ประสิทธิภาพของเชื้อราสกุล Chaetomium ในการควบคุมโรครากเน่าของส้มเขียวหวาน

Main Article Content

สุณิสา ชมชิด
โรเบิร์ต เจมส์ แมกกอฟเวิ่น
รัชดาวรรณ ชีวังกูร
ชัยวัฒน์ โตอนันต์

บทคัดย่อ

แยกเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora spp.) สาเหตุโรครากเน่าจากดินที่เก็บจากบริเวณรากส้มที่แสดงอาการของโรค ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 ไอโซเลท และนำมาทำการทดสอบความสามารถในการเกิดโรคบนใบส้มโดยการปลูกเชื้อบนใบส้มด้วยชิ้นเชื้อสาเหตุโรคโดยวิธี Detached leaf พบ เชื้อราไฟทอฟธอราที่มีความสามารถในการทำให้เกิดโรคบนใบส้มในระดับที่รุนแรง 3 ไอโซเลท ได้แก่ YY002 WF185 และ PS85 จากนั้นทดสอบความต้านทานของเชื้อราไฟทอฟธอราต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาแลกซิล พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 250 ppm ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราไฟทอฟธอราไอโซเลท YY002 เมื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่า เชื้อราไฟทอฟธอรา มีลักษณะที่ตรงกับเชื้อรา Phytophthora parasitica ทำการแยกเชื้อราปฏิปักษ์คีโตเมียม (Chaetomium spp.) จากตัวอย่างดินและวัสดุทางการเกษตร ได้ 25 ไอโซเลท และศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราคีโตเมียมในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรครากเน่าของส้ม ด้วยวิธี Dual culture บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA พบว่า เชื้อราคีโตเมียมไอโซเลท HT1 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา P. parasitica ไอโซเลท YY002 ได้ดีที่สุด คือ 64.56 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการศึกษาสารสกัดจากเชื้อราคีโตเมียมไอโซเลท HT1 พบว่า สารสกัดหยาบที่สกัดด้วยเอทิล อะซิเตท ระดับความเข้มข้น 1,000 ppm สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและการสร้าง chlamydospore ของเชื้อราสาเหตุโรคได้สูงที่สุดโดยมีค่า ED50 ของการยับยั้งการเจริญเติบโตเท่ากับ 12.65 ppm และมีค่า ED50 ของการยับยั้งการสร้าง chlamydospore เท่ากับ 38.28 ppm

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ส้มเขียวหวาน. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant /rortor/fruit2/orange.pdf. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562.

เกษม สร้อยทอง. 2534. การใช้รา Chaetomium globosum ควบคุมโรคใบจุดของข้าวโพด. น. 269- 275. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2534 กรุงเทพฯ.

เกษม สร้อยทอง. 2535. การผลิตยาเชื้อสำหรับควบคุมเชื้อโรคพืชโดยชีววิธี. น. 301-307. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2535 กรุงเทพฯ.

นลินี ศิวากรณ์ , พจนา ตระกูลสุขรัตน์ และ เพลินพิศ สงสังข์. 2553. การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของส้มโอโดยใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2553 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. เอกสารวิชาการลำดับที่ 1/2554. หน้า 2592-2612.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. ส้มเขียวหวาน. แหล่งข้อมูล:http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcai data/files/tangerines60.pdf. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561.

อมรัตน์ ภู่ไพบูลย์, พระวรรณ พัฒนวิภาส และ ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี. 2555. ผลของสารป้องกันกำจัดโรคพืช metalaxyl ต่อการเจริญของรา Phytophthora palmivora. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2555 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อมรัตน์ ภู่ไพบูลย์, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช และ พจนา ตระกูลสุขรัตน์. 2552. การจัดการโรคราน้ำฝนของลำไย. เอกสารออนไลน์ เอกสารวิชาการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อมรัตน์ ภู่ไพบูลย์. 2553. รา Phytophthora สาเหตุโรคพืชในประเทศไทย. เอกสารวิชาการกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.

Anandi, V., T.J. John, A. Walter, J.C.M. Shastry, M.K. Lalitha, A.A. Padhye, L. Ajello, and F.W. Chandler. 1989. Cerebral Phaeohyphomycosis caused by Chaetomium globosum in a renal transplant recipient. Journal of Clinical Microbiology. 27: 2226-2229.

Bakoonyi, J., and T. Ersek. 1997. A thereat of potato late blight in Hungary. Novenyvedelem 33: 221-228.

Davis, R.M. 1982. Control of Phytopthora root and foot rot of citrus with systemic fungicides metalaxyl and phosethyl aluminum. Plant Disease. 66: 218-220.

Heller, W.E., and H.R. Theiler. 1994. Antagonism of Chaetomium globosum, Gliocladium virens and Trichoderma viride to Four Soil Borne Phytophthora species. Phytopatho. 141: 390-394.

Hung, P.M., W. Pongnak, and K. Soytong. 2014. Biological control of Pomelo diseases using Chaetoium sp. Journal of Agricultural Technology 10: 833-844.

Johnston, A. and C. Booth. 1983. Plant Parthologists Pocketbook. Commonweath Mycological Institute.

Pietro, A.D., M. Gut-Rella, J. P. Pachlatko, and F.J. Schwinn. 1992. Role of antibiotics produced by Chaetomium globosum in biocontrol of Pythium ultimum, a causal agent of damping-off. Phytopathology 82: 131-135.

Smith G.S., D.J. Hutchison, and C.T. Henderson. 1987. Screening sweet orange citrus cultivars for relative susceptibility to Phytophthora root rot. Proc. Fla. State Hort. Soc. 100: 64-66.

Soytong, K., P. Usuwan, S. Kanokmedhakul, K. Knokmedhakul, V. Kukongviriyapan, and M. Isobe. 1999. Integrated biological control of Phytophthora rot of sweet orange using mycofungicides in Thailand. Proc. of the 5th International Conference on Plant Protection in the Tropics. 15-18 March 1999. Malaysia.

Thomas E.J., David L.C., and D.E. Weller. 1993. Nutrient interception by a riparian forest receiving inputs from adjacent cropland. J. ENVIRON. QUAL. 22: 467-473.

Waterhouse, G. M. 1963. Key to the species of Phytophthora de bary. Mycological Papers. 92: 1-22.

Yan, H., Y. Zhong, B. Jiang, B. Zhou, B. Wu, and G. Zhong. 2017. Guanggan (Citrus reticulata) shows strong resistance to Phytophthora nicotianae. Scientia Horticulturae. 225: 141-149