ผลของสารคล้ายบราสซินต่อการสะท้านหนาวของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ขาวสนาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารคล้ายบราสซินต่อการสะท้านหนาวของช่อดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ขาวสนาน โดยคัดเลือกช่อดอกที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร จำนวนดอกต่อช่อไม่น้อยกว่า 10 ดอก และมีจำนวนดอกบานต่อช่อไม่น้อยกว่า 4 ดอก นำช่อดอกปักแจกันในสารละลาย 4% sucrose และสารคล้ายบราสซิน (BRs) ความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มก./ล. ตลอดระยะเวลาการปักแจกัน นำช่อดอกไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 5±1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ดอกย่อยในทุกกรรมวิธีเกิดอาการสะท้านหนาว เมื่อเก็บรักษาระยะเวลา 9 วันขึ้นไป ลักษณะอาการสะท้านหนาวของดอกกล้วยไม้คือเกิดจุดฉ่ำน้ำใสและบางบริเวณกลีบดอก และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง การใช้สารคล้ายบราสซินที่ความเข้มข้นต่าง ๆ สามารถลดอาการสะท้านหนาวได้ โดยช่อดอกปักแจกันในสารละลายคล้ายบราสซิน (BRs) 1.5 มก./ล. มีเปอร์เซ็นต์การรั่วไหลของอิเล็กโทรไลต์ (%EL) น้อยที่สุด ส่วนคะแนนประเมินคุณภาพและค่า hue angle ของกลีบดอกที่ปักแจกันในสารละลายคล้ายบราสซินสูงกว่าชุดควบคุม ซึ่งช่อดอกที่ปักแจกันในสารละลาย คล้ายบราสซิน 2.0 มก./ล. มีอายุการปักแจกันสูงสุด 27.30±1.70 วัน ส่วนช่อดอกที่ปักแจกันในสารละลาย 4% sucrose อย่างเดียว มีอายุปักแจกันเพียง 8.90±2.02 วัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จริงแท้ ศิริพานิช. 2550. ชีววิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและการวายของพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, นครปฐม.
ดนัย บุณยเกียรติ. 2535. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ธันยพร อินทไชย. 2559. ผลของสารคล้ายบราสซินต่อการเกิดอาการสะท้านหนาวของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ขาวสนาน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วิมลมาศ ภมรคล. 2557. การยืดอายุการปักแจกันช่อดอกกล้วยไม้สกุลหวาย ‘เอียสกุล’ โดยใช้สารเคมีและน้ำมันหอมระเหยบางชนิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ศิโรรัตน์ เขียนแม้น. 2554. ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อแอกทิวิตีของเซลลูเลสและบีตา-กาแล็กโทซิเดส และอายุการปักแจกันของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์บูรณะเจตน์ ขาวสนานและ สุรีย์พีช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2557. การศึกษาเปรียบเทียบการผลิตกล้วยไม้แบบเกษตรดีที่เหมาะสมกับแบบทั่วไป. ศูนย์สารสนเทศการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ
สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม, 2561. สินค้ากล้วยไม้. แหล่งข้อมูล: https:// www.ditp.go.th/contents_attach/223506/223506.pdf. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2562.
สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. 2563. เกษตรฯ ดันกลุ่มกล้วยไม้แปลงใหญ่เบนเข็มเน้นส่งเสริมและขายในประเทศหลังเจอพิษโควิด-19. แหล่งข้อมูล: https://secreta.doae.go.th/?p=5648. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2563.
Chengdu Newsun Biochemistry. 2003. Brassinolide. Available: http://www.plant-hormones.com/product-ell.html. Accessed Apr. 17, 2016.
Culter, H.G., T. Yokota, and G. Adam. 1991. Brassinosteroids: Chemistry, Bioactivity & Applications. ACS Symposium Series. Journal of the American Chemical Society. 474.
De, L.C., and D.R. Singh. 2016. Post-harvest management and value addition in orchids. International Journal of Biological Sciences 3: 14-35.
Grove, M.D., G.F. Spencer, W.K. Rohwedder, N. Mandava, J.F. Worley, J.D. Warthen, G.L. Steffen, J.L. Flippen-Anderson, and J.C. Cook. 1979. Brassinolide, a plant growth-promoting steroid isolate from Brassica napus pollen. National Science and Technology. 281: 216-217.
He, R., G. Wang, and X. Wang. 1991. Effect of brassinolide on growth and chilling resistance of maize seedlings. In: Brassinosteroids, Chemistry, Bioactivity and Applications. American Chemical Society. 474: 220-230.
Jones, S. 2003. Cold Damage. Available: https://www.aos.org/orchids/orchid-pests-diseases/cold damage. aspx. Accessed Oct. 25, 2020.
Katsumi, M. 1991. Physiological mode of brassinolide action in cucumber hypocotyl growth. In: Brassinosteroids. American Chemical Society, Washington, D.C.
Laongsri, S., S. Ketsa, and W. G. van Doorn. 2013. Low temperature-induced water-soaking of Dendrobium inflorescences: Relation with phospholipase D activity, thiobarbaturic-acid-staining membrane degradation products, and membrane fatty acid composition. Postharvest Biology and Technology. 80: 47-55.
McCollum, T.G., and R.E. McDonald. 1991. Electrolyte leakage, respiration, and ethylene production as indices of chilling injury in grapefruit. Horticultural Science. 26: 1191-1192.
Mitchell, J.W., N. Mandava, J.F. Worley, J.R. Plimmer, and M.V. Smith. 1970. Brassins: A new family of plant hormones from rape pollen. National Science and Technology. 225: 1065-1066.
Phetsirikoon.S., S. Ketsa, and W. G. van Doorn. 2012. Chilling injury in Dendrobium inflorescences is alleviated by 1-MCP treatment. Postharvest Biology and Technology. 67: 144-153.
Suge, H. 1986. Reproductive development of higher plants as influenced by brassinolide. Plant Cell Physiology. 27: 199-205.
Wang T.W., D.J. Cosgrove, and R.N. Arteca. 1993. Brassinosteroid stimulation of hypocotyls elongation and wall relaxation in pakchoi (Brassica chinensis cv. Lei Choi). Journal of Plant Physiology. 101: 965-968.
Xu, R.J., X.D. Li, Y.J. He, Y.Q. Wang, and Y.Y. Zhao. 1994. Effects of treatments with epibrassinolide and cholic lactone on the fruit-set and ripening in some grape cultivation. Journal of the Shanghai Agricultural College. 12: 90-95.
Zhao, Y.J., W.H. Luo, Y.Q. Wang, and R.J. Xu. 1987. Retarding effects of epibrassinolide on maturation and senescence of hypocotyls segments of mung bean seedlings. Acta Phytophysiologica Sinica 13: 129-135.