ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาแห้งของเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ยุทธพิชัย รู้พูด
เออวดี เปรมัษฐียร
อภิชาต ดะลุณเพธย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาแห้งของเกษตรกร ในจังหวัดสุรินทร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างที่เพาะปลูกข้าวในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 200 ราย ทำการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยโลจิสติกส์และคำนวณผลกระทบส่วนเพิ่ม ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ชลประทาน พื้นที่ถือครองสำหรับเพาะปลูกข้าว ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ การรับรู้เกี่ยวกับกระบวนการเพาะปลูกข้าว และทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาแห้ง เป็นปัจจัยที่ทำให้ความน่าจะเป็นในการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องหยอดฯ ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ขณะที่อายุ และต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวเฉลี่ยต่อไร่ เป็นปัจจัยที่ทำให้ความน่าจะเป็นในการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องหยอดฯ ของเกษตรกรลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การให้ความรู้หรือสร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มโอกาสการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กลุ่มวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร. 2559. การศึกษารูปแบบเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว. แหล่งข้อมูล https://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=436.ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562.

กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว: เครื่องจักรและเขตกรรม. แหล่งข้อมูล http://www.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=22-2.html.ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2562.

ธีระพงษ์ อินทรตระกูล พลสราญ สราญรมย์ และเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. 2561. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งของเกษตรกรในจังหวัดนครพนม. น. 2015-2030. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 23 พฤศจิกายน 2561. อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

นัทธ์หทัย ศิริวิริยะสมบูรณ์, ธำรงค์ เมฆโหรา, และทิพวรรณ ลิมังกูณ. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 30: 59-67.

ปิยรัตน์ บรรณาลัย. 2559. การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ฤดูนาปีและฤดูนาปรัง ปีเพาะปลูก 2557/58. เอกสารประกอบการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ยศนนท์ ศรีวิจารย์, อรวรรณ ศรีโสมพันธ์, และกิตติศรีสะอาด. 2560. ต้นทุนและผลตอบแทนในการปลูกข้าวนาหยอดของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี. แก่นเกษตร. 46: 506-513.

วนิดา อาจกล้า. 2555. ศึกษาความเป็นได้ในทางเศรษฐศาสตร์ของการปลูกไม้โตเร็วกระถินลูกผสมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจยอมรับการปลูก เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศ จังหวัดสุรินทร์. 2559. เกษตรจังหวัดสุรินทร์นำร่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นที่ตำบลตาอ็องของโครงการนาแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล http://radio.prd.go.th/surin/ewt_news.php?nid=8791&filename=index.ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562.

สารสนเทศส่งเสริมการเกษตร. 2561. ข้อมูลสารสนเทศส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล http://www.agriinfo.doae.go.th/.ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2562.
สุเพ็ญพร พันธ์สุวรรณ. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เครื่องหยอดข้าวแห้งของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

Alhaji M.H. Coteh, Juana P. Moiwo, and Xiangbin Yan. 2015. Using a logistic regression model to analyze alley farming adoption factors in Sierra Leone. Small-scale Forestry. 15:109-125.

D’Antoni, J. M., Mishra, A. K., and Joo, H. 2012. Farmers’ perception of precision technology: The case of autosteer adoption by cotton farmers. Computers and Electronics in Agriculture. 87: 121–128.

Duansiri S., M. Panya, and L. Tippawan. 2016. Factors affecting rice seed production of farmers in Sakon - Nakhon province, Thailand. Journal of Agricultural Technology. 12(7.1):1499-1508.

Erickson, B., and Widmar, D.A. 2015. Precision agricultural services dealership survey results. Purdue University. West Lafayette, Indiana, USA.

Larson, J. A., Roberts R. K., English, B. C., Larkin S. L., Marra M.C., and S. W. Martin. 2008. Factors affecting farmer adoption of remotely sensed imagery for precision management in cotton production. Precision Agriculture. 9: 195–208.

Leonard, E. 2014. Precision Ag Down Under. www.precisionag.com/guidance/precision-ag-down-under. Accessed Nov.7, 2019.

Mariano, M. J. Villano, R., and Fleming, E. 2012. Factors influencing farmers’ adoption of modern rice technologies and good management practices in the Philippines. Agricultural Systems. 110: 41–3.

Pindyck, R. S. and D. L. Rubinfeld. 1998. Econometric Models and Economic Forecast. 4th Edition. McGraw- Hill, Singapore.

Robertson, M.J., Llewellyn, R.S., Mandel, R., Lawes, R., Bramley, R.G.V., Swift, L., Metz, N., and O’Callaghan, C. 2012. Adoption of variable rate fertiliser application in the Australian grains industry: Status, issues and prospects. Precision Agriculture. 13: 181–199.

Say, Sait., Keskin, Muharrem., Sehri, Mustafa., and Sekerli, Yunus. 2017. Adoption of precision agriculture technologies in developed and developing countries.