พฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงเพื่อควบคุม แมลงศัตรูดาวเรืองของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม

Main Article Content

กุลชาติ บูรณะ
ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์

บทคัดย่อ

สารฆ่าแมลงเป็นหนึ่งในวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เกษตรกรนิยมใช้อย่างแพร่หลาย ผลการใช้สารฆ่าแมลงอย่างผิดวิธีและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานนอกจากจะส่งผลเสียโดยตรงต่อเกษตรกรและผู้บริโภคแล้ว ยังส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูดาวเรืองในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่าเกษตรกรมีรูปแบบในการควบคุมแมลงศัตรูพืชแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่มใช้สารฆ่าแมลงอย่างเดียว 2) กลุ่มไม่ใช้สารฆ่าแมลง และ 3) กลุ่มใช้หลากหลายวิธีร่วมกับสารฆ่าแมลง เกษตรกรส่วนใหญ่ 68.42% มีการใช้สารฆ่าแมลงเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าผลกำไรสุทธิจากกลุ่มที่ใช้หลากหลายวิธีร่วมกับสารฆ่าแมลงจะมีกำไรมากที่สุด 14,500 บาท/งาน แต่พบว่าผลกำไรต่อต้นของกลุ่มที่ไม่ใช้สารฆ่าแมลงกลับให้ค่าสูงที่สุด 10.25 บาท/ต้น รองลงมา คือ กลุ่มใช้หลากหลายวิธีร่วมกับสารฆ่าแมลงและกลุ่มใช้สารฆ่าแมลงเพียงอย่างเดียว มีค่า 8.59 และ 7.76 บาท/ต้น ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการทดสอบระยะเวลาการตกค้างและการสลายตัวของสารฆ่าแมลงในดอกดาวเรืองในสภาพแปลงและตัวอย่างดอกดาวเรืองที่ได้จากแหล่งจำหน่ายในจังหวัดขอนแก่น พบว่าการพ่นสารฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมทและออร์แกโนฟอสเฟสตามคำแนะนำข้างฉลากไม่ก่อให้เกิดการตกค้างของสารฆ่าแมลงในดอกดาวเรือง โดยมีค่า Maximum Residue Limit for pesticide (MRL) ≤ 5 มก./กก. ขณะที่แปลงที่พ่นตามวิธีปฏิบัติของเกษตรกรพบสารฆ่าแมลงตกค้างเกินค่ามาตรฐาน MRL ≥ 5 มก./กก. และใช้เวลานานถึง 14 วัน ในการสลายตัว ผลการสุ่มสารตกค้างในดอกดาวเรืองจากแหล่งจำหน่าย 7 แห่ง พบว่า 5 ใน 7 แห่ง (71.5%) มีการตกค้างของสารฆ่าแมลงอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น smart officer ไม้ดอกไม้ประดับ. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพมหานคร.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. ระบบจัดเก็บและรายงานข้อมูลภาวการณ์ผลิตพืชรายเดือน ระดับตำบล (รต.). ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเละการสื่อสาร. กรมส่งเสริมการเกษตร.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ, ยุวรัตน์ บุญเกษม และ กาญจนา แข่โส. 2556. การจัดการศัตรูดาวเรืองแบบบูรณาการ. แก่นเกษตร. 41: 171–176.

ปิยะฉัตร พ้นทาส, รัตติยากร ทองญวน, นฤมล แก้วโมรา, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล และ กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์. 2557. ความเสี่ยงทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงในการแระกอบอาชีพผู้ค้าผักและผลไม้สดในตลาดสด จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 8: 17-24.

พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, จินตนา ภู่มงกุฎชัย และ บุญทวีศักดิ์ บุญทวี. 2558. วิจัยปริมาณสารมีพิษตกค้างของคาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) ในถั่วฝักยาวเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRLs) ครั้งที่ 1-6. ผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2558 กองวิจัยพัฒนาปัจจัยทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร.

ภัครดนัย ชัยสวัสดิ์, จิราพร กุลสาริน, ไสว บูรณะพานิชพันธุ์ และ สิริญา คัมภิโร. 2557. ประสิทธิภาพเชื้อรา Nomuraea และ metarhizium สาเหตุโรคแมลงในการควบคุมหนอนกระทู้ผักของดอกดาวเรือง. วารสารเกษตร. 30: 11-19.

วรเชษฐ์ ขอบใจ, อารักษ์ ดำรงสัตย์, พิทัก์พงศ์ ปันต๊ะ และ เดช ดอกพวง. 2553. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ: กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา. 4: 36-46.

วีราษฎร์ สุวรรณ, พรนภา สุกรเวทย์ศิริ และ สุนิสา ชายเลี้ยง. 2556. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรทำสวนมะลิ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6: 24-35.

สุภาพร ใจการุณ และ กาญจนา นาถะพินธุ. 2549. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกรณีศึกษา: บ้านบึงใคร่นุ่น ต. บึงเนียม อ.เมือง จ. ขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.). 6: 139-148.

สุรเดช สดคมขำ. 2560. สถานการณ์การผลิตการตลาดไม้ดอกไม้ประดับของไทย. เทคโนโลยีชาวบ้าน.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2557. สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

สำนักงานระบาดวิทยา. 2546. สรุปรายงานเฝ้าระวังโรค 2546. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข.

Apilux, A., C. Isarankura-Na-Ayudthaya, T. Tantimongcolwat, and V. Prachayasittikul. 2015. Paper-based acetylcholinesterase inhibition assay combining a wet system for organophsphate and carbamate pesticides detection. EXCLI Journal. 14: 307-319.

Dhakal, M. and S. Bhattarai. 2017. Marigold (Tagetes species) winter-spring productional Kavre distrist of Nepal. International journal of horticultural science and ornamental plants. 3: 053-058.

Haq, S.U., S.T. Shah, N. Khan, A. Khan, A. Naeem, M. Ali, G. Gul, and M. Rahman. 2016. Growth and flower quality production of marigold (Tagetes erecta L.) response to phosphoraus fertilization. Pur Appl. Biol. 5: 957-962.

Huque, M.A., M.A.M. Miah, S. Hossain, and M. Alam. 2012. Economic of marigold cultivation in some selected areas of Banglades. Bangatesh J. Agril. Res. 37: 711-720.

Kessler, J.R.Jr. 2000. Greenhouse production of marigolds. Southeastern Floriculture. 8-11.

Krol, B. 2012. Yeild and chemical composition of flower heads of selected cultivars of pot marigold (Calendula officinulis L.). Acta Sci. Pol. 11: 215-225.

Marh, D. 2003. How long do insecticide residues persist ?. University of Wisconsin, Madison.

Sanchez-Bay, F., H.A. Tennekes, and K. Goka. 2013. Impact of systemic insecticides on organisms and ecosystems. Insecticide-Development of Safer and More Effective Technologies. Intechopen.