ประสิทธิภาพของระบบกรีด และสารกระตุ้นต่อการกระจายตัวของปริมาณน้ำตาลซูโครสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในน้ำยางบริเวณต้นและผลผลิตยางพารา

Main Article Content

รวีย์รัชต์ รักขันธ์
ธงชัย ไทรน้อย
เกศินี เอี่ยมสะอาด
ณัฐพล คงดี
สายัณห์ สดุดี

บทคัดย่อ

การเพิ่มผลผลิตยางพาราด้วยการพัฒนาระบบกรีดร่วมกับการกระตุ้นด้วยแก๊สเอทธิลีนมีอิทธิพลมากขึ้นในกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการเพิ่มรายได้ต่อครั้งกรีด การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบกรีดและสารกระตุ้นต่อการกระจายตัวของน้ำตาลซูโครสและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในน้ำยางบริเวณต้นยางและผลผลิตยางพารา โดยทำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา วางแผนการทดลองแบบ One Tree Plot Design (OTPD) จำนวน 4 ซ้ำ ทำการทดลองในแปลงยางอายุประมาณ 22 ปี ประกอบด้วย 4 ระบบกรีด คือ T1: ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น กรีดขึ้น กรีดสองวันเว้นวัน (S/3­ 2d/3), T2: ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น กรีดวันเว้นสองวัน (S/8­ d3), T3: ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น กรีดวันเว้นสองวันร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางแก๊สเอทธิลีน (ETG) 99% ชนิดอุปกรณ์ RRIMFLOW ปริมาณ 60 มิลลิลิตร ให้ 9 วัน/ครั้ง จำนวน 36 ครั้ง/ปี (S/8­ d3 . ETG99% RRIMFLOW- 60 - 36/y (9d)) และ T4: ระบบกรีดหนึ่งในแปดของลำต้น กรีดขึ้น กรีดวันเว้นสองวันร่วมกับใช้สารเคมีเร่งน้ำยางแก๊สเอทธิลีน (ETG) 60% ชนิดผลิตภัณฑ์เอทิลีนทางการค้า LET ปริมาณ 40 มิลลิลิตร ให้ 6 วัน/ครั้ง จำนวน 48 ครั้งต่อปี (S/8­ d3. ETG60% LET - 40 - 48/y (6d)) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ระบบกรีดแบบ T3 (S/8­ d3. ETG99% RRIMFLOW- 60 - 36/y (9d)) ให้ปริมาณผลผลิตยางแห้งเฉลี่ย/ครั้งกรีดและปริมาณผลผลิตยางแห้งสะสมเฉลี่ยสูงสุดแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ระบบกรีดอื่นๆ  นอกจากนี้ การกระจายตัวของปริมาณซูโครสเฉลี่ยในส่วนของลำต้นยางพาราของการใช้ระบบกรีดแบบ T3 มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ การกระจายตัวของปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัสเฉลี่ยในลำต้นยางพารามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ดังนั้น การใช้สารกระตุ้นเอทธิลีนในแต่ละระบบกรีดควรพิจารณาให้เหมาะสมกับต้นยางพาราและควบคุมความสมดุลของปริมาณซูโครสและปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัสภายในน้ำยางบริเวณต้นและผลผลิตยางพารา

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

พนัส แพชนะ และ สมยศ สินธุระหัส. 2546. เปรียบเทียบผลผลิตยางดดยวิธีการกรีดกับวิธีการเจาะในยางพันธุ์ RRIM 600 เปิดกรีดใหม่. รายงานวิจัยศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร.

พิชิต สพโชค. 2536. การเพิ่มผลผลิตยางพาราหลังการผลัดใบโดยการหยุดพักกรีดและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเมื่อเปิดกรีด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พิชิต สพโชค โชคชัย เอนกชัย นอง ยกถาวร เพิ่มพันธ์ ค่านคร และ สุริยะ คงศิลป์. 2542. การกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบางระยะ. รายงานผลโครงการวิจัยย่อยประจำปี 2542. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.

พิศมัย จันทุมา. 2544. สรีรวิทยาของต้นยางกับระบบกรีด. น. 78-89. ใน: การประชุมวิชาการยางพาราประจำปี 2544 ครั้งที่ 1 วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2544 ณ โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร.

Chantuma, P., S. Thaniswanyangkura, P. Kasemap, E. Gohet, and P. Thaler. 2006. Distribution pattern of latex sucrose content and concurrent metabolic activity at the trunk level on different tapping systems ad in latex producting bark of Hevea beasiliensis. Kasetsart Journal (Natural Science). 40: 634-642.

Coucaud, A. D., N. Brunel, P. Kongsawadworakul, U. Viboonjun, A. Lacointe, J. L. Julien, H. Chrestin, and S. Sakr. 2009. Sucrose importation into laticifers of Hevea brasiliensis, in relation to ethylene stimulation of latex production. Annals of Botany. 104: 635–647.

Gohet, E., and P. Chantuma. 1999. Microdiagnostic latex training RRIT-DOA, Chachoengsao Rubber Research Center, 22-26 November 1999.

Jetro, N. N., and G. M. Simon. 2007. Effect of 2-chloroethylphosphonic acid formulations as yield stimulants on Hevea brasiliensis. African Journal of Biotechnology. 6: 523-528.

Lacote, R., O. Gabla, S. Obouayeba, J. M. Eschbach, F. Rivano, K. Dian, and E. Gohet. 2010. Long-term effect of ethylene stimulation on the yield of rubber trees is linked to latex cell biochemistry. Field Crops Research. 115: 94-98.

Obouayeba, S., E. F. Soumahin, K. M. Okoma, A. E. B. N’Guessan, R. Lacote, L. F. Coulibaly, and S. Ake. 2011. Relationship between the tapping cut length and the parameters of vegetative growth and rubber yield of Hevea brasiliensis, clones GT1 and PB 235 in south-eastern Cote D’Ivoire. Journal of Crop Science. 2: 27-44.

Sainoi, T., and S. Sdoodee. 2012. The impact of ethylene gas application on young- tapping rubber trees.

Journal of Agricultural Technology. 8: 1497-1507.

Sainoi, T., S. Sdoodee, R. Lacote, and E. Gohet, E.2017. Low frequency tapping systems applied to young-tapped trees of Hevea brasiliensis (Willd. ex A. Juss.) Müll. Arg. in Southern Thailand. Agriculture and Natural Resources. 51: 268-272.

She, F., D. Zhu, L. Kong, J. Wang, F. An, and W. Lin. 2013. Ultrasound-assisted tapping of latex from Para rubber tree Hevea brasiliensis. Industrial Crops and Products. 50: 803-808.

Tang, C., D. Huang, J. Yang, S. Liu, S. Sakr, H. Li, Y. Zhou, and Y. Qin. 2010. The sucrose transporter HbSUT3 plays an active role in sucrose loading to laticifer and rubber productivity in exploited trees of Hevea brasiliensis (para rubber tree). Plant, Cell and Environment. 33: 1708–1720.

Yeang, H.Y. 2005. The kinetics of latex flow from the rubber tree in relation to latex vessel plugging and turgor pressure. Journal of Rubber Research. 8: 160-181.

Zhu, J., and Z. Zhang. 2009. Ethylene stimulation of latex production in Hevea brasiliensis. Plant Signaling and Behavior 4: 1072-1074.