ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของหอยน้ำจืดและปัจจัยสิ่งแวดล้อมในอ่างเก็บน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กิตติชัย จันธิมา
กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง
รุ่งนภา กามินทร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของหอยน้ำจืดและปัจจัยสิ่งแวดล้อมในอ่างเก็บน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยศึกษาในอ่างเก็บน้ำห้วยสัก และอ่างเก็บน้ำห้วยเอี้ยง ระหว่างเดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยเก็บตัวอย่างหอยน้ำจืดเพื่อศึกษาดัชนีบ่งชี้ทางนิเวศ (ความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความสม่ำเสมอ) และปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (ความเป็นกรด – ด่าง, อุณหภูมิ, ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ, ของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด การนำไฟฟ้า และค่าความเค็ม) ร่วมกับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ทั้งหมด 4 จุด ผลการศึกษาพบหอยน้ำจืดทั้งหมด 399 ตัว จำแนกออกเป็น 2 วงศ์ 2 สกุล 3 ชนิด ได้แก่ Clea helena, Filopaludina martensi martensi, F. sumatrensis polygramma พบหอยน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำห้วยเอี้ยงมีค่าดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และดัชนีความสม่ำเสมอสูงกว่าหอยน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำห้วยสัก และผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่าความเป็นกรด – ด่าง มีความสัมพันธ์ต่อการดำรงอยู่ของหอยทุกชนิดในอ่างเก็บน้ำห้วยสัก และอ่างเก็บน้ำห้วยเอี้ยง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2560. การกำหนดประเภทน้ำผิวดิน. แหล่งข้อมูล: http://www.pcd.go.th/info_serv. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561.

กิจจา อภิรักษ์เสนา. 2557. การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ของหอยและปลาน้ำจืด บริเวณสระน้ำในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

จุฑามาศ ศรีปัญญา และนิศารัตน์ ตั้งไพโรจน์วงศ์. 2556. ความหลากชนิดของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในห้วยหญ้าเครือและห้วยพรมแล้ง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 18: 60-74.

ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน. 2561. ความหลากชนิดและการกระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26: 604-618.

ภาสพล ธรรมตันติหิรัญ, จงกลณี วรรณเพ็ญสกุล, สุวัฒน์ พาหุสุวัณโณ และตรีดารัตน์ ศิริดำรงค์. 2552. การแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียเนื่องจากสาหร่ายมีพิษเกิดการบลูมในอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยโดยเคมีบำบัดและบูรณาการวิธี. กรมชลประทาน, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเทศบาลตำบลดอยลาน. 2560. ประวัติความเป็นมาอ่างเก็บน้ำห้วยเอี้ยง. แหล่งข้อมูล: http://www.doilan.go. th/?View=basedata. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561.

สำนักงานเทศบาลตำบลห้วยสัก. 2560. ประวัติความเป็นมาอ่างเก็บน้ำห้วยสัก. แหล่งข้อมูล: http://www.huaisak.go.th. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561.

ศิริพร บุญดาว, นิศานาถ ละอองพันธ์, อุไร เพ่งพิศ และอำพร คล้ายแก้ว. 2552. การประเมินผลตกค้างของสารควบคุมสาหร่ายชั้นต่ำโดยใช้สัตว์พื้นท้องน้ำในอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี. กรมชลประทาน, กรุงเทพฯ.

สมศักดิ์ ระยัน, บุญทิวา ชาติชำนิ และอมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์. 2558. ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำบางประการและความชุกชุมของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร. แก่นเกษตร 43 (พิเศษ 1): 595-602.

สุชาติ ผึ่งฉิมพลี. 2555. ชนิดและการแพร่กระจายของหอยน้ำจืดในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, สระบุรี.

สุชาติ ผึ่งฉิมพลี และฉวีวรรณ สุขมงคลรัตน์. 2556. ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรุงเทพฯ.

Brandt, R. A. M. 1974. The non-marine aquatic Mollusca of Thailand. Arch. Moll. 105: 1-143.

Wang, Y.C., R.C.Y. Ho, C.C. Feng, J. Namsanor, and P. Sithithaworn. 2015. An ecological study of Bithynia snails, the first intermediate host of Opisthorchis viverrini in northeast Thailand. Acta Tropic. 141: 244-252.

Geo-Informatics and Space Technology Development Agency. 2011. L05_AdminBoundary_Amphoe_2011_50k_FDGS_beta. Geo-Informatics and Space Technology Development Agency, Bangkok.

QGIS Development Team. 2018. QGIS Geographic Information System. Available: http://qgis.osgeo.org. Accessed Aug. 12, 2018.

R Development Core Team. 2010. R: A Language and Environment for Statistical Computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna.