ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชก่อนงอกร่วมกับหลังงอกที่มีต่อการควบคุมวัชพืชในข้าวโพด

Main Article Content

สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์
ประกายรัตน์ โภคาเดช
อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช
สดใส ช่างสลัก
จุฑามาศ ร่มแก้ว

บทคัดย่อ

วัชพืชเป็นปัญหาที่สำคัญของการผลิตข้าวโพดที่ทำให้ผลผลิตลดลง เนื่องจากวัชพืชแก่งแย่งแข่งขันปัจจัยการเจริญเติบโตกับพืชปลูก ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชก่อนงอกร่วมกับหลังงอกที่มีต่อการควบคุมวัชพืชในข้าวโพด ณ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ต้นฤดูฝน ปี 2560 (15 กรกฎาคม 2560 – 24 พฤศจิกายน 2560) และปลายฤดูฝน ปี 2560 (15 กันยายน 2560 – 24 มกราคม 2561) วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design 10 กรรมวิธี จำนวน 3 ซ้ำประกอบด้วย การใช้สารกำจัดวัชพืชก่อนงอก nicosulfuron และ pendimethalin ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชหลังงอก nicosulfuron, ametryn, fluoxypyr และ paraquat เปรียบเทียบกับการกำจัดวัชพืชด้วยมือ และการไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกร่วมกับการใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอกไม่มีความเป็นพิษต่อข้าวโพดทุกกรรมวิธี ชนิดวัชพืชที่พบในแปลงทดลองมีดังนี้ วัชพืชใบแคบวงศ์หญ้า (grassy weeds) ได้แก่ หญ้าโขย่ง (Rottboellia cochinchinensis (Lour.) Clayton) วัชพืชใบกว้าง (broadleaved weeds) ได้แก่ ผักยาง (Euphorbia heterophylla L.) ผักปลาบ (Commelina benghalensis L.) และวัชพืชกก (nutsedge) ได้แก่ แห้วหมู (Cyperus rotundus Linn.) การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกร่วมกับหลังงอกที่มีต่อการควบคุมวัชพืชในข้าวโพดนั้น พบว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก ทั้ง pendimethalin หรือ nicosulfuron ที่ 1 วันหลังปลูก ตามด้วย nicosulfuron หรือ ametryn หรือ fluorxypyr หรือ paraquat ที่ 30 วันหลังปลูก มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้ถึง 90 วันหลังปลูก สามารถควบคุมวัชพืชได้มากกว่า 70% และไม่ทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2552. คำแนะนำการใช้สารกำจัดวัชพืช. กลุ่มงานวัชพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

ประวิตร โสภโณดร. 2556. วัชพืชและการจัดการ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. แหล่งข้อมูล: http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/weed/. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559.

รังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2547. สารป้องกันกำจัดวัชพืช: พื้นฐานและวิธีการใช้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สดใส ช่างสลัก, ทศพล พรพรหม, นรุณ วรามิตร, รังสิต สุวรรณมรรคา และสมชัย ลิ่มอรุณ. 2552. การควบคุมวัชพืชในข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2550. น. 351-360. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 สาขาพืช 17-20 มีนาคม 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สิริชัย สาธุวิจารณ์, ศิวิไล ลาภบรรจบ, สุพัตรา ชาวกงจักร์, นิมิต วงศ์สุวรรณ และจรรยา มณีโชติ. 2556. ทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก (post-emergence) ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. น. 167-181. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2556 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

Bryan, T. 1977. Research Method in Weed Science. Southern Weed Science Society, Auburn, Alabama.

Dangwal, R.L., A. Singh, T. Singh, and C. Sharma. 2010. Effect of weeds on the yield of wheat crop in Tehsil Nowshera. Journal of American Science. 6: 405-407.

James, T.K., and A. Rahman. 1994. Effect of adjuvants and stage of growth on the efficacy of three sulfonylurea herbicides to grass weeds. New Zealand Plant Protection. 10: 11-16.

James, T.K., A. Rahman, and J. Mellsop. 2000. Weed competition in maize crop under different timings for post-emergence weed control. New Zealand Plant Protection. 53: 269-272.

Mehmeti, A., A. Demaj, I. Demelezi, and H. Rudari. 2012. Effect of post-emergence herbicides on weeds and yield of maize. Pakistan Journal of Weed Science Research. 18: 27-37.

Nosratti, I., H. M. Alizade, and T. Makmasoumi. 2007. Evaluation the efficiency of three sulfonylurea herbicide and their effects on maize (Zea mays L.) grain yield. Journal of Biological Sciences. 7: 1262-1265.

Rahman, A. 1985. Weed control in maize in New Zealand. Agronomy Society of New Zealand. 4: 37-45.

Rahaman, A., and T.K. James. 1992. Weed control and soil persistence studies with dimethanamid in maize. New Zealand Plant Protection. 6: 84-88.

Sharma, D., and A. Zelaya. 2008. Competition and control of itchgrass (Rottboellia exaltata) in maize (Zea mays). Tropical Pest Management. 32: 101-104.

Tesfay, A., M. Amin, and N. Mulugeta. 2014. Management of weeds in maize (Zea mays L.) through various pre and post emergency herbicides. Advances in Crop Science and Technology. 2(5): 151

Zhang, J., L. Zheng, O. Jäck, D. Yan, Z. Zhang, R. Gerhards, and H. Ni. 2013. Efficacy of four post-emergence herbicides applied at reduced doses on weeds in summer maize (Zea mays L.) fields in North China Plain. Crop Protection. 52: 26-32.