ผลของการใช้ใบมันสำปะหลังรวมยอดอัดเม็ดทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารข้นต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และเมตาบอไลซ์ในเลือดในโครีดนม

Main Article Content

จุฑารักษ์ กิติยานุภาพ
สุบรรณ ฝอยกลาง
อานนท์ ปะเสระกัง
อนุสรณ์ เชิดทอง
นวนน จันทประสาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ใบมันสำปะหลังรวมยอดอัดเม็ดทดแทนการใช้กากถั่วเหลืองต่อปริมาณการกินได้ การย่อยได้ และเมตาบอไลซ์ในเลือดในโครีดนม ทำการศึกษาโดยใช้โคนมลูกผสมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน จำนวน 16 ตัว วันให้นม 125±18 วัน อยู่ในระยะกลางของการให้นม (mid lactation)  โดยใช้แผนการทดลองแบบสุมสมบูรณ์ Completely randomized Design (CRD) ประกอบด้วยกลุ่มการทดลอง 4 กลุ่มๆ ละ 4 ซ้ำ คือ แต่ละกลุ่มได้รับอาหารข้นที่มีการใช้ใบมันสำปะหลังรวมยอดอัดเม็ด (CASTOPP) เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลือง (SBM) 4 ระดับ ได้แก่ 100:0, 67:33, 33:67 และ 0:100 ตามลำดับ ทำการทดลองเป็นเวลา 60 วัน ผลการทดลองพบว่าสามารถใช้ใบมันสำปะหลังรวมยอดอัดเม็ดในอาหารข้นที่ระดับ 33:67 โดยไม่มีผลกระทบต่อปริมาณการกินได้ทั้งหมดของอาหาร สัมประสิทธิ์การย่อยได้ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัว และเมตาบอไลซ์ในเลือดในโคนม แต่เมื่อโคนมได้รับอาหารที่ใช้ใบมันสำปะหลังรวมยอดอัดเม็ดทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารข้นที่ระดับที่ 33:67 และ 0:100 พบว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก และค่าความเข้มข้นยูเรียไนโตรเจนในกระแสเลือดที่ลดลง ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการใช้วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และเพิ่มผลกำไรให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จินดา สนิทวงศ์ ฯ, อุดมศรี อินทรโชติ และ วัชระ ศิริกุล. 2539. ผลการใช้ใบมันสำปะหลังแห้งเสริมโครีดนมในฤดูแล้ง. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ธาตรี จีราพันธุ์. 2549. อาหารและการให้อาหารสัตว์. แหล่ง ที่มา https://bit.ly/2Un1lBN ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563.

ปิ่น จันจุฬา และ เมธา วรรณพัฒน์. 2546. บทบาทของอาหารเยื่อใยต่อกระบวนการหมักในรูเมน ปริมาณการกินได้ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนมในโครีดนม. วารสารโคนม. 20: 8-22.

พิณซอ กรมรัตนาพร, พิเชฏฐ์ เหลืองทองคำ และ ชัยพร สร้อยคำ. 2551. การใช้ใบฝรั่ง (Psidium guajava Linn.) ควบคุมโรคขี้ไหลในลูกโคนม. วารสารวิจัย มข. 13: 33-44.

เมธา วรรณพัฒน์. 2540. อาหารหยาบกับประสิทธิภาพการผลิตโคนม. เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษใน:The FAO Training Course on Dairy Cattle Feeding and Nutrition. 22 พฤศจิกายน-4 ธันวาคม 2540.

เมธา วรรณพัฒน์, ฉลอง วชิราภากร, กฤตพล สมมาตย์, สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์, โอภาส พิมพา และเวชสิทธิ์ โทบุราณ. 2538. การใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วิโรจน์ ภัทรจินดา. 2558. บทบาทเยื่อใยและการให้อาหาร TMR ที่ถูกต้อง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุบรรณ ฝอยกลาง, จุฑารักษ์ กิติยานุภาพ, ณัฐพงษ์ ดีมาก, ศรัญญา ม่วงทิพย์มาลัย, ยุทธนา สุนันตา, เมธา วรรณพัฒน์ และ อนุสรณ์ เชิดทอง. 2562. ผลของสูตรใบมันสำปะหลังรวมยอดอัดเม็ด ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส ความสามารถการในย่อยได้และกระบวนการหมัก โดยใช้เทคนิคการผลิตแก๊สในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1): 137-140.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2562 และแนวโน้มปี 2563. กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

อนันต์ เพชรล้ำ, สุรชัย บุญลือ, วีระชัย ทองดี, คณาวิทย์ ปะทะโน, พนมพร วงศ์เชียงเพ็ง, มาโนช กองเย็น, อนุรักษ์ ผมไผ และลัดดา ผมศักดิ์. 2555. ผลของการเสริมยอดมันสำปะหลังหมักต่อปริมาณและคุณภาพน้ำนม ของโครีดนมในฟาร์มเกษตรกรรายย่อย. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ 2): 114-117.

AOAC. 1995. Official Method of Analysis, 16th Edition. Animal Feeds. Association of Official Analytical Chemists, Arlington, VA, USA.

Asplund, J.M. 1994. Principles of Protein Nutrition of Ruminants. CRC Press Inc., Boca Raton, FL, USA.

Butler, W.R. 1998. Review: effect of protein nutrition on ovarian and uterine physiology in dairy cattle. In: Symposium: optimizing protein nutrition for reproductive and lactation. Journal of Dairy Science. 81: 2533-2539.

Butler, W.R., J.J. Calaman, and S.W. Beam. 1996. Plasma and milk urea nitrogen in relation to pregnancy rate in lactating dairy cattle. Journal of Dairy Science.74: 858-865.

Crocker, C.L. 1967. Rapid determination of urea nitrogen in serum or plasma without deproteinization. American Journal of Medical Technology. 33: 361–365.

Elrod, C.C. and W.R. Butler. 1993. Reduction of fertility and alteration of uterine pH in heifers fed excess ruminal degradable protein. Journal of Animal Science. 71: 694-701.

Elrod, C.C., M. Van Amburgh, and W.R. Butler. 1993. Alterations of pH in response to increased dietary protein in cattle are unique to the uterus. Journal of Animal Science. 71: 702-7O6.

Ferguson, J.D., D.T. Galligan, T. Blanchard, and M. Reeves. 1993. Serum urea nitrogen and conception rate: The usefulness of test information. Journal of Dairy Science. 76: 3742-3746.

Goering, H.K. and P.J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analysis (Apparatus, Reagent, Procedures and some Application). Agric. Handbook. No. 397. ARS, USDA, Washington, DC.

Hong, N. T.T., M. Wanapat, C. Wachirapakorn, P. Pakdee, and P. Rowlinson. 2003. Effects of timing of initial cutting and subsequent cutting on yields and chemical compositions of cassava hay and its supplementation on lactating dairy cows. Asian-Australasian Journal of Animal Science. 2003. 16: 1763-1769.

Jones, W.T. and J. L. Mangan. 1977. Complexes of the condensed tannins of sainfoin (Onobrychis viciifolia) with fraction 1 leaf protein and with submaxillary mucoprotein, and their reversal by polyethylene glycol and pH. Journal of the Science of Food and Agriculture. 28: 126-136.

Khang, N.D. and H. Wiktorsson. 2000. Effect of cassava leaf meal on ruminant environment of yellow cattle fed urea-treated paddy straw. Asian-Australasian Journal of Animal Science. 13: 1102-1108.

Kiyothong, K. and M. Wanapat. 2004. Growth, hay yield and chemical composition of cassava and Stylo 184 grown under intercropping. Asian-Australasian Journal of Animal Science. 17: 799-807.

NRC.1988. Nutrient Requirements of Dairy Cattle. 6th Edition. National Academy Press, Washington, DC.

NRC. 2001. Nutrition Requirements of Dairy Cattle.7th Edition. National Academy Press, Washington, DC.

Peterson, R.G. and D.E. Waldern. 1981. Repeatability’s of serum constituents in Holstein-Friesians affected by feeding, age, lactation, and pregnancy. Journal of Dairy Science. 64: 822-837.

Roseler, D.K., F.D. Ferguson, C.F. Sniffen, and I. Herrema. 1993. Dietary protein degradability effects on plasma and milk urea nitrogen and milk non protein nitrogen in Holstein cows. Journal of Dairy Science. 76: 525-534.

SAS, 1998. User’s Guide: Statistics, Version 6th Edition. SAS. Inst, Inc., Cary, NC., U.S.A.

Schneider, B.H. and W.P. Flatt. 1975. The Evaluation of Feeds Though Digestibility Experiments. University of Georgia Press, Athens.

Van Keulen, J. and B.A. Young. 1977. Evaluation of acid insoluble ash as a neutral marker in ruminant digestibility studies. Journal of Animal Science. 44: 282-287.

Wanapat, M., T. Puramongkon, and W. Siphuak. 1999. Feeding of cassava hay for lactating dairy cows. Asian-Australasian Journal of Animal Science. 13: 478-482.

Wanapat, M., A. Peltum and O. Pimpa. 2000. Supplementation of cassava hay to replace concentrate use in lactating Holstein Friesian crossbreds. Asian-Australasian Journal of Animal Science. 13: 600-604.