การตัดสินใจปลูกข้าวพื้นเมืองของเกษตรกรในอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

Main Article Content

อิศฎาพร ใจใหญ่
สุกัลยา เชิญขวัญ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการตัดสินใจปลูกข้าวพื้นเมืองของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้ปลูกข้าวพื้นเมืองทั้งหมดในอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร จำนวน 90 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการตัดสินใจปลูกข้าวพื้นเมืองของเกษตรกร ตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา ขนาดพื้นที่ถือครองที่ดิน จำนวนแรงงาน และรายได้ต่อครัวเรือน โดยใช้สถิติ t-test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  ผลการศึกษา พบพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จำนวน 13 พันธุ์ ได้แก่ มะลิแดง เหนียวแดง ข้าวก่ำ มะลิดำ ดอหางฮี เล้าแตก เจ้าแดง เจ้าเหลือง สันป่าตอง นางนวล เขี้ยวงู เหนียวมะลิเบา และยืนกาฬสินธุ์ ปลูกในพื้นที่ทั้งหมด 454.50 ไร่ เฉลี่ย 5 ไร่ต่อครัวเรือน โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ได้รับรายได้จากข้าวพื้นเมือง เฉลี่ย 10,111.10 บาทต่อไร่ ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 31.53 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับปัญหาและอุปสรรคการปลูกข้าวพื้นเมือง คือ ข้าวพื้นเมืองมีราคาต่ำ ประเด็นหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกข้าวพื้นเมือง ได้แก่ บริโภคในครัวเรือนเพราะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ สามารถหาเมล็ดพันธุ์ได้ง่ายในท้องถิ่น และมีความเชื่อจากบรรพบุรุษหรือประเพณีท้องถิ่น ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า เกษตรกรที่มีอายุ ระดับการศึกษา ขนาดพื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงาน รายได้ต่อครัวเรือน ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการข้าว. 2560. องค์ความรู้เรื่องข้าว. สำนักวิจัยและพัฒนา กรมการข้าว. แหล่งข้อมูล: http://www.ricethailand.go.th/Rkb/varieties/ index.php-file=content.php&id=112.htm ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562.

กฤษฎา แก้วแก่นคูณ, วีรยุทธ ปัตถามัง, ณัฐพล แพงอ่อน, ฝากจิต ปาลินทร ลาภจิตร, พัชราภรณ์ ภูมิจันทึก, ยศ บริสุทธิ์ และสุกัลยา เชิญขวัญ. 2560. การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นบ้านโดยชุมชน: บทเรียนการอนุรักษ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. แก่นเกษตร. 45 (ฉบับพิเศษ 1): 1528-1533.

จิรวัฒน์ สนิทชน. 2552. การคัดเลือกข้าวไร่พื้นเมือง ทนทานต่อสภาพแล้งต้นฤดูปลูก. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉวีวรรณ วุฒิญาโณ. 2543. พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไทย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

ดาวเรือง พืชผล และคณะ. 2553. การศึกษาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านเพื่อการขยายผลผลิตข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่บ้านกุดหิน บ้านกำแมด บ้านโนนยาง ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: กรุงเทพฯ.

นาถพงศ์ พัฒนพันธ์ชัย. 2550. ข้าวพื้นบ้านบนวิถีชุมชน:การอนุรักษ์และพัฒนาข้าวพื้นบ้าน โดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกมหาสารคาม. กรุงเทพฯ : ธนาพริ้นติ้ง.

นิชานันท์ คงทวี และ ประภัสสร เกียรติสุรนนท์. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 44(4): 631-638.

นิตยา กิจติเวชกุล, สุกัลยา เชิญขวัญ, สุรพล ยอดศิริ และวรวิต ต้นบุญ. 2551. การเปลี่ยนพันธุ์ข้าวบริเวณลุ่มน้ำชีตอนกลาง และความสนใจของเกษตรกรต่อการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง: กรณีศึกษาตำบลบ้านเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. แก่นเกษตร. 36: 108-115.

ไพรัข เล้าสมบุรณ์, สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม และเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. 2562. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจปลูกอ้อยโรงงานของเกษตรกรในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. แก่นเกษตร. 47 (ฉบับพิเศษ 1): 577-584.

รัชนี คงคาฉุยฉาย และริญ เจริญศิริ. 2553. รายงานฉบับสมบูรณ์ คุณค่าโภชนาการของข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วชิรวัชร งามละม่อม. 2558. การบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM). สถาบัน TDRM, กรุงเทพฯ.

วิไลลักษณ์ สุดวิไล. 2545. การศึกษาเปรียบเทียบพืชสกุล Gomphia Schreb. และ Ochna L. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีรยุทธ สุวัฒน์ และคณะ. 2549. การศึกษาข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: กรุงเทพฯ.

สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร. 2560. ข้อมูลเศรษฐกิจจังหวัดยโสธร. แหล่งข้อมูล: http://www.yasothon. doae.go.th / ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561.

สำนักงานเทศบาลตำบลกุมชุมพัฒนา. 2562. งานสืบสานประเพณีบุญคูณลาน (บุญกุ้มข้าวใหญ่) อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. แหล่งข้อมูล.http://www.kutchumpattana.go.th/page-22.html ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2541. รายงานการสำรวจในฤดูนาปี 2593/2540 เอกสารสถิติการเกษตร 2549. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Balemie, K. and Singh, R.K. 2012. Conservation of Socioculturally Important Local crop Biodiversity in the Oromia Region of Ethiopia: A Case Study.

Campbell, L.M., and A. Vainio-Mattila. 2003. Participatory Development and Community-Based Conservation: Opportunities Missed for Lessons Learned?. Human Ecology. 31(3): 417-437.

Carpenter, D. 2005. The in situ conservation of rice plant genetic diversity: A case study from a Philippine barangay. Agriculture and Human Values. 22: 421-434.

Domique L., A. Charrier, and J. Berthaud. 1997. In situ conservation of maize in Mexico: Genetic diversity and maize seed management in a traditional community. Economic Botany. 51(1): 20-38.

Gauchan, D., Smale, M., Maxted, N., Cole, M., Sthapit, B.R., Jarvis, D., and Upadhyay, M.P. 2005. Socioeconomic and Agroecological Determinants of Conserving Diversity On-farm: The Case of Rice Genetic Resources in Nepal. Nepal Agriculture Research Journal. 6: 89-98.

Manwan, I. 1998. Enhancing on-farm conservation of plant genetic resource for food and agriculture at country level. P. 48-57. In: R.K. Arora, K.W. Riley. Proceeding of the Asia-Pacific Consultation on Plant Genetic Resource. International Plant Genetic Resource Institute (IPGRI), India.

Marfo, K., P. Craufurd, P. Dorward, R. Bam, I. Bimpong, D. Dartey, D. Djagbletey, W. Dogbe, K. Gyasi, A. Opoku-Apau, and E. Otoo. 2001. Institutionalizing participatory crop improvement in Ghana: a case study of upland rice. In International Symposium on Participatory Plant BreedingParticipatory Plant Genetic Resource Enhancement.

Miguel, A.A., and L. Merrick. 1987. In situ conservation of crop genetic resources through maintenance of traditional farming systems. Economic Botany. 41(1): 86-96.

Rana, R.B., Garforth, C., Sthapit, B. and Jarvis, D. 2007. Influence of socio-economic and cultural factors in rice varietal diversity management on-farm in Nepal. Agriculture and Human Values. 24: 461-472.

Rengalakshmi, R., G. Alagukannan, N. Anilkumar, V. Arivudai Nambi, V. Balakrishnan, K. Balasubramanian, B. P. Mohanty, D. Dhanapal, M. Geetharani, G. Girigan, H. Kavinde, I. O. King, P. Joy, T. Ravishankar, S. Swain, S. Chaudary, P. Thamizoli, T. Ray, and L. Vedavalli. 2002. Enhancing the role of rural and tribal women in agrobiodiversity conservation: an indian case study. P. 16-35. In: Agrobiodiversity Conservation and the Role of Rural Women: An Expert Consultation Report. Food and Agriculture Organization, Bangkok.

Susilawati, P.N., Z. Yursak, and U.D. Amanda. 2020. IOP Conf. Series: Earth and Environmental Science. 591: 1-8.