การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์
กัลยรัตน์ เมฆอุส่าห์
ณันทวรรณ อหิงสากุล
กรทิพย์ กันนิการ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำและการประยุกต์ใช้เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ โดยใช้ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของแชนนอนวีเนอร์และ ASPT ในการประเมินคุณภาพน้ำ นอกจากนี้ยังมีการวัดค่าทางเคมีและกายภาพของแหล่งน้ำและเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินของประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 พบแมลงน้ำทั้งหมด 5 อันดับ 12 วงศ์  จำนวน 1,639 ตัว โดยแมลงน้ำอันดับ Hemiptera พบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89.81 วงศ์แมลงน้ำที่เด่น คือ Corixidae พบร้อยละ 80.54 ดัชนีความหลากหลายชนิดพันธุ์ (H) มี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.241±0.116 ดัชนีความมากชนิด (R) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.740±0.237 ต่ำ ดัชนีความเท่าเทียม (E) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.144±0.063 จากการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์พบว่าความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้ำมีความสัมพันธ์กับความโปร่งแสงของน้ำ ปริมาออกซิเจน อุณหภูมิ และปริมาณไนไตรท์และไนเตรต (p<0.05) โดยรวมคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ มีค่า ASPT มีค่าอยู่ในช่วง 5.00-5.50 จากการใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีบ่งชี้ทางชีวภาพ สามารถสรุปได้ว่า คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำอยู่ในระดับปานกลาง และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของแหล่งน้ำผิวดินประเภท 2 โดยขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและกิจกรรมของมนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมประมง. 2550. คู่มือประชาชน : คุณภาพน้ำในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาตรฐานปลอดภัย (Food Safety).กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กิตติธร ชัยศรี, ทัตพร คุณประดิษฐ์, ยุวดี พีรพรพิศาล และชิตชล ผลารักษ์. 2552. กระจายตัวของแมลงน้ำในแม่น้ำน้ำลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 3: 161-172.

กิตติยาภรณ์ บัวเพ็ชร์. 2545. วัฎจักรชีวิตและการใช้ทรัพยากรร่วมของตัวอ่อนแมลงปอในบริเวณทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร และ สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล. 2556. ความหลากหลายของแมลงน้ำในแม่น้ำอิง. แก่นเกษตร 41: 142-148.

ชุติมา หาญจวณิช. 2550. การเปรียบเทียบโครงสร้างชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในบริเวณที่มีกิจกรรมของมนุษย์ต่างกัน ในลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 12: 402-411.

นัสรียา หมีนหวัง อำพล พยัคฆา และ แตงอ่อน พรหมมิ. 2555. การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพประเมินคุณภาพน้ำในล้าห้วยแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัย มสด 5: 113-124.

บุญเสถียร บุญสูง และนฤมล แสงประดับ. 2545. ผลของการเลี้ยงปลาในกระชังต่อชุมชนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในลำน้ำชี. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 30: 228-240.

พีระ ไพรพฤกษ์, 2556. ความหลากหลายของแมลงน้ำในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง จังหวัดพะเยา. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

ยุธิดา สกุลทอง, กาญจน์ คุ้มทรัพย์ และ สุรเชษฐ เอี่ยมสําอาง. 2558. การใช้ BMWP และ ASPT กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเพื่อตรวจติดตามคุณภาพน้ำในสวนรุกขชาติหนองนารี. น. 44-48. ใน: การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัย ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.

รัตติกาล ใจวงศ์. 2555. การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำบริเวณแหล่งน้ำในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยพะเยา. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

สมควร ไข่แก้ว. 2553. การประเมินคุณภาพน้ำกับความหลากชนิดของแมลงน้ำในบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/aSrc0C. ค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563.

สายสุนีย์ สมฤทธิ์. 2553. โครงสร้างชุมชนของแมลงน้ำพื้นที่ชุมน้ำหนองเล็งทราย: กรณีศึกษา พื้นที่ชุมน้ำหนองเล็งทราย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มาหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

APHA, AWWA and WEF. 2012. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater 22nd Edition. American Public Health Association. Washington D.C.

Clarke, A., R. Mac Nally, N. Bond, and P. S. Lake. 2008. Macroinvertebrate diversity in headwater streams: a review. Freshwater Biol. 53: 1707–1721.

Dudgeon, D. 1999. Tropical Asian Streams – Zoobenthos, Ecology and Conservation. University of Hong Kong Press, Hong Kong.

Gage, M., S. A. Spivak, and C.J. Paradise. 2004. Effects of land use and disturbance on benthic insects in headwater streams draining small watersheds north of Charlotte, NC. Southeastern Nat. 3: 345–358.

Gencer T., and K. Nilgun. 2010. Applications of various diversity indices to benthic macroinvertebrate assemblages in streams in a national park in Turkey. Rev. Hydrobiol. 3: 111-125.

McCafferty, P., 1989. Aquatic Entomology. Jones and Bartlett Publishers Inc., Boston.

Mustow, S.E. 2002. Biological Monitoring of rivers in Thailand: use and adaptation of the BMWP Score. Hydrobiol. 479: 191-229.

Prommi, T. and A. Payakka. 2015. Aquatic insect biodiversity and water quality parameters of streams in northern Thailand. Sains Malays. 44: 707–717.

Ramírez, A., P. Paaby, C. M. Pringle, and G. Agüero. 1998. Effect of habitat type on benthic macroinvertebrates in two lowland tropical streams, Costa Rica. Revista de Biologia Tropic. 46: 201–213

Rosenberg, D.M. and V.H. Resh. 1993. Freshwater Biomonitoring and Benthic Macroinvertebrates. Chapman and Hall, New York.

Silva, F.L., D.C. Moreira, S.S. Ruiz, and G.L. Bochini. 2009. Diversity and abundance of aquatic macroinvertebrates in a lotic environment in Midwestern São Paolo State, Brazil. Ambi-Agua, Taubaté 4: 37-44.

Steedman, R.J. 1994. Ecosystem health as a management goal. J. North Amer. Benthol. Soc. 13: 605-610.

Strickland, J.D.H. and T.R. Parsons. 1972. A Practical Handbook of Seawater Analysis. 2nd Edition. Bulletin 167. Fisheries Research Board of Canada, Ottawa.

Yule C.M. and Y. H. Sen. 2004. Freshwater Invertebrates of the Malaysian Region. Academy of Sciences Malaysia, Kuala Lumpur.