ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของปลาหมอไทย (Anabas testudineus)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการเสริม Schizochytrium sp. ต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของปลาหมอไทย(Anabas testudineus) โดยนำลูกปลาหมอไทย (น้ำหนักเฉลี่ย 1.09±0.04 g) เลี้ยงในตู้กระจกที่ภายในบรรจุน้ำ 30 ลิตร จำนวน 12 ตู้ ตู้ละ 30 ตัว แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง และให้อาหารสำเร็จรูปที่ผสมด้วย Schizochytrium sp. ในอัตราส่วน 0%, 2.5%, 5.0% และ 7.5% ควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมตลอดระยะเวลาการเลี้ยง 60 วัน พบว่า ปลาหมอไทยที่ได้รับอาหารที่ผสม Schizochytrium sp. ในอัตราส่วน 7.5% มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (7.23±1.30 g) อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (0.12±0.02 g/day) และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (3.38±0.20 %/day) สูงกว่าปลาที่ได้รับอาหารชุดทดลองอื่น แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ระหว่างชุดการทดลอง (P>0.05) ในขณะที่อัตราการรอดตายของปลาหมอไทยที่ได้รับอาหารที่เสริม Schizochytrium sp. (100±0.00%) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเสริม Schizochytrium sp. ลงในอาหาร (96.67±1.52%) (P<0.05) และพบว่าปลาหมอไทยในกลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีการเสริม Schizochytrium sp. ในอัตราส่วน 7.5% ให้ผลอัตราการแลกเนื้อดีที่สุด (1.06±0.11) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเสริม Schizochytrium sp. ลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาหมอไทยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตที่ดี และมีอัตราการรอดตายสูง ซึ่งระดับการเสริม Schizochytrium sp. ที่เหมาะสม คือ ในอัตราส่วน 7.5%
Article Details
References
กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง. 2562. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กอบศักดิ์ เกตุเหมือน, สรรเสริญ ช่อเจี้ยง, และ จูอะดี พงศ์มณีรัตน์. 2553. ผลการเสริม Schizochytrium limacinum (D. Honda & Yokochi, 1998) ในอาหารต่อพัฒนาการ อัตราการรอดตาย และความทนทานต่อความเครียดของลูกปูทะเล (Scylla paramamosian Estampador, 1949). เอกสารวิชาการฉบับที่ 7/2553. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.
จูอะดี พงศ์มณีรัตน์, กอบศักดิ์ เกตุเหมือน, และ ไพบูลย์ บุญลิปตานนท์. 2553. ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum (D. Honda & Yokochi, 1998) ในอาหารต่อช่วงระยะเวลาพัฒนาการของตัวอ่อน อัตราการรอดตาย และความทนทานต่อความเครียดในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758). รายงานการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2553 วันที่ 28-29 มิถุนายน 2553. กรมประมง. กรุงเทพฯ.
ทรงทรัพย์ อรุณกมล. 2552. การใช้ Schizochytrium limacinum ในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei, Boone) และผลที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกันและความทนทานต่อความเครียด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปิยารมณ์ พวงช่อ. 2552. ผลของ Schizochytrium sp. ต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei, Boone). ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พัชรี ซุ่นสั้น, จูอะดี พงศ์มณีรัตน์, จำเริญศรี พวงแก้ว, และ ไพบูลย์ บุญลิปตานนท์. 2553. ผลการเสริม Schizochytrium limacinum (D. Honda & Yokochi, 1998) ในอาหารต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและความทนทานของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ระยะวัยอ่อน เอกสารวิชาการฉบับที่ 6/2553. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
มยุรา ประยูรพันธ์. 2549. กรดไขมันในทรอสโทคิทริดส์ที่คัดแยกได้จากใบไม้ป่าชายเลน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์. 2536. อาหารปลา. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สุดชาดา ไชยแสง, บัณฑิต ยวงสร้อย, และ สุธี วงศ์มณีประทีป. 2556. การเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายในปลานิลรุ่น. แก่นเกษตร 41 (ฉบับพิเศษ 1): 129-134.
สุดชาดา ไชยแสง, บัณฑิต ยวงสร้อย, ปัทมา วิริยพัฒนทรัพย์, และ สุธี วงศ์มณีประทีป. 2557. ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล. แก่นเกษตร 42 (ฉบับพิเศษ 1): 44-50.
สุทธินี ลิ้มธรรมมหิศร, มนทกานติ ท้ามติ้น, และคมคาย ลาวัณยวุฒิ. 2551. การเสริมเชื้อรา Schizochytrium sp. แบบผงเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของโรติเฟอร์ (Brachionus rotundifermis, Tschugunoff, 1921) และไรน้ำเค็ม (Artemia sp.) เพื่อใช้อนุบาลลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790). เอกสารวิชาการฉบับที่ 53/2551. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
อนุสรณ์ ศรีสุวงศ์. 2557. ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อการเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของกุ้งก้ามกราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
อนุสรณ์ ศรีสุวงศ์, ชลอ ลิ้มสุวรรณ, นิติ ชูเชิด, และ สุธี วงศ์มณีประทีป. 2556. ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของกุ้งก้ามกราม. แก่นเกษตร 41 (ฉบับพิเศษ 1): 123-128.
อนุสรณ์ ศรีสุวงศ์, บัณฑิต ยวงสร้อย, ปัทมา วิริยพัฒนทรัพย์, และ สุธี วงศ์มณีประทีป. 2558. ผลของ Schizochytrium sp. ต่อการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อของกุ้งก้ามกรามเพศผู้. แก่นเกษตร 43: 53-60.
AOAC (Association of Official Analytical Chemists). 1990. Official Methods of Analysis, 15th edition. Association of Official Analytical Chemists, Arlington, Virginia, USA.
APHA, AWWA, and WEF (American Public Health Association, American Water Works Association, and Water Environment Federation). 2012. Standard Methods for examination of water and wastewater. 22nd ed. American Public Health Association. Washington, D.C., USA.
Barclay, W., and S. Zeller. 1996. Nutrition enhancement of n-3 and n-6 fatty acids in rotifers and Artemia nauplii by feeding spray-dried Schizochytrium sp. J. Word Aquac. Soc. 27: 314-322.
Bligh, E.G., and W.J. Dyer. 1959. A rapid method of total lipid extraction and purification. Can. J. Biochem. Physiol. 37: 911-917.
Boyd, C.E., 1998. Water Quality for Pond Aquaculture. International Center for Aquaculture and Aquatic Environments, Alabama Agricultural Experiment Station, Auburn University, Alabama, USA
Chatdumrong, W., W. Yongmanitchai, S. Limtong, and W. Worawattanamateekul. 2007. Optimization of docosahexaenoic acid (DHA) production and improvement of astaxanthin content in a mutant Schizochytrium limacinum isolated from mangrove forest in Thailand. Kasetsart J. (Nat. Sci.). 41: 324-334.
Funk, C.D., 2001. Prostaglandins and leukotrienes: advances in eicosanoid biology. Science. 294: 1871-1875.
Ganuza, E., T. Benítez-Santana, E. Atalah, O. Vega-Orellana, R. Ganga, and M.S. Izquierdo. 2008. Crypthecodinium cohnii and Schizochytrium sp. as potential substitutes to fisheries-derived oils from seabream (Sparus aurata) microdiets. Aquaculture. 277: 109-116.
Holub, B.J., and C.M. Skeaff. 1987. Nutrition regulation of cellular phosphatidylinositol. Meth. Enzymol. 141: 234-244.
Honda, D., T. Yokochi., T. Nakahara., M. Erata, and T. Higashihara. 1998. Schizochytrium limacinum sp. nov., a new thraustochytrids from a mangrove area in the west Pacific Ocean. Mycol. Res. 102: 439-448.
Kamlangdee, N., and K.W. Fan. 2003. Polyunsaturated fatty acids production by Schizochytrium sp. isolated from mangrove. Songklanakarin J. Sci. Technol. 25: 643-650.
Lemm, C.A., and D.P. Lemarie. 1991. Survival and growth of larval striped bass (Morone saxatilis) fed Artemia enriched with highly unsaturated fatty acid (HUFA). Aquaculture. 99: 117-126.
Li, M.H., E.H. Robinson, C.S. Tucker, B.B. Manning, and L. Khoo. 2009. Effects of dried algae Schizochytrium sp., a rich source of docosahexaenoic acid, on growth, fatty acid composition, and sensory quality of channel catfish Ictalurus punctatus. Aquaculture. 292: 232-236.
Massaro, M., E. Scoditti, M.A. Carluccio, and R. De Caterina. 2008. Basic mechanisms behind the effects of n-3 fatty acids on cardiovascular disease. Prostaglandins Leukot. Essent. Fatty Acids. 79: 109-115.
National Research Council (NRC). 1993. Nutrition Requirement of Fish. National Academy Press. Washington D.C.
Nonwachai, T., W. Purivirojkul, C. Limsuwan, N. Chuchird, M. Velasco, and A.K. Dhar. 2010. Growth, nonspecific immune characteristics, and survival upon challenge with Vibrio harveyi in Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) raised on diets containing algal meal. Fish Shellfish Immunol. 29: 298-304.
Raghukumar, S. 2008. Thraustochytrid marine protists: production of PUFAs and other emerging technologies. Mar. Biotechnol. 10: 631–640.
Sargent, J.R., J.G. Bell., M.V. Bell., R.J. Henderson. and D.R. Tocher. 1995. Requirement criteria for essential fatty acids. J. Appl. Ichthyol. 11: 183-198.
Sargent J.R., D.R. Tocher, and J.G. Bell. 2002. The lipids. Fish Nutr. 3:181–257.
Sarker P.K., A.R. Kapuscinski, A.J. Lanois, E.D. Livesey, K.P. Bernhard, and M.L. Coley. 2016. Towards sustainable aquafeeds: complete substitution of fish oil with marine microalga Schizochytrium sp. improves growth and fatty acid deposition in juvenile Nile tilapia (Oreochromis niloticus). PLoS ONE. 11: e0156684. doi:10.1371/journal.pone.0156684.
Xie, J., H. Fang, S. Liao, T. Guo, P. Yin, Y. Liu, L. Tian, and J. Niu. 2019. Study on Schizochytrium sp. improving the growth performance and nonspecific immunity of golden pompano (Trachinotus ovatus) while not affecting the antioxidant capacity. Fish Shellfish Immunol. 95: 617-623.
Yamasaki, T., T. Aki, Y. Mori, T. Yamamoto, M. Shinozaki, S. Kawamoto, and K. Ono. 2007. Nutritional of enrichment of larval fish feed with Thraustochytrid producing polyunsaturated fatty acids and xanthophylls. J. Biosci. Bioeng. 104: 200-206.
Yokochi, T., D. Honda, T. Higashihara, and T. Nakahara. 1998. Optimization of docosahexaenoic acid production by Schizochytrium limacinum SR21. Appl. Microbiol. Biotechnol. 49: 72-76.