ผลผลิตผักสลัดที่ปลูกในดินต่างชนิดกันภายใต้การใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดิน

Main Article Content

พิชญา อินทฤทธิ์
จุฑามาศ แก้วมโน
อัจฉรา เพ็งหนู

บทคัดย่อ

ดินเนื้อหยาบและเนื้อละเอียดมักมีสมบัติทางกายภาพไม่ส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตของพืช ส่งผลต่อผลผลิตและคุณภาพของพืช จึงต้องมีการปรับปรุงดินก่อนปลูก การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดดินที่ปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์ต่อคุณภาพของผักสลัด โดยใช้แผนการทดลอง completely randomized design (CRD) จำนวน 6 ตำรับการทดลอง ปลูกผักสลัดกรีนโอ๊คในชุดดินบ้านทอน ชุดดินอ่าวลึก และชุดดินระโนดที่ปรับปรุงด้วยมูลวัวและมูลไก่ ผลการศึกษา พบว่า สมบัติทั้งทางกายภาพและเคมีของดินที่ใช้ปลูกผักสลัดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นปริมาณช่องขนาดกลาง ความจุน้ำใช้ประโยชน์ได้ และสภาพนำน้ำของดิน ผักสลัดที่ปลูกในตำรับดินต่างชนิดกันมีน้ำหนักสดทั้งต้น (ส่วนเหนือดิน) และน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉพาะส่วนของใบ (ส่วนรับประทานได้) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นตำรับชุดดินบ้านทอนที่พบว่าการใช้มูลไก่ทำให้น้ำหนักสดทั้งต้น และทั้งน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเฉพาะส่วนของใบต่ำกว่าการใช้มูลวัว 40%, 42% และ 31% ตามลำดับ ผักสลัดมีน้ำหนักทั้งต้นเพิ่มขึ้นส่งผลให้น้ำหนักผักเฉพาะส่วนของใบเพิ่มขึ้น น้ำหนักสดทั้งต้นของผักสลัดที่ปลูกในตำรับชุดดินอ่าวลึกมีแนวโน้มสูงกว่าในตำรับชุดดินระโนด ดังนั้นผลผลิตของผักสลัดที่ปลูกในดินทุกชนิดภายใต้การปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์ ขึ้นอยู่กับสมบัติของดินและวัสดุปรับปรุงดินซึ่งมีบทบาทในการควบคุมความเป็นประโยชน์และสมดุลธาตุอาหารในดินปลูก การเลือกใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสามารถเพิ่มผลผลิตผักสลัดและคุณภาพดินปลูกได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จำเป็น อ่อนทอง, ณัฐพงศ์ เยาว์จุ้ย, และจักรกฤษณ์ พูนภักดี. 2556. คู่มือการวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะ

ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จำเป็น อ่อนทอง และจักรกฤษณ์ พูนภักดี. 2557. คู่มือการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จุฑามาศ แก้วมโน, อัจฉรา เพ็งหนู, และสิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย. 2561. รายงานกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis สำหรับการผลิตผักสลัดคุณภาพที่ปลูกในดิน. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

มัตติกา พนมธรนิจกุล. 2547. การจัดการดินและน้ำเพื่อระบบการเกษตรที่ยั่งยืน. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์, และชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รัดเกล้า ตันสถิต. 2532. ผลของกากตะกอนแห้งต่อการเติบโตของผักกาดหอม (Lactuca sativa) และปริมาณโลหะหนักในเนื้อเยื่อใบและในดินที่ใช้ปลูก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วุฒิชาติ ศิริช่วยชู. 2547. ฐานข้อมูลดินภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

ศิราณี วงศ์กระจ่าง และบัญชา รัตนีทู. 2561. ผลของการใช้ดินผสมจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น จ.นราธิวาส ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค. แก่นเกษตร. 46: 1156-1160.

อัจฉรา เพ็งหนู, จุฑามาศ แก้วมโน, สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย, กลอยใจ สำเร็จวาณิชย์, และพันธทิพย์ จุลวรรณโณ. 2559. การผลิตผักไฮโดรโพนิกส์ปลอดภัยโดยชีววิธี. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพ.

อัญชลี สุทธิประการ. 2553. แร่ในอนุภาคขนาดดินเหนียวของดินเขตร้อน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2533. ดินของประเทศไทย: ลักษณะ การแจกกระจาย และการใช้. ภาควิชาปฐพีวิทยาคณะเกษตร

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2544. การสำรวจดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Ayers, R. S. 1977. Quality of water for irrigation. Journal of the irrigation and Drainage Division. 103: 135-154.

Bandyopadhyay, K. K., A. K. Misra., P. K. Ghosh, and K. M. Hati. 2010. Effect of integrated use of farmyard manure and chemical fertilizers on soil physical properties and productivity of soybean. Soil and Tillage research. 110: 115-125.

Blake, G. R., and K. H. Hartge. 1986. Bulk density. P.363-375. In: A. Klute. Methods of Soil Analysis Part 1: Physical and Mineralogical Methods.) American Society of Agronomy. Inc, Wisconsin USA.

Borthakur, P. K., S. W. Tivelli, and L. F. V. Purquerio. 2010. Effect of green manuring, mulching, compost and microorganism inoculation on size and yield of lettuce. Science and Horticulture. 933: 165-171.

Brady, N. C., and R. R. Weil. 2008. The Nature and Properties of Soils. Pearson Prentice Hall, New Jersey.

Danielson, R. E., and P. L. Sutherland. 1986. Porosity. P.443-461. In: A. Klute. Methods of Soil Analysis Part 1: Physical and Mineralogical Methods. American Society of Agronomy. Inc, Wisconsin USA.

Gee, G. W. and J. W. Bauder. 1986. Particle-size analysis. P.383-409. In: A. Klute. Methods of Soil Analysis Part 1: Physical and Mineralogical Methods. ) American Society of Agronomy. Inc, Wisconsin USA.

Hazelton, P. A., and B. W. Murphy. 2007. Interpreting Soil Test Results: What do all the number mean? : CSIRO PUBLISHING, Australia.

Klute, A. 1986. Water retention. P.635-662. In: A. Klute. Methods of Soil Analysis: Part 1: Physical and Mineralogical Methods. American Society of Agronomy. Inc, Wisconsin USA.

Klute, A. and C. Dirksen. 1986. Hydraulic conductivity and diffusivity. P.687-732. In: A. Klute. Methods of Soil Analysis Part 1: Physical and Mineralogical Methods. American Society of Agronomy. Inc, Wisconsin USA.

Lal, R., and M. K. Shukla. 2004. Principles of Soil Physics. P.22-23. Marcel Dekker. Inc, New York.

Landon, J.R. 1991. Booker Tropical Soil Manual: A Handbook for Soil Survey and Agricultural Land Evaluation in the Tropics and Subtropics. Booker Tate Limited, England.

Melese, W. 2008. Effect of farm yard manure application rate on yield and yield components of lettuce (Lactuca sativa) at Jimma Southwestern Ethopia. IJR- GRANTHAALAYAH. 4: 75-83.

Mylavarapu, R. S., and G. M. Zinati. 2009. Improvement of soil properties using compost for optimum parsley production in sandy soils. Scientia Horticulturae. 120: 426-430.

Pavlou, G. C., C. D. Ehaliotis, and V. A. Kavvadias. .2007. Effect of organic and inorganic fertilizers applied during successive crop seasons on growth and nitrate accumulation in lettuce. Scientia Horticulturae. 111: 319-325.

Soil Survey Staff. 2006. Soil Taxonomy: A Basic System of Soil Classification for Making and Interpreting Soil Survey. 10th ed. United States Dep. of Agriculture, U.S. Government Printing Office, Washington D.C.

Taha, A., M. El-Shazly, and N. Ali. 2017. Impact of nitrogen and organic fertilization on nutrients uptake by lettuce plants. Journal of Soil Sciences and Agricultural Engineering. 8: 341-346.

Tawornpruek, S., I. Kheoruenromne., A. Suddhiprakarn, and R. J. Gilkes. 2006. Properties of red Oxisols on calcareous sedimentary rocks in Thailand. Geoderma. 136: 477-493.