ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดเบบี้เรดคอสที่ปลูกในระบบไฮโดรพอนิกส์

Main Article Content

จาริวัฒณ์ ศิริอินทร์
เธียร ธีระวรวงศ์
นราศักดิ์ บุญมี

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการจัดการปุ๋ยสังกะสีต่อการเจริญเติบโตในต้นกล้าของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และก่ำดอยสะเก็ด ที่เพาะในวัสดุปลูกขี้เถ้าแกลบ วางแผนการทดลองแบบ 2 × 16 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) โดยทำการทดลองทั้งหมด 3 ซ้ำ มี 2  ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือพันธุ์ข้าวจำนวน 2 พันธุ์ คือ ชัยนาท 1 (CNT 1) และ ก่ำดอยสะเก็ด (KDK) ปัจจัยที่ 2 คือการจัดการปุ๋ย 15 กรรมวิธี เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (control) ซึ่งมีวัสดุปลูกขี้เถ้าแกลบเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใส่ปุ๋ย ปลูกข้าวในถาดเพาะกล้าที่มีจำนวน 104 หลุม จำนวน 1 ต้นต่อหลุม ประเมินการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวทั้งสองพันธุ์จากน้ำหนักแห้งส่วนต้นและราก ผลการทดลองพบว่า เมื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกล้าข้าวทั้งสองพันธุ์ที่เจริญเติบโตภายใต้การจัดการปุ๋ยในแต่ละกรรมวิธีกับชุดควบคุม แม้ต้นกล้าข้าวทั้งสองพันธุ์มีการเจริญเติบโตที่ตอบสนองต่อการจัดการปุ๋ยสังกะสีแต่ละกรรมวิธีแตกต่างกัน แต่ไม่มีกรรมวิธีใดที่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าในข้าวทั้งสองพันธุ์ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่มีเพียงวัสดุปลูกขี้เถ้าแกลบ ในขณะที่บางกรรมวิธีกลับมีผลทำให้การเจริญเติบโตของกล้าข้าวในทั้งสองพันธุ์ ลดลง โดยพบว่า ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 มีการตอบสนองต่อการจัดการปุ๋ยเกือบทุกกรรมวิธีมากกว่าข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 มีน้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินและน้ำหนักแห้งราก 2.3 - 4.8 กรัม และ 0.8 - 2.1 กรัมต่อถาดเพาะ ตามลำดับ ในขณะที่ชุดควบคุมมีน้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินและส่วนราก 4.7 กรัม และ 2.1 กรัมต่อถาดเพาะ ตามลำดับ ส่วนในข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด มีน้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินและน้ำหนักแห้งราก 0.8 - 4.9 กรัม และ 0.2 - 1.6 กรัมต่อถาดเพาะ ตามลำดับ ในขณะที่ชุดควบคุมมีน้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินและส่วนราก 4.4 กรัม และ 1.5 กรัมต่อถาดเพาะ ตามลำดับ การทดลองนี้บ่งชี้ว่ากรรมวิธีการจัดการปุ๋ยสังกะสีแบบต่าง ๆ ไม่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตในกล้าข้าวทั้งสองพันธุ์ได้เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมและบางกรรมวิธีมีผลเชิงลบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากวัสดุปลูกขี้เถ้าแกลบที่ใช้ในการเพาะกล้าข้าวที่ไม่ส่งเสริมความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในการนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวได้ อย่างไรก็ตามความแตกต่างในการตอบสนองของข้าวแต่ละพันธุ์ในแต่ละกรรมวิธีการจัดการเป็นเรื่องที่น่าสนใจ การศึกษาต่อไปจำเป็นต้องทดสอบวัสดุเพาะกล้าข้าวที่หลากหลายชนิด เพื่อหาวัสดุเพาะกล้าที่เหมาะสมต่อกรรมวิธีในการจัดการปุ๋ยของกล้าข้าวแต่ละพันธุ์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าว

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เจนจิรา หม่องอ้น, สุคนธมาส เปรมปรุงวิทย์, สยมพร นากลาง, วาสนา เสนาพล, และอารมย์ จันทะสอน. 2560. การเพิ่มความแข็งแรงของต้นกล้าข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลังโดยวิธีการแช่เมล็ดและท่อนพันธุ์ในสารละลายแคลเซียม โบรอน และสังกะสี. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 9: 49-62.

เนตรชนก เกียรตินนทพัทธ์ และชวนพิศ อรุณรังสิกุล. 2555. เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าข้าวสาลีอินทรี 1 เพื่อทำน้ำคั้นใบข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 43: 185-188.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 4 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Alamdari, M.Q., and H.R., Mobasser. 2014. The effect of macro and micro-nutrient fertilizers on yield and yield attributes of rice in a calcareous soil. Journal of Experimental Agriculture International. 4(12): 1604-1615.

Alloway, B.J. 2008. Zinc in Soil and Crop Nutrition.2nd edition. IZA, Brussesls, Belgium and IFA Paris, France.

Cakmak, I. 2008. Enrichment of cereal grains with zinc: Agronomic or genetic biofortification. Plant and Soil. 30: 1-17.

Cakmak, I., B. Torun, B. Erenoglu, L. Öztürk, H. Marschner, M. Kalayci, H. Ekiz, and A. Yilmaz. 1998. Morphological and physiological differences in the response of cereals to zinc deficiency. Euphytica. 100: 349-357.

Chen, Y., J. Cui, X. Tian, A. Zhao, M. Li, S. Wang, X. Li, Z. Jia, and K. Liu. 2017. Effect of straw amendment on soil Zn availability and ageing of exogenous water-soluble Zn applied to calcareous soil. PLoS One. 12: e0169776.

Chukwuma, M.C., E. T. Eshett, E.U. Onweremadu, and M.A. Okon. 2010. Zinc availability in relation to selected soil properties in a crude oil polluted eutric tropofluvent. International Journal of Environmental Science and Technology. 7: 261-270.

Gomes, G.M.F., C. Philipssenc, E.K. Barda. L. Dalla Zen, and G. de Souza. 2016. Rice husk bubbling fluidized bed combustion for amorphous silica synthesis. Journal of Environmental Chemical Engineering. 4: 2278-2290.

Lewin, J., and B.E. Reimann. 1969. Silicon and plant growth. Annual Review in Plant Physiology. 20: 289-304.

Mamun, M.A.A., M.M Rana, and A.J. Mridha. 2013. Tray soil management in raising seedlings for rice transplanter. CJPAS. 7: 2481-2489.

Marschner, H. 1995. Marschner’s Mineral Nutrition of Higher Plants, 2nd edition, Academic Press, London.

Parker, M.B., and M.E., Walker. 1986. Soil pH and manganese effects on manganese nutrition of peanut 1. Agronomy Journal. 78: 614-620.

Phuphong, P., I. Cakmak, A. Yazici, B. Rerkasem, and C. Prom-u-thai. 2020. Shoot and root growth of rice seedlings as affected by soil and foliar zinc applications. Journal of Plant Nutrition. 43: 1259-1267.

Prom-u-thai, C., B. Rerkasem, A. Yazici, and I. Cakmak. 2012. Zinc priming promotes seed germination and seedling vigor of rice. Journal of Plant Nutrition and Soil Science. 175: 482-488.

Rehman, H.U., T. Aziz, M. Farooq, A. Wakeel, and Z. Rengel. 2012. Zinc nutrition in rice production systems: a review. Plant Soil. 361: 203-26.

Rengel, Z. 2015. Availability of Mn, Zn and Fe in the rhizosphere. Journal of Soil Science and Plant Nutrition. 15: 397-409.

Sadeghzadeh, B. 2013. A review of zinc nutrition and plant breeding. Journal of Soil Science and Plant Nutrition. 13: 905-927.

Schwartz, S.M., R.M, Welch, D.L. Grunes, E.E. Cary, W.A. Norvell, M.D. Gilbert, M.P. Meridith, and C.A. Sauchirico. 1987. Effect of zinc, phosphorus and root-zone temperature on nutrient uptake by barley. Soil Science Society of America Journal. 5: 371-375.

Singh, B., S.K.A. Natesan, B.K. Singh, and K. Usha. 2005. Improving zinc efficiency of cereals under zinc deficiency. Current in Science. 88: 36-44.

Tavakkoli, E., G. Lyons, P. English, and C.N. Guppy. 2011. Silicon nutrition of rice is affected by soil pH, weathering and silicon fertilisation. Journal of Plant Nutrition and Soil Science. 174: 437-446.

Yilmaz, A, H. Ekiz, I. Gültekin, B. Torun, H. Barut, S. Karanlik, and I. Cakmak. 1998. Effect of seed zinc content on grain yield and zinc concentration of wheat grown in zinc-deficient calcareous soils. Journal of Plant Nutrition. 21: 2257-2264.