ผลของแคลเซียมซิลิเกตจากอุตสาหกรรมซีเมนต์ต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และการสะสมของงาแดงสองสายพันธุ์

Main Article Content

พฤกษ์ ชุติมานุกูล
รุศมา มฤบดี
อรชิตา มีบุญ
ศรัณภิรมย์ งามล้วน

บทคัดย่อ

งาแดงเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันโดยผ่านกระบวนการขัดสีและใช้แทนงาขาวที่มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ มีลักษณะเด่น คือ ปลูกได้ง่าย ลงทุนต่ำ ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ต้องการน้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นๆ หลายชนิด มีความทนทานต่อความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง สามารถต้านทานต่อโรคได้ดี และให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งทำให้งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 และพันธุ์อุบลราชธานี 2 ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อความแปรปรวนของสภาพอากาศ และให้ผลผลิตสูง แคลเซียมซิลิเกตมีประโยชน์ต่อพืช เช่น ส่งเสริมพัฒนาการของราก ผล และช่วยเพิ่มผลผลิต ปกป้องพืชจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของศัตรูพืช ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณแคลเซียมซิลิเกตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต และการสะสมของงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 และพันธุ์อุบลราชธานี 2 โดยวางแผนการทดลองแบบ 2×5 Factorial in completely randomized design (CRD) จำนวน 8 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัย A คือ งาแดงสองสายพันธุ์ (พันธุ์อุบลราชธานี 1 และพันธุ์อุบลราชธานี 2) ปัจจัย B คือ ปริมาณแคลเซียมซิลิเกต (0, 200, 400, 600 และ 800 กก./ไร่) จากผลการทดลองพบว่า งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 มีความสูงและน้ำหนักแห้งลำต้นที่สูงกว่าในทุกระดับของปริมาณแคลเซียมซิลิเกต ด้านองค์ประกอบผลผลิตงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 มีน้ำหนักแห้งฝัก จำนวนฝักต่อต้น และผลผลิตต่อต้นสูงที่สุด และด้านการสะสมซิลิกอนของงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร่วมกับการใส่แคลเซียมซิลิเกต 400 กก./ไร่ ส่งผลให้ในเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การสะสมสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2551. งา. แหล่งข้อมูล: http://it.doa.go.th/vichakan/news.phpnewsid. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561.

พงศกร นิตย์มี, พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง, ศุภชัย อำคา และ ธงชัย มาลา. 2558. ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยแคลเซียมซิลิเกตและการให้ทางดินต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาพฤกษศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2552. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วาสนา วงษ์ใหญ่. 2556. เทคโนโลยีการปลูกงาด้วยเครื่องปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว. ภาควิชาไร่นา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี. 2556. "งาแดง" พันธุ์ใหม่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง. แหล่งข้อมูล: http://gms.oae.go.th/Z_Show.asp. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2561.

ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี. 2558. งาแดงพันธุ์ใหม่ พันธุ์อุบลราชธานี 2 จุดเด่น ผลผลิต-สารต้านอนุมูลอิสระ. แหล่งข้อมูล: https://web.facebook.com/ก้าวเกษตร. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2561.

Balasta, M. L. F. C., C. M. Perez, B. O. Juliano, C. P. Villareal, J. N. A. Lott, and D. B. Roxas. 1989. Effect of silica level on some properties of Oryza sativa straw and hull. Canadian Journal of Botany. 67: 2356-2363.

Guével, M. H., J. G. Menzies, and R. R. Bélanger. 2007. Effect of root and foliar applications of soluble silicone on powdery mildew control and growth of wheat plants. European Journal of Plant Pathology. 119: 429–436.

Kaerlek, W.J. 2012. Effect of Silicon on Plant Growth and Drought Stress Tolerance. All Graduate Theses and Dissertations. Utah State University.

Knight, C. T. G., and S. D. Kinrade. 2001. A primer on the aqueous chemistry of silicon. In: Silicon in agriculture. Elsevier, Amsterdam. 57–84.

Li, Q., C. Ma, and Q. Shang. 2007. Effects of silicon on photosynthesis and antioxidant enzymes of maize under drought stress. Yingyong Shengtai Xuebao. 18: 531–536.

Ma, J. F., S. Goto, K. Tamai, and M. Ichii. 2001. Role of root hairs and lateral roots in silicon uptake by rice. Plant Physiology. 127: 1773–1780.

Marschner, H. 1995. Mineral Nutrition of Higher Plants. 2nd ed. Academic Press, NewYork.

Nayar, P. K., A. K. Misra, and S. Patnaik. 1975. Rapid microdetermination of silicon in rice plant. Plant Soil. 42: 497-494.