เทคนิคสัมผัสพืชด้วยวิธีกลโดยการปัดแปรงเพื่อการผลิตแก่นตะวันเป็นไม้กระถาง

Main Article Content

เกสร แก้วบัว
ภาณุพล หงษ์ภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษาการสัมผัสพืชด้วยวิธีกล (Mechanical stimulation: MS) เป็นวิธีหนึ่งในการควบคุมความสูงของพืช เพิ่มความกะทัดรัด ความสม่ำเสมอ และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของพืชได้ จึงนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิตไม้กระถาง (potted plant) ทดแทนการใช้สารเคมีกลุ่มสารชะลอการเจริญเติบโต (plant growth retardant: PGR) ซึ่งอาจมีผลตกค้างในผลผลิต ดำเนินการศึกษาการตอบสนองของการสัมผัสโดยการปัดแปรง (brushing) ต่อการเจริญเติบโตของแก่นตะวัน (Jerusalem artichoke) พันธุ์เบอร์ 3 หรือพันธุ์ CN 52867  เพื่อผลิตเป็นไม้ดอกกระถางพร้อมบริโภค (edible flowering potted plant) โดยปลูกต้นกล้าแก่นตะวันที่ได้จากการบ่มหัวพันธุ์ซึ่งหั่นเป็นแว่นๆ ในกระถางพลาสติกขนาด 6 x 12 นิ้ว ที่บรรจุวัสดุปลูก คือ ทราย: ขุยมะพร้าว: แกลบดำ ในอัตราส่วน 1:1:1 เมื่อต้นกล้าแก่นตะวันอายุ 20 วันหลังเพาะหรือยอดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร (จำนวน 6 ใบ)  คัดเลือกต้นที่สมบูรณ์เข้าสู่กรรมวิธี ต่างๆ ดำเนินงานทดลองโดยใช้แผนการทดลอง completely randomized design (CRD) มีทั้งหมด 3 กรรมวิธี คือ T1: กรรมวิธีควบคุม (ไม่มีการสัมผัสต้นพืช), T2: กรรมวิธีการปัดแปรง 15 นาที และ T3: กรรมวิธีการปัดแปรง 30 นาที ภายใต้การติดตั้งระบบการสัมผัสพืชแบบอัตโนมัติ ด้วยอัตราความเร็ว 1.8 เมตรต่อนาที ผลการทดลอง พบว่า กรรมวิธีการสัมผัสพืชโดยการปัดแปรงทั้ง 2 แบบ (T2 และ T3) สามารถลดความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่ม น้ำหนักแห้งใบ และอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ด้านความสูง แต่เพิ่มค่าความกะทัดรัดของต้นแก่นตะวันได้ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ (กรรมวิธีควบคุม) การปัดแปรงจึงมีศักยภาพที่จะใช้พัฒนาแก่นตะวันเป็นไม้กระถางได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติศักดิ์ บุราณรมย์ สุมนา นีระ สนั่น จอกลอย และภาณุพล หงษ์ภักดี. 2560. การตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทราโซลของแก่นตะวันเพื่อการผลิตเป็น ไม้กระถาง. แก่นเกษตร. 45: 361-367.

พัชรียา บุญกอแก้ว. 2541. ผลของการตัดแต่งกิ่งต่อการกระจายของแสง และการคาดคะเนค่าอัตราการสังเคราะห์แสงของทรงพุ่มมะม่วงสองพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและการสังเคราะห์: แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. วันชัยการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

วรายุ ภาษี. 2563. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตปริมาณสารอินูลิน และการตกค้างในผลผลิตหัวแก่นตะวันที่ผลิตเป็นไม้กระถางพร้อมบริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วรารัตน์ ลีวรางกุล. 2545. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของต้นทานตะวันพันธุ์ Valentine ในการผลิตเป็นไม้กระถาง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

สนั่น จอกลอย รัขนี พุทธา รัชนก มีแก้ว วิลาวรรณ ตุลา และถวัลย์ เกษมาลา. 2549. อิทธิพลของการใช้ส่วนขยายพันธุ์ต่อการงอกการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.). แก่นเกษตร. 34: 151-156.

สนั่น จอกลอย รัขนี พุทธา รัชนก มีแก้ว วิลาวรรณ ตุลา และถวัลย์ เกษมาลา. 2549. อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.). แก่นเกษตร. 34: 164-170.

สนั่น จอกลอย รัชนก มีแก้ว และถวัลย์ เกษมาลา. 2549. ค่าความหวานในส่วนต่างๆของหัวแก่นตะวัน (Helianthus tuberosus L.) แก่นเกษตร. 32: 190-194.

สุภาณี ชนะวีรวรรณ และ สายันห์ สดุดี. 2545. การใช้เครื่องมือ SPAD-502 เพื่อประเมินปริมาณคลอโรฟิลล์รวม และไนโตรเจนในใบของลองกองและเงาะ. สงขลานครินทร์ วทท. 24: 9-14.

อรวรรณ คำดี. 2542. ผลของสาร Trinexapac-ethyl ต่อการเจริญเติบโตของทานตะวันพันธุ์ Pacino ที่ปลูกในกระถางขนาด 4 นิ้ว. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อัจฉราภรณ์ แสนทองคำ สุมนา นีระ สนั่น จอกลอย และภาณุพล หงษ์ภักดี. 2562. ผลของสารพาโคลบิวทราโซล และเมพิควอทคลอไรด์เพื่อควบคุมการเจริญเติบโต และการออกดอกของแก่นตะวันกระถาง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 37: 200-211.

อัญรินทร์ กลิ่นหอม. 2555. ผลของสารพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของแก่นตะวัน. โครงงานนักศึกษาด้านพืชสวน สาขาพืชสวน ภาควิชาพืชศาสตร์ และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Adler, P. R., and G. E. Wilcox 1987. Influence of thigmic stress or chlormequat chloride on tomato morphology and elemental uptake. Journal of Plant Nutrition. 10: 831–840.

Autio, J., I. Voipio and T. Koivunen. 1994. Responses of aster, dusty miller, and petunia seedlings to daily exposure to mechanical stress. Horticultural Science. 29: 1449-1452.

Baden, S. A. and J. G. Latmer. 1992. An effective system for brushing vegetable transplants for height control. Hort Technology. 2: 412-414.

Baldini, M., F. Danuso, M. Turi, and G. P. Vannozzi. 2004. Evaluation of new clones of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) for inulin and sugar yield from stalks and tubers. Industrial Crops and Products. 19: 25-40.

Börnke, F. and T. Rocksch. 2018. Thigmomorphogenesis – Control of plant growth by mechanical stimulation. Scientia Horticulturae. 234: 344–353.

Elliot-Kingston, C., M. Haworth, J. M. Yearsley, S. P. Batke, T. Lawson, and J. C. McElwain. 2016. Does size matter atmospheric CO2 may be a stronger driver of stomatal closing rate than stomatal size in taxa that diversified under low CO2 caroline. Frontiers in Plant Science. 7: 1-12.

Garner, L. C., and F. A. Langton. 1997. Brushing pansy (Viola tricolor L.) transplants: A flexible, effective method for controlling plant size. Scientia Horticulturae. 70: 187–195.

Garner, L., F. A. Langton and T. Björkman. 1997. Commercial adaptations of mechanical stimulation for the control of transplant growth. Acta Horticulturae. 435: 219–230.

Graham, T. and R. Wheeler. 2017. Mechanical stimulation modifies canopy architecture and improves volume utilization efficiency in bell pepper: Implications for bioregenerative life support and vertical farming. Open Agriculture. 2: 42–51.

Herde, O., P. H. Cortés, H. Fuss, L. Willmitzer, and J. Fisahn. 1999. Effects of mechanical wounding, current application and heat treatment on chlorophyll fluorescence and pigment composition in tomato plants. Physiologia Plantarum. 105: 179-184.

Jouyban, Z. 2013. plant response to mechanical stress. International Journal of Farming and Allied Sciences. 2: 378-382.

Kashid, A.D. 2008. Effect of growth retardants on growth, physiology and yield in sunflower (Helianthus annuus L.). MS. Thesis, University of Agricultural Science, Dharwad.

Keller, E., and K. L. Steffen. 1995. Increased chilling tolerance and altered carbon metabolism in tomato leaves following application of mechanical stress. Physiologia Plantarum. 93: 519–525.

Latimer, J.G. 1991. Mechanical Conditioning for Control of Growth and Quality of Vegetable Transplants. Horticultural Science. 26: 1456-1461.

Latimer. J.G., and P.A. Thomas. 1991. Application of brushing for growth control of tomato transplants in a commercial setting. HortTechnology. 1: 109-110.

Li, Z.G., and M. Gong. 2011. Mechanical stimulation-induced cross-adaptation in plants: an overview. Journal of Plant Biology. 54: 358-364.

Liu, H., T. Lin, J. Mao, H. Lu, D. Yang, J. Wang, and Q. Li. 2015. Paclobutrazol residue determination in potato and soil using low temperature partition extraction and ultrahigh performance liquid chromatography tandem mass spectrometry. Journal of Analytical Methods in Chemistry. 1: 1-6.

Marler, T. E., and Y. Zozor. 1992. Carambola growth and leaf gas exchange responses to seismic or wind stress. Horticultural Science. 27: 913-915.

Monti, A., I. M. T. Amaducc, and G. Venturi. 2005. Growth response, leaf gas exchange and fructans accumulation of Jerusalem artichoke (Helianthus tuberosus L.) as affected by different water regimes. European Journal of Agronomy. 23: 136-145.

Morel, P., L. Crespel, G. Galopin, and B. Moulia. 2012. Effect of mechanical stimulation on growth and branching of garden rose. Scientia Horticulturae. 135: 59-64.

Neidhart, S., A. Jaradrattanapaiboon, K. Reintjes, B. Jöns, M. Leitenberger, J. Ingwersen, G. Kahl, P. Sruamsiri, T. Streck, and R. Carle. 2006. Which risks do result from the application of paclobutrazol in off-season mango production regarding residues in fruit and soil First results of a long-term field study in Northern Thailand. In proceedings of the international symposium towards sustainable livelihoods and ecosystems in mountainous regions conference 7-9 March 2006. Chiang Mai, Thailand.

Nelson P.V. 1998. Chemical Growth Regulation. Greenhouse Operation and Management. Prentice Hall, Upper Saddle River, NewJersy.

Phasri, W., S. Neera, S. Jogloy, and P. Hongpakdee. 2019. Effect of paclobutrazol application on growth, flowering and inulin content of ornamental Helianthus tuberosus L. Acta Horticulturae. 1237: 161-168.

Pontinen, V., and I. Voipio. 1992. Different methids of mechanical stress in controlling the growth of lettuce and cauliflower seedlings. Acta Agriculturae Scandinavica, Section B - Soil & Plant Science. 42: 246-250.

Puangbut, D., S. Jogloy, N. Vorasoot, S. Srijaranai, C. C. Holbrook, and A. Patanothai. 2015. Variation of inulin content, inulin yield and water use efficiency for inulin yield in Jerusalem artichoke genotypes under different water regimes. Agricultural Water Management. 152: 142-150.

Vernieri, P., S. Mugnai, and F. Tognoni. 2003. Growth control by mechanical Conditioning in Salvia splendens sellow ex schult. Acta Horticulturae. 614: 307–312.

Whipker, B. 2012. Non-chemical control of plant growth. Electronic Grower Resources Online (e-GRO) (Online). Available. http://www.e-gro.org/pdf/208.pdf. Accessed March 13, 2017.