ผลของทางใบปาล์มน้ำมันหมักแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในอาหารผสมครบส่วน ต่อปริมาณการกินได้ และการย่อยได้ในแพะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของทางใบปาล์มน้ำมันหมักแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (calcium hydroxide treated oil palm frond, CTOPF) ในอาหารผสมครบส่วน (total mixed ration, TMR) ต่อปริมาณการกินได้ และการย่อยได้ในแพะ โดยศึกษาในแพะลูกผสมบอร์-พื้นเมือง 50% เพศผู้ อายุประมาณ 15-16 เดือน มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 20±2.1 kg จำนวน 4 ตัว สุ่มแพะให้ได้รับอาหารตามแผนการทดลองแบบ 4 x 4 จัตุรัสลาติน ประกอบด้วยอาหาร TMR 4 สูตร โดยใช้ CTOPF 0, 2, 4 และ 6% ตามลำดับ เพื่อเป็นแหล่งของอาหารหยาบ จากการศึกษาพบว่า ปริมาณการกินได้อย่างอิสระของวัตถุแห้ง (%DM) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของอินทรียวัตถุ (OM) ผนังเซลล์ (NDF) เปอร์เซ็นต์โภชนะรวมที่ย่อยได้ (TDN) และพลังงาน (ME) มีแนวโน้มลดลงในอาหาร TMR ที่มีระดับของ CTOPF สูงกว่า 4% แบบโค้งกำลังสอง (P<0.01) อย่างไรก็ตาม ปริมาณการกินได้ของอินทรียวัตถุ (OM) โปรตีนรวม (CP) ผนังเซลล์ (NDF) และลิโนเซลลูโลส (ADF) ของแพะทุกกลุ่มใกล้เคียงกัน (P>0.05) เช่นเดียวกับค่าเมแทบอไลท์ในกระแสเลือด (blood glucose, BUN and PCV) ของแพะทั้ง 4 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ดังนั้น จากการศึกษาแนะนำให้ใช้ CTOPF 2% เพื่อเป็นแหล่งอาหารหยาบในอาหาร TMR เนื่องจากช่วยเพิ่มปริมาณการกินได้วัตถุแห้ง และทำให้การย่อยได้ของโภชนะสูงขึ้นในแพะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เฉลียว ศาลากิจ. 2548. โลหิตวิทยาทางสัตวแพทย์. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.
ณัฐฐา รัตนโกศล. 2552. การใช้ทางใบปาล์มน้ำมันหมักร่วมกับกากน้ำตาลเป็นอาหารหยาบสำหรับแพะ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์, สงขลา.
เทียนทิพย์ ไกรพรม และ สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์. 2561. ผลการใช้เศษเหลือทิ้งจากปาล์มน้ำมันในสูตรอาหารผสมสำเร็จในแพะต่อการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะปริมาณกรดไขมันที่ระเหยง่าย และเมแทบอไลซ์ในเลือด. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 10 (2): 171-183.
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์, ชัยรัตน์ นิลนนท์, ธีระพงศ์ จันทรนิยม, ประกิจ ทองคำ และสมเกียรติ สีสนอง. 2548. การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน. น. 51-62. ใน: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน. เส้นทางสู่ความสำเร็จการผลิตปาล์มน้ำมัน. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ภูวดล เหมชะรา, ปิ่น จันจุฬา และอนุสรณ์ เชิดทอง. 2559. ปริมาณการกินได้ และเมแทบอไลท์ในกระแสเลือดของแพะที่ได้รับทางใบปาล์มน้ามันหมักเชื้อรา. แก่นเกษตร. 44(2): 68-76.
ภูวดล เหมชะรา, พีรวัจน์ ชูเพ็ง, ณันญรัตน์ คุ้มครอง และโสภณ บุญล้ำ. 2563. ผลของทางใบปาล์มน้ำมันหมักแคลเซียมไฮดรอกไซด์ต่อปริมาณการกินได้ และการย่อยได้ในแพะ. แก่นเกษตร. 48(1): 163-176.
สายัณห์ ทัดศรี. 2547. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2563. แหล่งข้อมูล : https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/trend2563-Final-Download.pdf. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564.
สุนทร รอดด้วง. 2555. ผลของการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันหมักในอาหารผสมสำเร็จต่อสมรรถภาพการผลิตและลักษณะซากแพะ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สุรเดช เพชรอาวุธ, ปิ่น จันจุฬา และอนุสรณ์ เชิดทอง. 2560. ผลของทางใบปาล์มน้ำมันหมักด้วยยูเรียและแคลเซียมไฮดรอกไซด์ต่อปริมาณการกินได้ และเมแทบอไลท์ในกระแสเลือดของแพะ. วิทยาศาสตร์เกษตร. 48(2): 161-168.
สุรเดช เพรชอาวุธ. 2561. ผลการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันหมักด้วยยูเรียและแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในอาหารผสมเสร็จ ต่อการย่อยได้ของโภชนะ นิเวศวิทยาในรูเมน และการใช้ประโยชน์ของไนโตรเจนในแพะ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
AOAC. 1995. Official Methods of Analysis. 16th Edition. Assoc. Off. Anal.Chem., Arlington, VA.
Chanjula, P., C. Suntara, and A. Cherdthong. 2021. The effects of oil palm fronds silage supplemented with urea‐calcium hydroxide on rumen fermentation and nutrient digestibility of thai native‐anglonubian goats. Fermentation. 7(4): 1-14.
Chanjula, P., V. Petcharat, P. Hamchara, and A. Cherdthong. 2016. Effect of fungal treated oil palm frond in the diet of goats. p. 885-888. In: Proceedings 17th AAAP 2016 Animal Science congress 22-25 August 2016. Fukuoka, Japan.
Chaudhry, A. S. 1998. Nutrient composition digestion and rumen fermentation in sheep of wheat straw treated with calcium oxide sodium hydroxide and alkaline hydrogen peroxide. Animal Feed Science and Technology. 74(4): 315-328.
Chaudhry, A. S. 2000. Rumen degradation in sacco in sheep of wheat strawtreated with calcium oxide, sodium hydroxide and sodium hydroxide plus hydrogen peroxide.Animal Feed Science and Technology. 83: 313-323.
Dias, A. M., Í. Tavo, L. C. V. Damasceno, G. T. Santos, C. C. B. F. Ítavo, F. F. Silva, É. Nogueira, and C. M. Soares. 2011. Sugar cane treated with calcium hydroxide in diet for cattle: intake, digestibility of nutrients and ingestivebehaviour. Revista Brasileira de Zootecnia. 40(8): 1799-1806.
Freitas, T. B., A. E. Relling, M. S. Pedreira,W. J. B. Rocha,A. R. Schroeder, and T. L. Felix. 2017. Effects of increasing inclusion of sodium hydroxide treatment on growthperformance, carcass characteristics, and feeding behavior of steers fed 50% DDGS. Journal of Animal Science. 95: 371–378.
Gunun N., M. Wanapat, P. Gunun, A. Cherdthong, P. Khejornsart and S. Kang. 2016. Effect of treating sugarcane bagasse with urea and calcium hydroxide on feed intake, digestibility, and rumen fermentation in beef cattle. Tropical Animal Health and Production. 48(6): 1123–1128.
Hamchara, P., P. Chanjula, A. Cherdthong, and M. Wanapat. 2018. Digestibility, ruminal fermentation, and nitrogen balance with various feeding levels of oil palm fronds treated with Lentinussajor-caju in goats. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 31: 1619-1626.
Hammond, A. C. 1998. Use of bun and mun as Guides for protein and energy supplementation in cattle. Revista Corpoica. 2(2): 44-48.
Jain, N. C. 1993. Essentials of Veterinary Hematology. 1st Edition. Philadelphia, USA.
Kaneko, J. J. 1980. Appendixes. In: Chinical Biochemistry of Domestic Animal, 3rd ed. In J. J. Kaneko (ed). New york, Academic Press.
Kawamoto, H., W. Z. Mohamed, N. I. M. Sukur, M. S. M. Ali, Y. Islam, and S. Oshio. 2001. Palatability, digestibility and voluntary intake of processed oil palm fronds in cattle. Japan Agricultural Research Quarterly. 35(3): 195-200.
Kearl, L. C. 1982. Nutrient Requirements of Ruminants in Developing Countries. Utah State University, Utah.
Lloyd, S. 1982. Blood characteristics and the nutrition of ruminants. British Veterinary Journal. 138: 70-85.
NRC. 1981. Nutrient Requirements of Goats: Angora, Dairy and Meat Goats in Temperate and Tropical Countries. National Academy Press, Washington, D.C.
Pandey, A., S. Negi, P. Binod, and C. Larroche. 2015. Pretreatment of Biomass Processes and Technologies. 1st Edition. Elsevier, Amsterdam.
Polyorach, S., and M. Wanapat. 2014. Improving the quality of rice straw by urea and calcium hydroxide on rumen ecology, microbial protein synthesis in beef cattle. Journal of Animal Physiology and Animal Nutrition. 99: 449-456.
Steel, R. G. D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and procedures of statistics: A Biometerial Approach. 2nd Edition. McGraw-Hill Book Co., New York.
Van Soest, P. J. 1994. Nutritional Ecology of the Ruminant. 2nd Edition. Cornell University Press, New York.
Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B. A. Lewis. 1991. Method for dietary fiber, neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583-3597.