การพัฒนาบล็อกวัสดุปลูกสำหรับผลิตกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย

Main Article Content

กาญจน์เจริญ ศรีอ่อน
ศุภธิดา อับดุลลากาซิม

บทคัดย่อ

การพัฒนาบล็อกวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ตัดดอกเชิงพาณิชย์ชนิดใหม่ และศึกษาผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์โซเนีย ‘เอียสกุล’ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัสดุปลูกและการย่อยสลายเร็วของกาบมะพร้าว โดยนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผสมกับซีเมนต์ในอัตราส่วนต่างๆ วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) มี 8 ทรีทเมนต์ 10 บล็อก จากการพัฒนาวัสดุปลูกกล้วยไม้ชนิดใหม่จึงได้วัสดุปลูกขนาดกว้าง 23 ซม. ยาว 33 ซม. สูง 8.6 ซม. มีน้ำหนัก 3.8 – 5.3 กก./ก้อน สามารถรับแรงอัดได้ 3,710 – 6,764 กก. ส่วนกระบะกาบมะพร้าวรับแรงอัดได้เพียง 1,786 กก. ทำให้ก้อนปลูกมีความแข็งแรง นอกจากนี้วัสดุปลูกที่พัฒนาขึ้นสามารถดูดซึมน้ำได้ 29.1 – 54.1% ซึ่งมากกว่าซีเมนต์บล็อกที่อุ้มน้ำได้เพียง 8.4% หลังจากปลูกกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกเป็นเวลา 2 ปี พบว่าต้นกล้วยไม้ในทรีทเมนต์ที่ 2 (ปูนซีเมนต์ 25% ทราย 15% และถ่านแกลบ 60%) ทรีทเมนต์ที่ 3 (ปูนซีเมนต์ 25% และถ่านแกลบ 75%) และทรีทเมนต์ที่ 4 (ปูนซีเมนต์ 25% ทราย 15% และขี้เถ้าแกลบ 60%) มีการเจริญเติบโตทางต้นไม่แตกต่างทางสถิติกับต้นกล้วยไม้ที่ปลูกในกระบะกาบมะพร้าว (ควบคุม) โดยมีความสูงของต้น 47.1 – 50.2 ซม. จำนวนลำลูกกล้วย 6.5 – 7.4 ลำ จำนวนใบลำหน้า 6.1 – 6.8 ใบ พื้นที่ใบลำหน้า 239.6 – 303.9 ตร.ซม. และมีจำนวนช่อดอกกล้วยไม้ไม่แตกต่างทางสถิติ โดยมีจำนวนช่อดอก 7.5 – 8.4 ช่อ/กอ ความยาวช่อดอก 43.9 – 45.7 ซม. และอายุการปักแจกัน 19.6 – 20.6 วัน จากข้อมูลดังกล่าวสรุปได้ว่าบล็อกวัสดุปลูกผสมในทรีทเมนต์ที่ 2 3 แล 4 สามารถใช้เป็นวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกระบะกาบมะพร้าวได้ อีกทั้งยังมีความแข็งแรง ใช้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ได้ง่าย และมีอายุการใช้งานได้นานกว่ากระบะกาบมะพร้าว

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. ม.ป.ป. จดหมายข่าวผลิใบ หนอนหัวดำ..ศัตรูตัวร้ายของสวนมะพร้าว. แหล่งข้อมูล: http://doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_12-jan/rai.html. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2562.

กรมศุลกากร. 2561. สถิติการส่งออกดอกกล้วยไม้ปี 2559-2561 (HS-Code 0603.1300). แหล่งข้อมูล: http://www.customs.go.th/statistic_report.php?ini_content=statistics_report&ini_menu=nmenu_esevice&left_menu=nmenu_esevice_007&lang=th&left_menu=nmenu_esevice_007. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2562.

กวี หวังนิเวศน์กุล. 2556. วัสดุวิศวกรรมก่อสร้าง. ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.

ครรชิต ธรรมศิริ. 2547. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.

จงวัฒนา พุ่มหิรัญ. 2547. พันธุ์กล้วยไม้, น. 14 – 26. ใน กรมวิชาการเกษตร. เอกสารวิชาการกล้วยไม้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

จิตราพรรณ พิลึก. 2540. การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้, น. 21 – 32. ใน สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จากประสบการณ์. บริษัท ธรรมสาร จำกัด, กรุงเทพฯ.

ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2558. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ปรัชญา ฤทธิ์ศรีบุญ. 2550. วิเคราะห์การลงทุนในการจัดตั้งโรงงานผลิตอิฐบล็อกในเขตตำบลเหล่าปอแดง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ, สกลนคร.

ภาสันต์ ศารทูลทัต, เมทินี ชูเรือง, ศุภธิดา อับดุลลากาซิม, และลพ ภวภูตานนท์. 2557. ปริมาณมหธาตุในผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม. แก่นเกษตร. 42: 192 – 197.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2546. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศุภธิดา อับดุลลากาซิม, สุภาวดี วงษ์ภมร, กาญจน์เจริญ ศรีอ่อน, และธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2558. ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์โซเนีย “เอียสกุล”. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 46: 153 – 163.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุรวิช วรรณไกรโรจน์. 2540. กล้วยเอยกล้วยไม้, น. 11 – 20. ใน สมศักดิ์ รักไพบูลย์สมบัติ. ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จากประสบการณ์. บริษัท ธรรมสาร จำกัด, กรุงเทพฯ.

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559. การพัฒนาคุณภาพถ่านอัดแท่ง. แหล่งข้อมูล: http://siweb.dss.go.th/repack/repack_description.asp?repack_ID=45. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2562.

Abdullakasim, S., P. Kongpaisan, P. Thongjang, and P. Saradhuldhat. 2018. Physiological responses of potted Dendrobium orchid to salinity stress. Horticulture, Environment and Biotechnology. 59: 491– 498.

Bichsel, R.G., T. W. Starman, and Y.T. Wang. 2008. Nitrogen phosphorus and potassium

requirements for optimizing growth and flowering of the nobile Dendrobium as a potted orchid. Hort Science. 43: 328–332.

Hew, C.S. and J.W.H. Yong. 2004. The Physiology of Tropical Orchids in Relation to the Industry. World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd., Singapore.

Wang, Y.T. 2000. Impact of a high phosphorus fertilizer and timing of termination of fertilization on flowering of a hybrid moth orchid. Hort Science. 35: 60–62.