การพัฒนาวัสดุดินผสมเพื่อการเพาะปลูกผักสลัดกรีนโอ๊ค

Main Article Content

ขจรยศ ศิรินิล
อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุดินผสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของผักสลัดกรีนโอ๊ค จำนวน 3 รอบการเก็บเกี่ยว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ประกอบด้วย 8 สิ่งทดลอง จำนวน 5 ซ้ำ ได้แก่ T1 –T3 คือ ดินผสมทางการค้า A-C, T4 ดินร่วน:ขุยมะพร้าว:แกลบดิบ:มูลวัว:มูลไก่ อัตราส่วน 1:1:1:1:0.5 โดยปริมาตร, T5 ดินร่วน:ขุยมะพร้าว:แกลบดิบ:มูลวัว:มูลไก่ อัตราส่วน 1:1:1:1:1 โดยปริมาตร, T6 ดินร่วน:ขุยมะพร้าว:แกลบดิบ:มูลไก่:มูลไส้เดือน อัตราส่วน 1:1:1:0.5:0.5 โดยปริมาตร, T7 ดินร่วน:ขุยมะพร้าว:แกลบดิบ:มูลไก่:มูลไส้เดือน อัตราส่วน 1:1:1:1:0.5 โดยปริมาตร และ T8 ดินร่วน:ขุยมะพร้าว:แกลบเผา:มูลวัว:มูลไก่ อัตราส่วน 1:1:1:1:0.5 โดยปริมาตร จากผลการทดลองพบว่า วัสดุดินผสมที่ประกอบด้วย ดินร่วน:ขุยมะพร้าว:แกลบดิบ:มูลวัว:มูลไก่ อัตราส่วน 1:1:1:1:0.5 (T4) ทำให้ผักสลัดกรีนโอ๊คมีน้ำหนักสดส่วนเหนือดินรวมทั้ง 3 รอบการเก็บเกี่ยว มากที่สุดและมีต้นทุนของวัสดุดินผสมต่อผลผลิต 1 กิโลกรัม น้อยที่สุด คือ 7.62 บาท ทั้งนี้วัสดุดินผสมที่ผสมขึ้นเองทั้ง 5 สูตร (4-8) ทำให้ผักสลัดกรีนโอ๊คมีการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตทั้ง 3 รอบการเก็บเกี่ยว มากกว่าวัสดุดินผสมทางการค้าทั้ง 3 สูตร (1-3)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน และศรมน สุทิน. 2559. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 5: 22-30.

แม็คโคร. 2562. ตรวจสอบราคาผักสลัดกรีนโอ๊ค. แหล่งที่มา: https://www.makroclick.com/th/products/157397?menuId=3888. ค้นเมื่อ 16 พฤษจิกายน 2562.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วิเซ็น ดวงสา, สายันต์ ตันพานิช, เรวัตร จินดาเจี่ย และ มนตรี แก้วดวง. 2559. ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกูด. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3: 30-35.

วีณา นิลวงศ์. 2557. รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร. โครงการย่อยในชุดโครงการศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทยที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม. คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ศิราณี วงศ์กระจ่าง และบัญชา รัตนีทู. 2561. ผลของการใช้ดินผสมจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น จ.นราธิวาส ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค. แก่นเกษตร. 46: 1156-1160.

สุภาพร ใจการณุ, สังวาล สมบูรณ์, สามารถ วันชะนะ, อัจฉราพร ภักดี, ประกิต เชื้อชม และอุบล อยู่หว้า. 2555. สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในอาหารท้องถิ่น. แหล่งที่มา: http://www.thaipan.org/sites/default/files//conference2555/conference2555_0_04.pdf. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. การนำเข้าปุ๋ยเคมี. แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/download/FactorOfProduct/Fertilizer_value49-54.html. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562.

สุทิน ทวยหาญ, เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ, รภัสสา จันทาศรี และสำราญ พิมราช. 2556. การศึกษาวัสดุปลูกจากดินผสมที่เหมาะสมสำหรับผักคะน้า. เกษตรพระวรุณ. 10: 117-124.

อรประภา อนุกูลประเสริฐ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม. Thai Journal of Science and Technology. 4: 81-94.

อัมพิกา ภูวนะเสถียรฐ์. 2552. การตกค้างของสารไนเตรทและไนไตรท์ในผักต่างชนิดที่เพาะปลูกแบบเคมี แบบปลอดภัยจากสารพิษและแบบอินทรีย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

Brady, N.C., and R.R. Weil. 2002. The nature and properties of soils. Prentice Hall, New Jersey.

Walkley, A., and I.A. Black. 1934. An examination of Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science 37: 29-37.

Yusof, M.R.M., O.H. Ahmed, W.S. King, and F.A.A. Zakry. 2015. Effect of biochar and chicken litter ash on selected soil chemical properties and nutrients uptake by Orysa sativa L. var. MR219. International Journal of Biosciences. 6: 360-369.