การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยาในฝรั่งพันธุ์การค้าของประเทศไทยภายใต้สภาวะน้ำท่วมขัง

Main Article Content

เสาวณี คงศรี
พงษ์นาถ นาถวรานันต์
อุณารุจ บุญประกอบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาวะน้ำท่วมขังต่อลักษณะทางสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยาของฝรั่งพันธุ์การค้าจำนวน 3 พันธุ์ คือ พันธุ์หวานพิรุณ พันธุ์แป้นสีทอง และพันธุ์กิมจู เมื่อต้นฝรั่งมีอายุ 4 เดือน จะได้รับสภาวะการท่วมน้ำเป็นเวลา 10 สัปดาห์ (ระดับน้ำสูงจากผิวดิน 10 เซนติเมตร) ทำการประเมินค่าอัตราการสังเคราะห์แสง ค่าความเขียวใบ และค่าความยาวยอดที่เพิ่มขึ้น ทุก ๆ 2 สัปดาห์ จนสิ้นสุดการทดลอง จากนั้นทำการประเมินค่าน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของลำต้นและราก จำนวนใบ และค่าพื้นที่ใบ ในสัปดาห์ที่ 10 หลังการท่วมน้ำ พบว่าการท่วมน้ำมีอิทธิพลต่อค่าอัตราการสังเคราะห์แสงและความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นของแต่ละพันธุ์ โดยในสภาวะปกติพบว่าฝรั่งพันธุ์กิมจูมีค่าอัตราการสังเคราะห์แสงและค่าความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุด แต่ในสภาวะน้ำท่วมขังพบว่าฝรั่งทั้ง 3 พันธุ์ มีค่าอัตราการสังเคราะห์แสงและค่าความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นลดลง โดยอัตราการสังเคราะห์แสงและความยาวยอดที่เพิ่มขึ้นมีค่าลดลง 79.3-93.0 เปอร์เซ็นต์ และ 51.1-77.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการเจริญเติบโตของต้นฝรั่ง พบว่าสภาวะการท่วมน้ำมีผลทำให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของต้นและราก จำนวนใบ และพื้นที่ใบ ลดลงประมาณ 49.0-75.6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความเขียวใบที่มีค่าลดลงเพียง 9.2 เปอร์เซ็นต์ โดยฝรั่งพันธุ์หวานพิรุณมีค่าความเขียวใบและค่าการเจริญเติบโตของต้นและรากน้อยที่สุด ในขณะที่พันธุ์แป้นสีทองและกิมจูมีค่าการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน การสร้างช่องเปิดพิเศษและรากพิเศษบนลำต้นตรงบริเวณระดับน้ำพบเฉพาะในพันธุ์แป้นสีทองและพันธุ์กิมจูเท่านั้น โดยพบในวันที่ 66-70 หลังจากที่ท่วมน้ำ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองและกิมจูมีความทนทานต่อสภาวะน้ำท่วมขังมากกว่าพันธุ์หวานพิรุณ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กวิศร์ วานิชกุล. 2538. การรวบรวมและใช้ประโยชน์มะม่วงที่อยู่รอดในพื้นที่น้ำท่วม. แหล่งข้อมูล: https://www.ku.ac.th/flood/chap4.html. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2558.

เกษม พริกคง. 2544. ผลของสภาวะน้ำท่วมขังต่อการเจริญเติบโต พลังงานศักย์ของน้ำในใบ ปริมาณคลอโรฟิลล์ ลักษณะทางกายวิภาค และสัณฐานวิทยาบางประการของฝรั่ง 3 พันธุ์. ปัญหาพิเศษปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ประชาชาติธุรกิจ. 2562. วิกฤตน้ำท่วมอีสานเสียหาย 8 พันล้าน กระทบพื้นที่ ศก.-เกษตร 2 ล้านไร่ – 4 จังหวัดยังอ่วม. แหล่งข้อมูล: https://www.prachachat.net/local-economy/news-371872. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2562.

ไพศาล ตันไชย. 2548. ลักษณะทางสรีระบางประการของต้นชมพู่ระยะอ่อนวัยในสภาพน้ำท่วมขัง. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รวี เสรฐภักดี. 2540. ต้นไม้ผลในสภาวะถูกน้ำท่วมขังและแนวทางการแก้ไข. แหล่งข้อมูล: https://www.ku.ac.th/flood/chap2.html. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2558.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2553. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2552. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.

Hartmann, H.T., D.E. Kester, F.T. Davies, and R.L. Geneve. 2002. Plant Propagation Principles and Practices. 7th Edition. Prentice Hall, NJ.

Herrera, A. 2013. Responses to flooding of plant water relations and leaf gas exchange in tropical tolerant trees of a black-water wetland. Front. Plant Sci. 4: 1-12.

Joyner, M.E.B., and B. Schaffer. 1989. Flooding tolerance of ‘Golden Star’ carambola trees. Proc. Fla. State Hort. Soc. 102: 236-239.
Kozlowski, T.T. 1997. Responses of woody plants to flooding and salinity. Heron Publishing, VIC.

Kozlowski, T.T., and S.G. Pallardy. 1997. Physiology of woody plants. 2nd Edition. Academic Press, CA.

Larson, K.D., B. Schaffer, and F.S. Davies. 1991. Flooding, leaf gas exchange, and growth of mango in containers. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 116: 156-160.

Pezeshki, S.R., and P.H. Anderson. 1996. Responses of three bottomland species with different flood tolerance capabilities to various flooding regimes. Wetl. Ecol Manag. 4: 245–256.

Reid, D.M., and K.J. Bradford. 1984. Effects of flooding on hormone relations. P.195-219. In: T.T. Kozlowski. Flooding and plant growth. Academic Press, FL.

Rood, S.B., J.L. Nielsen, L. Shenton, K.M. Gill, and M.G. Letts. 2010. Effects of flooding on leaf development, transpiration, and photosynthesis in narrowleaf cottonwood, a willow-like poplar. Photosynth Res. 104: 31-39.

Taiz, L., and E. Zeiger. 2002. Plant Physiology. 3rd Edition. Sinauer Associates Inc., CA.

Tang, Z.C., and T.T. Kozlowski. 1982. Some physiological and growth responses of Betula papyrifera seedlings to flooding. Physiol. Plant. 55: 415-420.

Tsukuhara, H., and T.T. Kozlowski. 1985. Importance of adventitious roots to growth of flooded Platanus occidentalis seedlings. Plant Soil 88: 123-132.

Vu, J.C.V., and G. Yelenosky. 1991. Photosynthetic responses of citrus trees to soil flooding. Physiol. Plant. 81: 7-14.

Wample, R.L., and R.W. Davis. 1983. Effect of flooding on starch accumulation in chloroplasts of sunflower (Helianthus annuus L.). Plant Physiol. 73: 195-198.

Wenkert, W., N. R. Fausey, and H.D. Watters. 1981. Flooding responses in Zea mays L. Plant Soil. 62: 351-366.

Zhang, J., and W.J. Davies. 1987. ABA in roots and leaves of flooded pea plants. J. Expt. Bot. 38: 649-659

Zhang, J., U. Schurr, and W.J. Davies. 1987. Control of stomatal behaviour by abscisic acid which apparently originates in the roots. J. Exp. Bot. 38: 1174-1181.