density, and earthworm activity in a wheat-maize rotation in Eastern China. Soil& Tillage Research. 156: 140-147.
Hartz, T.K., R. Smith, and M. Gaskell. 2010. Nitrogen availability from liquid organic fertilizers. Hortechnology. 20: 169-172
Hose, T.D., M. Cougnon, A.D. Vliegher, B. Vandecasteele, N. Viaene, W. Crnelis, E.V. Bockstaele, and D. Reheul. 2014. The positive relationship between soil quality and crop production: A case study on the effect of farm compost application. Applied Soil Ecology. 75: 189-198.
Kamla, N., V. Limpinuntana, S. Ruaysoongnern, and R.W. Bell. 2007. Role of microorganisms, soluble N and C compound in fermented bio-extract on microbial biomass C, N and cowpea growth. Khon Kaen Agriculture Journal. 35: 477-486.
Kim, J.K., V.T. Dao, I.S. Kong, and H.H. Lee. 2010.Identification and characterization of microorganism from earthworm viscera for the conversion of fish wastes into liquid fertilizer. Bioresource Technology. 101: 5131-5136.
Kim, M.J. 2015. Effect of aerated compost tea on the growth promotion of lettuce, soybean, and sweet corn in organic cultivation. Plant Pathol Journal. 31: 259-268.
Meena, NK. and A. Bhati. 2016. Response of nitrogen, phosphorus and potassium levels on growth and yield of Okra (Abemoschus esculentus (L.) Moench). Journal of Agriculture and Ecology. 2: 17-24.
Naveen Kumar, B., G. Padmaja, and P. Chandrasekhar-Rao. 2017. Response of Okra (Abelmoschus esculentus L.) to various levels of nitrogen and potassium at different growth stages. International Journal of Pure and Applied Bioscience. 5: 530-539.
Nilawonk, W. 2014. Application of vermicompost for marigold production in Chiangmai, Thailand.p. 1-3. In: Proceedings of International conference on agricultural, environment and biological science. June 4-5,2014, Antalya, Turkey
Nilawonk, W. 2015. Influence of vermicompost and compost application to the growth and yield of jasmine and rose in Chiangmai, Thailand. p. 6-10. In: Proceedings of 2nd International conference on agricultural, environment and biological science (ICAEBS’15). August 16-17, 2015, Bali, Indonesia.
Sanchez, O.J., D.A. Ospina, and S. Montoya. 2017. Compost supplementation with nutrients and microorganism in composting process. Waste Management. 69: 136-153.
Toselli, M., E. Baldi, L. Cavani, M. Mazzon, M. Quartieri, F. Sorrenti, and C. Marzadori. 2019. Soil-plant nitrogen pools in nectarine orchard in response to long-term compost application. Science of The Total Environment. 671: 10-18.
Wu, F., J.H. Chi-Wan, S. Wu, and M. Wong. 2012. Effects of earthworm and plant growth-promoting rhizobacteria (PGPR) on availability of nitrogen, phosphorus, and potassium in soil. Journal of Plant Nutrition and Soil Science. 175: 423-433.
Zhu, Y., G. Li, H. Liu, G. Sun, R. Chen, and S. Song. 2018. Effects of partial replacement of nitrate with differentnitrogen forms on the yield, quality, and nitrate content of Chinese kale. Communications in Soil Science and Plant Analysis. 49: 1384-1393.