ผลของน้ำกากส่าจากโรงงานเอทานอลและปุ๋ยเคมี ต่อผลผลิตและการดูดใช้ธาตุอาหารของอ้อย และสมบัติบางประการของดิน

Main Article Content

ธัชสรัญ หวังรัตนาเจริญ
ดาวจรัส เกตุโรจน์
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม
ศุภิฌา ธนะจิตต์

บทคัดย่อ

ดำเนินการศึกษาในชุดดินวาริน แปลงเกษตรกร บ้านซับพลูน้อย ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เพื่อทดสอบผลของน้ำกากส่าจากโรงงานเอทานอลและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตและการดูดใช้ธาตุอาหารของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และสมบัติดินบางประการ วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 4 ซ้ำ แปลงหลัก ได้แก่ การใช้น้ำกากส่า 5 อัตรา (0, 16, 32, 64 และ 128 ลิตร/ไร่ โดยผสมน้ำให้ได้ปริมาตรรวม 1,600 ลิตร) และแปลงรองเป็นการเปรียบเทียบปุ๋ยเคมี 3 อัตรา ปลูกอ้อยช่วงปลายฤดูฝน และเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยปลูกที่อายุ 14 เดือน ผลการศึกษา พบว่า การให้น้ำกากส่าอัตรา 16–128 ลิตร/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีปริมาณ 2 เท่าของอัตราแนะนำ มีแนวโน้มทำให้ผลผลิต (18.76 ตัน/ไร่) และองค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ จำนวนลำต่อพื้นที่ ความยาวลำ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ (9,500 ลำ/ไร่, 258.8 ซม. และ 32.98 มม. ตามลำดับ) ของอ้อยสูงสุด การให้น้ำกากส่าทำให้ลำอ้อยมีการดูดใช้โพแทสเซียมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p ≤ 0.01) ตามอัตราการใช้ที่เพิ่มขึ้น การใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณ 2 เท่าของอัตราแนะนำ ทำให้อ้อยดูดใช้ไนโตรเจนและโพแทสเซียมในลำอ้อย และฟอสฟอรัสในใบและยอดสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p ≤ 0.01) เท่ากับ 11.74, 8.46 และ 0.76 กก./ไร่ ตามลำดับ การใส่น้ำกากส่าอัตรา 64 ลิตร/ไร่ มีปฏิสัมพันธ์กับการใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณ 2 เท่าของอัตราแนะนำ ทำให้อ้อยมีการดูดใช้ไนโตรเจนในใบและยอด และลำอ้อย (7.14 และ 17.17 กก./ไร่, p ≤ 0.01, 0.05 ตามลำดับ) และฟอสฟอรัสกับโพแทสเซียมในใบและยอด (1.19 และ 8.19 กก./ไร่ ตามลำดับ, p ≤ 0.01) สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ นอกจากนี้ การใช้น้ำกากส่าและปุ๋ยเคมีร่วมกันมีแนวโน้มที่จะช่วยเพิ่มโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน (p ≤ 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการเกษตร. 2547. เอกสารวิชาการ อ้อย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการเกษตร. 2558. รายงานโครงการวิจัย. การวิจัยและพัฒนาด้านดิน น้ำและปุ๋ยอ้อย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการเกษตร. 2562. อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3. แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/pvp/images/stories/indexpp2518 /AnnoDOA_nameplant/t95.pdf. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562.

กองสำรวจและจำแนกดิน. 2543. คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

มงคล ต๊ะอุ่น, ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย, และ สุทธิพงศ์ เปรื่องค้า. 2560. ผลกระทบทรัพยากรดินจากการใช้น้ำกากส่าของการปลูกอ้อยในเชิงพื้นที่. แก่นเกษตร. 45: 419–423.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2556. ธาตุอาหารและการเจริญเติบโตของอ้อย. ดินและปุ๋ย. 35: 65–77.

ศรีสุดา ทิพยรักษ์, กอบเกียรติ ไพศาสเจริญ, และ เจิม จาบประโคน. 2555. ผลของอัตราปุ๋ยเคมีและน้ำกากส่าต่อผลผลิตอ้อยและความอุดมสมบูรณ์ของดินร่วนทราย ชุดยโสธร. แก่นเกษตร. 40: 115–129.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2560. รายงานพื้นที่ปลูกอ้อย ปีการผลิต 2559/60. แหล่งข้อมูล: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923–9999.pdf. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561.

สุมิตรา วัฒนา. 2541. การวิเคราะห์สมบัติของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2533. ดินของประเทศไทย. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงทพฯ.

Anusontpornperm S., S. Nortcliff, and I. Kheoruenromne. 2005. Hardpan formation of some coarse–textured upland soils in thailand. In Management of Tropical Sandy Soils from Sustainable Agriculture. November 27–December, 2005, KhonKaen, Thailand.

Christofoletti, C. A., J. P. Escher, J. E. Correia, J. F. Marinho, and C. S. Fontanetti. 2013. Sugarcane vinasse: environmental implications of its use. Waste Manag. 33: 2752–2761.

Espana–Gamboa, E., J. Mijangos–Cortes, L. Barahona–Perez, J. Dominguez–Maldonado, G. Hernandez–Zarate, and L. Alzate–Gaviria. 2011. Vinasses: characterization and treatments. Waste Manag. 29: 1235–1250.

Gallaher, R.N., C.O. Weldon, and F.C. Boswell. 1976. A semiautomated procedure for total N in plant and soil sample. Soil Sci. Soc. Amer. J. 40: 887–889.

Gómez, J., and O. Rodríguez. 2000. Effects of vinasse on sugarcane (Saccharum officinarum) productivity. Revista de la Facultad de Agronomía, Universidad del Zulia. 17: 318–326.

Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Dept. Land Develop., Min. Agri. Coop., Bangkok, Thailand.

Li, Y., Q. Zhu, W. Wang, and S. Sushil. 2007. The effect of a novel system of vinasse application on sugarcane growth and yield in China. Proc. Int. Soc. Sugar Tech. 26.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations. Natural Conservation Service, USDA.

Soobadar, A., and K. F. Rene Ng Kee Kwong. 2012. Impact of high rates of vinasse on some pertinent soil characteristics and on sugarcane yield in mauritius. Journal of Sustainable Agriculture. 36: 36–53.

Yin, J., C.–B. Deng, X.–F. Wang, G.–l. Chen, V. G. Mihucz, G.–P. Xu, and Q.–C. Deng. 2019. Effects of long–term application of vinasse on physicochemical properties, heavy metals content and microbial diversity in sugarcane field soil. Sugar Tech. 21: 62–70.