สายโซ่อุปทานของผักหวานป่าในจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

นันทวัน หัตถมาศ
ศจิษฐา ประเสริฐกุล
นิตยา วานิกร
มลิวรรณ นาคขุนทด

บทคัดย่อ

ผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre) เป็นผักที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนที่นิยมบริโภคมากที่สุดคือ ส่วนยอดอ่อนมีรสหวานกรอบและไม่เหม็นเขียว ในอดีตผักหวานป่าเก็บได้จากแหล่งธรรมชาติเท่านั้น แต่ปัจจุบันถูกนำมาปลูกเพื่อการค้า เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการในสายโซ่อุปทานของยอดผักหวานป่าจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และปัญหาในสายโซ่อุปทาน ด้วยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงที่มีความเกี่ยวข้องกับยอดผักหวานป่าในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 120 คน ได้แก่ ผู้ปลูกหรือผู้เก็บยอดผักหวานป่า ผู้รวบรวมหรือผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ผลการวิจัยพบว่า สายโซ่อุปทานยอดผักหวานป่าเป็นทั้งแบบ basic supply chain และ extended supply chain สายโซ่อุปทานยอดผักหวานป่าที่ปลูกเพื่อการค้ามีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวในกระบวนการกลางน้ำและปลายน้ำ จึงมีความยาวมากกว่าสายโซ่อุปทานยอดผักหวานป่าจากธรรมชาติ ปัญหาระหว่างการดำเนินงานในกระบวนการต้นน้ำและกลางน้ำอยู่ในระดับปานกลาง ด้วยคะแนน  2.89+0.81 และ 3.36+0.78 ปัญหาในกระบวนการปลายน้ำอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยคะแนน 4.24+0.57 ปัญหาสำคัญที่สุดของสายโซ่อุปทานนี้คือ การสูญเสียคุณภาพระหว่างการวางจำหน่าย และอายุการเก็บรักษาสั้น ดังนั้นจึงควรมีงานวิจัยศึกษาผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจและสุขภาพของผู้บริโภคร่วมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กนกพร บุญญะอติชาติ. 2558. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียปริมาณและคุณภาพของผักรับประทานใบ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 7: 147-158.

โครงการผืนป่ากระดานดำ. 2559. คู่มือครูสิ่งแวดล้อม จังหวัดกาญจนบุรี: เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ฉบับสำหรับครูชั้นมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. โมเดอร์น ฟิล์ม เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ.

จริงแท้ ศิริพานิช. 2549. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จารุณี จูงกลาง และจำนง อุทัยบุตร. 2557. การเปรียบเทียบวิธีการเก็บรักษายอดผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre) ในสภาวะอุณหภูมิต่ำ. ว. วิทย. มข. 42: 159-168.

ณัฏฐากร เสมสันทัด และบัณฑิต โพธิ์น้อย. 2552. ผักหวานป่า. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี, ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์, บุญชาติ คติวัฒน์ และวันเพ็ญ กลับกลาย. 2561. การจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าผักเบอร์ 8 เพื่อยกระดับศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอพนมทวน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 38: 52-65.

ดามร บันฑุรัตน์, วิบูลย์ ช่างเรือ, พิชญา บุญประสม พูลลาภ, และดนัย บุณยเกียรติ. 2555. การประเมินการสูญเสียการจัดการสายโซ่อุปทานคะน้าในจังหวัดเชียงใหม่. ว. วิทย. กษ. 43(พิเศษ 3): 296-299.

ทำนอง ชิดชอบ, นันทา สมเป็น, สุนิสา เยาวสกุลมาศ, และประทีป ดวงแว่ว. 2557. การพัฒนาแบบจำลองโซ่อุปทานของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในประเทศไทย. แก่นเกษตร 42(ฉบับพิเศษ 2): 243-249.

ธนากร เกรอต, ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์ และชูศักดิ์ พรสิงห์. 2561. การวิเคราะห์และลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับผักออร์แกนิคในภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 10: 75-91.

วัฒนรินทร์ สุขีวัย. 2562. สภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรีหนุนเกษตรกรต่อยอดแปรรูปผักหวานป่าสร้างมูลค่าเพิ่มไร้คู่แข่ง. แหล่งข้อมูล: nfc.or.th/content/8118. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.

ประกายดาว ยิ่งสง่า, เบญจภรณ์ บุตรบุญตอม และอิศรา ศรีสองภา. 2558. การเก็บรักษาผักหวานป่าในสภาพบรรยากาศดัดแปลง. ว. วิทย. กษ. 46(พิเศษ 3/1): 211-214.

พัชรินทร์ สุภาพันธ์ และเบญจพรรณ เอกะสิงห์. 2560. การจัดการห่วงโซ่อุปทานด้วยรูปแบบ SCOR ของผักสดที่ผ่านมาตรฐานการรับรองตามการผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสมในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 30: 91-119.

สุธี ปิงสุทธิวงศ์. 2556. Essential management tools for performance excellence. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.
Bahinipati, B.K. 2014. The procurement perspectives of fruits and vegetables supply chain planning. Inter. J Supply Chain Manag. 3: 111-131.