การวิเคราะห์คุณลักษณะที่ผู้บริโภคต้องการของผลิตภัณฑ์ปลาช่อนอบกรอบ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปลาช่อนน้ำจืดเป็นปลาที่มีสัดส่วนผลิตได้มากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศ ปัจจุบันพบว่าการบริโภคสดมีสูงถึง ร้อยละ 77.65 อีกทั้งการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าปลาช่อนนั้นยังคงมีสัดส่วนที่ค่อนข้างน้อย ดังนั้นหากปริมาณปลาช่อนที่เลี้ยงโดยการส่งเสริมของภาครัฐ และรวมกับการนำเข้าจากเวียดนาม (ผ่านกัมพูชา) มีเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ราคาของปลาช่อนลดลง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่ผู้บริโภคต้องการต่อผลิตภัณฑ์ปลาช่อนอบกรอบ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการจัดทำสัมภาษณ์แบบกลุ่ม(Focus group) จำนวน 10 ตัวอย่างเพื่อสร้างตัวเลือกคุณลักษณะ และเก็บตัวอย่างจำนวน 300 ตัวอย่าง เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคและคุณลักษณะผลิตภัณฑ์โดยใช้ Choice model และการแบ่งกลุ่ม (Cluster analysis) ในผลิตภัณฑ์ปลาช่อนอบกรอบ พบว่ามีคุณลักษณะที่สร้างความพึงพอใจในแต่ละผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มาตรฐาน อย. การระบุวันหมดอายุ ชนิดของบรรจุภัณฑ์ และราคา โดยในผลิตภัณฑ์ปลาช่อนอบกรอบ มีคุณลักษณะด้านการระบุวันหมดอายุ ภายใต้คุณลักษณะไม่ระบุวันหมดอายุ ที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจจ่ายมากที่สุด โดยมีราคาแฝง 2.102 บาทต่อ 50 กรัม เมื่อทำการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคโดยวิธีวิเคราะห์แบบไม่เป็นขั้นตอน (K-means cluster analysis ) สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม โดยพบว่าผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม โดยมีจำนวนสมาชิกผู้บริโภคกลุ่ม A มี 219 รายโดยสมาชิกกลุ่มนี้ส่วนมากเป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี อาชีพนักเรียนนักศึกษา รายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีกลุ่มนี้จะเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน อย.ปริมาณเหมาสมกับราคา และมีโปรโมชั่นลดราคา และผู้บริโภคกลุ่ม M มี 81 รายสมาชิกกลุ่มนี้ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปีอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน การศึกษาปริญญาตรีกลุ่มนี้จะเน้นผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ สด มีป้ายแสดงราคาที่ชัดเจน และแจกสินค้าให้ทดลองชิมฟรี ซึ่งกลยุทธ์ที่ได้แบ่ง 2 กลุ่มคือ กลุ่มวัยเริ่มทำงาน สร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นมาตรฐาน ขนาดกินครั้งเดียวหมด ราคาไม่เกิน 80 บาทและมีส่วนลด กลุ่มวัยสร้างครอบครัว กลุ่มนี้มุ่งที่ผลิตภัณฑ์ที่มีความสะอาด มีป้ายราคาชัดเจน และต้องมีผลิตภัณฑ์ตัวอย่างให้ทดลองชิม หาซื้อได้ง่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกวลิน หนูฤทธิ์. 2560.สถานการณ์การค้าสัตว์น้ำชายแดน ณ ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสระแก้ว 2560. กลุ่มเศรษฐกิจการประมง, กรมประมง, กรุงเทพฯ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2548. การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 7. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พิณทิพย์ คุปติวิทยากุล. 2560. ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็นจากน้ำมันจระเข้. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ยุทธนา ธรรมเจริญ. 2015. การจัดการการตลาด. สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, กรุงเทพฯ.
วาทินี ยอดดำเนิน. 2550. พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากปลาช่อนแม่ลาภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดสิงห์บุรี วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อัญชะลีพร วงษ์ยมรัตน์. 2559. ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ปลาช่อนแดดเดียว วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Bateman, I., and E. Elgar. 2002. Economic Valuation with Stated Preference Techniques: A Manual. Edward Elgar Publishing Limited, Cheltenham.
Champ, P. A., K. J. Boyle, and T. C. Brown. 2002. The Economics of Non-Market Good and Resources. Kluwer Academic Publishers, London.
McFadden, D.1973. Conditional logit analysis of qualitative choice behavior. P. 105-142. In: P. Zarembka Frontiers in Econometrics. Academic Press, CA.
Rose, J.M., and M. C. J. Bliemer. 2013. Sample size requirements for stated choice experiments. Transport. 40:1021–1041. DOI 10.1007/s11116-013-9451-z.