ประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำโดยการคลุมผ้าใบพลาสติกทึบแสงสีดำในการอนุบาลกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการบำบัดน้ำโดยการคลุมผ้าใบพลาสติกทึบแสงสีดำเพื่อนำไปใช้การอนุบาลลูก กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาหาระยะเวลาที่ใช้ในการบำบัดน้ำโดยวิธีคลุมผ้าใบพลาสติกทึบแสงสีดำ โดยแบ่งเป็นชุดการทดลองที่ 1 ที่ใช้น้ำทะเลความเค็ม 15 ppt เติมคลอรีนผงที่ความเข้มข้น 30 ppm เป็นชุดควบคุม (WC) และชุดการทดลองที่ 2 ที่ใช้น้ำทะเลความเค็ม 15 ppt คลุมด้วยผ้าใบพลาสติกทึบแสงสีดำ (WP) หลังจากนั้นทำการเก็บตัวอย่างน้ำทั้งสองชุดทดลองตามระยะเวลาที่ 0 (เริ่มการทดลอง), 1, 3, 6, 12, 24, 48, 72, 96,120, 144 และ 168 ชั่วโมง ผลการศึกษา พบว่า ในกลุ่ม WC ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 0 ถึง 72 นั้น ไม่พบปริมาณแบคทีเรียรวมและปริมาณ Vibrio ในน้ำ จนกระทั่งในชั่วโมงที่ 96 จึงเริ่มพบปริมาณแบคทีเรียรวม (3.85+2.82x102 CFU/ml) จนกระทั่งมีปริมาณสูงสุดในชั่วโมงที่ 168 คือ 52.80+17.22x102 CFU/ml ส่วนปริมาณ Vibrio เริ่มพบในชั่วโมงที่ 96 (2.90+3.95x102 CFU/ml) และมีปริมาณสูงสุดที่ 168 ชั่วโมงหลังจากเริ่มทำการทดลอง คือ 12.85+9.55x102 CFU/ml ในขณะที่กลุ่ม WP ในชั่วโมงที่ 0 มีปริมาณแบคทีเรียรวมสูงสุด คือ 47.47+8.06x102 CFU/ml และลดลงต่ำที่สุดในชั่วโมงที่ 120 ที่พบเพียง 0.10+0.05x102 CFU/ml ส่วนปริมาณ Vibrio ในน้ำพบสูงสุดในชั่วโมงที่ 0 คือ 9.27+1.45x102 CFU/ml จนกระทั่งครบชั่วโมงที่ 96 ของการทดลองและระยะเวลาหลังจากนั้นไม่พบปริมาณ Vibrio ในน้ำตัวอย่าง ส่วนคุณภาพน้ำของทั้งสองชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) จากผลการทดลองที่ 1 จะเห็นได้ว่าน้ำที่ได้จากการบำบัดในกลุ่ม WP อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการอนุบาลกุ้งก้ามกราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม WP ที่มีการพักน้ำไว้ที่ 120 ชั่วโมง สำหรับการทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาอัตราการรอดตาย การเจริญเติบโต และคุณภาพลูกกุ้งก้ามกรามที่อนุบาลด้วยน้ำที่ผ่านการบำบัดโดยวิธีคลุมผ้าใบพลาสติกทึบแสงสีดำ โดยแบ่งเป็นชุดการทดลองที่ 1 น้ำที่ผ่านการบำบัดด้วยคลอรีนเข้มข้น 30 ppm พักน้ำไว้เป็นระยะเวลา 72 ชั่วโมง (WC-M) และชุดการทดลองที่ 2 น้ำที่ผ่านการบำบัดด้วยการคลุมผ้าใบพลาสติกทึบแสงสีดำ และพักน้ำไว้เป็นระยะเวลา 120 ชั่วโมง (WP-M) ปล่อยลูกกุ้งระยะนอเพียสลงในถังไฟเบอร์กลาสที่ภายในบรรจุน้ำ 200 ลิตร ในอัตราความหนาแน่น 100 ตัว/ลิตร (ชุดการทดลองละ 5 ซ้ำ) พบว่า ลูกกุ้งทั้งสองชุดการทดลองเข้าสู่ระยะโพสลาวาร์ ในวันที่ 30 ของการอนุบาล โดยลูกกุ้งในกลุ่ม WC-M มีอัตราการรอดตายและเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา (อัตราการคว่ำ) ของกุ้ง คือ 43.33 และ 39.33 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่ม WP-M มีอัตราการรอดตายและอัตราการคว่ำ ของกุ้ง คือ 45.67 และ 37.00 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ระหว่างชุดการทดลอง ด้านคุณภาพลูกกุ้งระยะคว่ำพบว่า ลูกกุ้งทั้งสองชุดการทดลองอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้นน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำโดยใช้วิธีคลุมผ้าใบพลาสติกทึบแสงสีดำเป็นระยะเวลา 120 ชั่วโมง (5 วัน) มีประสิทธิภาพดีและมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการอนุบาลกุ้งก้ามกราม
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. 2549. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย พ.ศ. 2549. กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง. 2563. สถานการณ์กุ้งก้ามกรามปี 2562 และแนวโน้ม ปี 2563. กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง, กรมประมง.
จักรพงศ์ นีละมนต์. 2549. ผลของไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) และ Extra Small Virus (XSV) ในแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามต่อคุณภาพลูกกุ้ง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ชลอ ลิ้มสุวรรณ, และ พรเลิศ จันทร์รัชชกุล. 2547. อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย. บริษัท เมจิค พับบลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ.
ชลอ ลิ้มสุวรรณ, นิติ ชูเชิด, วราห์ เทพาหุดี, ชัชรี แก้วสุรลิขิต, เต็มดวง สมศิริ, กุลวรา แสงรุ่งเรือง, และ ทิมโมที วิลเลียมฟีเกล. 2549. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ กุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งก้ามกรามอย่างยั่งยืน (ปีที่ 2). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ทวี วิพุทธานุมาศ, อัมพุธนี นวลแสง, และสราลี ชูฉิม. 2561. คู่มือการเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ,กรมประมง.
นิติ ชูเชิด, ชลอ ลิ้มสุวรรณ, วราห์ เทพาหุดี, เต็มดวง สมศิริ, นิธิศ ภัทรกุลชัย, และ ศุภมาศ ศรีวงศ์พุก. 2548. การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ การเกิดโรค และอัตรารอดในการอนุบาลกุ้งก้ามกรามสายพันธุ์ที่ปรับปรุงแล้ว. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
วณิชยา น้อยวังคลัง. 2544. อนุกรมวิธานของกุ้งน้ำจืดสกุล Macrobrachium Bate, 1868 ในลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุธี วงศ์มณีประทีป. 2553. ผลของอุณหภูมิต่อความรุนแรงของไวรัสดวงขาว (White Spot Syndrome Virus) ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei). ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุวรรณา วรสิงห์, และ พรเลิศ จันทร์รัชชกุล. 2539. ความเป็นพิษเฉียบพลันและผลของคลอรีนที่มีต่อกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon, Fabricius. เอกสารวิชาการฉบับที่ 34. ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจันทบุรี. กรมประมง.
APHA, AWWA, and WEF (American Public Health Association, American Water Works Association, and Water Environment Federation). 2012. Standard Methods for examination of water and wastewater. 22nd ed. American Public Health Association. Washington, D.C., USA.
Arellano, E. 1990. Fatty acid composition of wild and culture Penaeus vannamei as a method to evaluate postlarvae quality, P. 50. In: Abstracts of the World Aquaculture Society Meeting, National Research Council Canada. Ottawa.
Boyd, C.E. 2008. Chlorine effective disinfectant in aquaculture. Global Aquac. Adv. 11: 52-53.
Clifford, H.C. 1992. Marine shrimp pond management: a review, P.110-137. In: J. Wyban, ed. Processings of the Special Session on Shrimp Farming. World Aquaculture Society, Baton Rouge, LA, USA.
Flegel, T.W., 1997. Special topic review: major viral diseases of the black tiger prawn (Penaeus monodon) in Thailand. World J. Microbiol. Biotechnol. 13: 433-442.
Ganesh, E.A., S. Das, K. Chandrasekar, G. Arun, and S. Balamurugan. 2010. Monitoring of total heterotrophic bacteria and Vibrio spp. in an aquaculture pond. Curr. Res. J. Biol. Sci. 2: 48-52.
Moriarty, D.J.W. 1997. The role of microorganisms in aquaculture ponds. Aquaculture. 151: 333-349.
Moriarty, D.J.W. 1998. Control of luminous Vibrio species in penaeid aquaculture ponds. Aquaculture. 164: 351-358.
Moriarty, D.J.W. 1999. Disease control in shrimp aquaculture with probiotic bacteria. In: C.R. Bell, M. Brylinsky, and P. Johnson-Green eds., Microbial Biosystems: New Frontiers. Proceedings of the 8th International Symposium on Microbial Ecology. Atlantic Canada Society for Microbial Ecology, Halifax, Canada.
New, M.B. 2002. Farming freshwater prawns. A manual for the culture of the giant river prawn (Macrobrachium rosenbergii). FAO Fisheries Technical Paper No. 428, Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome.
Rick B. 2007. Plastic sheeting: A guide to the specification and use of plastic sheeting in humanitarian relief. Oxfam Publishing, Oxford, UK.
Saurabh, S., V. Kumar, S. Karanth, and G. Venkateshwarlu. 2006. Selection of high-health postlarvae: A prerequisite for sustainability of the Indian shrimp industry. Aquac. Asia. 11: 4-9.
Smith, L.L., T.M. Samacha, J.M. Biedenbach, and A.L. Lawrence. 1992. Use of one-liter Imhoff cones to optimize larviculture production, P. 287-300. In: A.W. Fast and L.J. Lester, eds. Marine Shrimp Culture: Principles and Practices. Elsevier, Amsterdam, Netherlands.
Sutisna, E.W., M. Rokhmat, D.Y. Rahman, R. Murniati, Khairurrijal, and M. Abdullah. 2017. Batik wastewater treatment using TiO2 nanoparticles coats on the surface of plastic sheet. Procedia Engineering 170: 78-83.
Vogt, G., V. Storch, E.T. Quinitio and F.P. Pascual. 1985. Midgut gland as monitor organ for functional value of diets in Penaeus monodon. Aquaculture. 48: 1-12.
Yoganandhan, K., M Leartvibhas, S. Sriwongpuk and C. Limsuwan, 2006. White tail disease of the giant freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii) in Thailand. J. Aquat. Org. 69: 255-258.