การคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวเหนียวดำที่มีปริมาณสารแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงจากประชากรข้าวพื้นเมืองภาคเหนือของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประชากรข้าวพื้นเมืองเป็นแหล่งพันธุกรรมในลักษณะคุณภาพพิเศษที่สำคัญ โดยเฉพาะข้าวเหนียวดำพื้นเมืองมีสารแอนโทไซยานินซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย แต่เนื่องจากประชากรข้าวพื้นเมืองมีความหลากหลายภายในสายพันธุ์ ดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการผลิตข้าวคุณภาพพิเศษสูงและการใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์จึงจำเป็นต้องจำแนกพันธุกรรมเดี่ยว ๆ ออกจากประชากรด้วยวิธีการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้คัดเลือกพันธุ์ข้าวพื้นเมือง การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและคัดเลือกข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองที่มีสารแอนโทไซยานินในเมล็ดสูง ที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์จากที่สูงในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ที่มีสารแอนโทไซยานินในเมล็ดสูง 6 สายพันธุ์ นำมาปลูกประเมินลักษณะทางสัณฐาน พืชไร่ และวิเคราะห์สารแอนโทไซยานินในข้าวกล้องเป็นเวลา 2 ปี ในปีแรกปลูกในฤดูนาปีในกระถางสภาพไร่ไม่ขังน้ำ ปีที่ 2 ปลูกในฤดูนาปีในแปลงทดลองสภาพไร่ไม่ขังน้ำ ผลการศึกษาพบว่าการประเมินพันธุ์ปิอิ๊ซูที่มีสารแอนโทไซยานินสูง 6 สายพันธุ์ ในปีที่ 1 ไม่พบการกระจายตัวของลักษณะทางสัณฐานในแต่ละสายพันธุ์ และการประเมินปริมาณสารแอนโทไซยานิน สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีแอนโทไซยานินสูง 2 สายพันธุุ์ ได้แก่ ปิอิ๊ซู 1 และปิอิ๊ซู 3 นำมาปลูกประเมินในแปลงทดลองในปีที่ 2 พบว่า สายพันธุ์ปิอิ๊ซู 1 มีปริมาณสารแอนโทไซยานินสูงที่สุด เฉลี่ยจาก 2 ปีอยู่ระหว่าง 28.4-37.5 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มากกว่าพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐานถึงสองเท่า ให้ผลผลิตเท่ากับ 656 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับข้าวไร่พันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน ดังนั้นสายพันธุ์ปิอิ๊ซู 1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์และมีแอนโทไซยานินสูงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยในอนาคตต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดำเนิน กาละดี, พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ และ ศันสนีย์ จำจด. 2543. พันธุศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์และโภชนศาสตร์เกษตรของข้าวเหนียวดำ. น. 74. ใน: รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ธนพัฒน์ รุ่งวัฒนพงษ์. 2554. ความสัมพันธ์ระหว่างแอนโธไซยานิน ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่ำพื้นเมือง.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พีระ ดุงสูงเนิน, อุดมพรรณ พรหมนารท และรื่นฤดี แก้วชื่นชัย. 2555. ข้าวขึ้นน้ำพันธุ์ใหม่ “ขาวบ้านนา 432”. น. 113-116. ใน: การประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติครั้งที่ 2 เรื่อง มิติใหม่วิจัยข้าวไทยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปิดตลาดเสรีอาเซียน 21-23 ธันวาคม 2555. กรมการข้าว สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี, กรุงเทพฯ.
ศันสนีย์ จำจด, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย, นริศ ยิ้มแย้ม และสิทธิชัย ลอดแก้ว. 2558. การรวบรวม ประเมินและจำแนกพันธุ์ข้าวไทยคุณภาพพิเศษจากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและแม่ฮ่องสอน. น. 71. ใน: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยและวัฒนธรรมข้าวล้านนา ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุภาภรณ์ ญะเมืองมอญ และ ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2559. ความแปรปรวนของปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของข้าวเหนียวก่ำพันธุ์พื้นเมืองของไทย. วารสารเกษตร. 32: 191-199.
อาคม กาญจนประโชติ, สัมพันธ์ ตาติวงศ์, ศิวะพงศ์ นฤบาล, ณรงค์ จันทร์โลหิต, วิมล ปันสุภา, นิเวศ เยี่ยมยงศิลป์, ธมลวรรณ เนื่องกันทา และธนากร พุฒิไชยจรรยา. 2553. การประเมินและคัดเลือกพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองประจำเผ่าบนที่สูง. น. 151-156. ใน: รายงานการประชุมวิชาการ ผลงานวิจัยขอมูลนิธิโครงการหลวง ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ เอ็มเพรส เชียงใหม่ โรงแรมดิเอ็มเพรส 29-30 พฤศจิกายน 2553. เชียงใหม่.
อนุพงศ์ วงศ์ตามี, พิชัย บุตรสีภูมิ และต่อนภา ผุสดี. 2560. ความหลากหลายทางพันธุกรรมและโครงสร้างประชากรของเชื้อพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. น. 335-342. ใน: นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13 วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 20-21 กรกฎาคม 2560. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
Abdel-Aal, E. S. M. and P. Hucl. 1999. A rapid method for quantifying total anthocyanins in blue aleurone and purple pericarp wheats. Cereal Chemistry. 76: 350-354.
Abdel-Aal, E. S. M., J. C. Young, and I. Rabalski. 2006. Anthocyanin composition in black, blue, pink, purple, and red cereal grains. Agricultural and Food Chemistry. 54: 4696-4704.
Allard, R. W. 1999. Principles of plant breeding. John Wiley & Sons, New York.
Baydar, H., R. Marquard, and I. Turgut. 1999. Pure line selection for improved yield, oil content and different fatty acid composition of sesame, Sesamum indicum. Plant Breeding. 118:462-464.
Geekiyanage, S., T. Takase, Y. Ogura, and T. Kiyosue. 2007. Anthocyanin production by over-expression of grape transcription factor gene VlmybA2 in transgenic tobacco and Arabidopsis. Plant Biotechnology Reports. 1: 11-18.
Hui, C., Y. Bin, Y. Xiaoping, Y. Long, C. Chunye, M. Mantian and L. Wenhua. 2010. Anticancer activities of an anthocyanin-rich extract from black rice against breast cancer cells in vitro and in vivo. Nutrition and Cancer. 62: 1128-1136.
Lim, S. H. and S. H. Ha. 2013. Marker development for the identification of rice seed color. Plant Biotechnology Reports. 7: 391-398.
Okai, K. H., K. Kanbara, K. Amano, A. Hagiwara, C. Sugita, N. Matsumoto, and Y. Okai. 2004. Potent antioxidative and antigenotoxic activity in aqueous extract of Japanese rice bran-association with peroxidase activity. Phototherapy Research. 18: 628-633.
Prom-u-thai C. 2003. Iron (Fe) in rice grain. Ph.D. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai.
Pusadee, T., S. Jamjod, Y.C. Chiang, B. Rerkasem, and B.A. Schaal. 2009. Genetic structure and isolation by distance in a landrace of Thai rice. P.13880-13885 In: Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. August 18, 2009, USA.