ต้นทุน ผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิล (Oreochromis niloticcus) ในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

สิทธิชัย ฮะทะโชติ
เกตุนภัส ศรีไพโรจน์
อรพินท์ จินตสถาพร
ศรีน้อย ชุ่มคำ

บทคัดย่อ

การศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลในจังหวัดสกลนคร เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้จากการเลี้ยงปลานิลในกระชังและบ่อดิน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังและบ่อดินในจังหวัดสกลนคร จำนวน 47 ราย จากจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลทั้งหมด 93 ราย ผู้ค้าส่งและค้าปลีกปลานิลจำนวน 15 ราย พบว่ากระชังเลี้ยงปลาของเกษตรกรส่วนใหญ่มีขนาด 3x3x3 เมตร การเลี้ยงปลานิลในกระชังมีอัตราปล่อยลูกพันธุ์ปลาเฉลี่ย 48 ตัว/ตร.ม. มีอัตรารอดเฉลี่ย 82 % ผลผลิตเฉลี่ย 577 กก./กระชัง/รอบ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเฉลี่ย 1.37 ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 58 บาท/กก. ส่วนการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน มีอัตราปล่อยลูกพันธุ์ปลาเฉลี่ย 3 ตัว/ตร.ม. มีอัตรารอดเฉลี่ย 70% อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเฉลี่ย 1.35 ผลผลิตเฉลี่ย 1,775 กก./ไร่ ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 55 บาท/กก. ระยะเวลาการเลี้ยงปลานิลในกระชังและบ่อดินเฉลี่ย 5 เดือน ต้นทุนการเลี้ยงปลานิลในกระชังและในบ่อดินเท่ากับ 54.92 บาท/กก. และ 49.41 บาท/กก. ตามลำดับ ต้นทุนผันแปรสำหรับการเลี้ยงในกระชังและในบ่อดินเท่ากับ 94.60 % และ 93.43 % ตามลำดับ ต้นทุนคงที่สำหรับการเลี้ยงในกระชังและในบ่อดินเท่ากับ 5.40% และ 6.57% กำไรจากการเลี้ยงปลาในกระชังและในบ่อดินเท่ากับ 3.08 บาท/กก. และ 5.59 บาท/กก. ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2552. คู่มือเกษตรกร การจัดการดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรมพัฒนาที่ดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมประมง. 2560. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558. เอกสารฉบับที่ 5/2560. กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง, กรมประมง, กรุงเทพฯ.

กรมประมง. 2561. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ.2559. เอกสารฉบับที่ 12/2561. กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง, กรมประมง, กรุงเทพฯ.

เกตุนภัส ศรีไพโรจน์, ณรงค์ กมลรัตน์, วิจิตรา ชัยมงคล, และวิชาญ อิงศรีสว่าง. 2558. ต้นทุน และผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลในกระชังในจังหวัดสกลนคร. แก่นเกษตร 43 (ฉบับพิเศษ 1): 588-594.

เกวลิน หนูฤทธิ์. 2560. สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ ปี 2560. แหล่งข้อมูล:http://fishco.fisheries.go.th/pdf/. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560.

เกวลิน หนูฤทธิ์. 2561. สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ ปี 2561. แหล่งข้อมูล:http://fishco.fisheries.go.th/pdf/. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562.

พีณะพงษ์ ศรมยุรา และพิทักษ์ ศิริวงศ์. 2559. การผลิตและการตลาดปลานิลในบ่อดิน ของผู้ประกอบการในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. น. 655-661. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร,กรุงเทพฯ.

เริงชัย ตันสุชาติ, อารีย์ เชื้อเมืองพาน, ธรรญชนก คำแก้ว, และชนิตา พันธุ์มณี. 2557. ห่วงโซ่คุณค่าของปลานิลในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. รายงานผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2552. ศักยภาพการผลิตและการตลาดปลานิล. เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เลขที่ 119. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และคณะทำงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านประมง. 2561. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สุรศักดิ์ บวรรัมย์ และชัยยา สกุลซ้ง. 2557. ศักยภาพการผลิตปลานิลในรูปแบบบ่อดินและการตลาดในจังหวัดสกลนคร. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ, สกลนคร.

Suresh, A.V., and C.K. Lin. 1992. Tilapia culture in saline waters: a review. Aquaculture. 106: 201-226.

Yamane, T. 1970. Statistics : an Introductory Analysis. 2nd Edition. John Weatherhill Inc., Tokyo.