แนวทางการกำหนดมาตรฐานอาชีพการเพาะปลูกยางพาราสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการธาตุอาหารพืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรฐานอาชีพการเพาะปลูกยางพาราสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการธาตุอาหารพืช ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ ใช้การจัดเสวนากลุ่มย่อยผู้ให้ข้อมูลหลัก 22 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการใช้ปุ๋ยยางพารา นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อกำหนดองค์ประกอบของมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบการวิเคราะห์หน้าที่งาน ส่วนเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 407 คน ที่เป็นเกษตรกรชาวสวนยางพาราใน 4 จังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตก ได้แก่ ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างในการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ได้แก่ หน่วยสมรรถนะ และสมรรถนะย่อย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มาตรฐานอาชีพกลุ่มอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการธาตุอาหารพืชสำหรับยางพารา ประกอบด้วย 7 หน่วยสมรรถนะ 18 สมรรถนะย่อย และ 42 เกณฑ์การปฏิบัติงาน การประเมินความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อย พบว่าอยู่ในระดับไม่แน่ใจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 หน่วยสมรรถนะที่ความคิดเห็นอยู่ในระดับไม่แน่ใจ คือ หน่วยสมรรถนะที่ 1 วิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน หน่วยสมรรถนะที่ 4 วางแผนรูปแบบการใส่ปุ๋ยยางตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และช่วงอายุยาง และหน่วยสมรรถนะที่ 6 รักษาระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมในสวนยาง หน่วยสมรรถนะที่ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย คือ หน่วยสมรรถนะที่ 2 มีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะของดินและธาตุอาหารพืช หน่วยสมรรถนะที่ 3 เตรียมพื้นที่ก่อนใส่ปุ๋ยยาง หน่วยสมรรถนะที่ 5 เก็บรักษาปุ๋ย และหน่วยสมรรถนะที่ 7 ทัศนคติที่ดีในการประกอบอาชีพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นุชนารถ กังพิสดาร, มนัชญา รัตนโชติ, ปูธิตา เปรมกระสิน, ธมลวรรณ ขิวรัมย์, ลาวัลย์ จันทร์อัมพร และ อนันต์ ทองภู. 2556. การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชสำหรับยางพาราเฉพาะพื้นที่. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
ปราโมทย์ ทิมขำ, สุภาพร ชุติประพฤทธิ์ และ ประกิต ทิมขำ. 2560. การใช้ปุ๋ยตามค่าทดสอบดินร่วมกับการให้น้ำช่วงฤดูแล้งในยางพาราก่อนเปิดกรีด. น. 35-46. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 เรื่องราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0 7-9 สิงหาคม 2560. ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี, นนทบุรี.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ. ม.ป.ป. คู่มือการจัดทำโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ.
สาลี่ ชินสถิต, ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์, วิลาสลักษณ์ ว่องไว, กุลธิดา ดอนอยู่ไพร, กฤชพร ศรีสังข์, พรทิพย์ แพงจันทร์ และคณะ. 2554. ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่. แหล่งข้อมูล: http://www.rubberthai.com/yang/administrator/jour/RRIT-2554-02.pdf. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2560.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2558. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมี. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/FactorOfProduct/Fertilizer_value49-54.html. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2560.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2558. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ. 2558. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. แหล่งข้อมูล: http://www.clinictech.most.go.th/online/blog/blog_show1.asp?blog_id=762. ค้นเมื่อ 28 เมษายน 2560.