การผันแปรตามฤดูกาลของความชื้นในดินป่าเต็งรังบนพื้นที่หินทรายและหินภูเขาไฟบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธนานิติ ธิชาญ
สุนทร คำยอง
นิวัติ อนงค์รักษ์
อัมรินทร์ บุญตัน
ปณิดา กาจีนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพความชื้นที่ผันแปรตามฤดูกาลของดินป่าเต็งรังระหว่างพื้นที่หินทรายและหินภูเขาไฟ โดยทำการเก็บตัวอย่างดินตามความลึกในแต่ละพื้นที่ จำนวน 3 หลุม ๆ ละ 3 ซ้ำ เดือนละ 1 ครั้ง (มกราคมถึงธันวาคม 2561) นำดินไปวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ ปริมาณความชื้นและความจุความชื้นสนาม พบว่า พื้นที่หินทรายเป็นดินอันดับอินเซปทิซอลส์ ดินตื้น (40 ซม.) มีกรวดหินมากและเนื้อดินแทรกอยู่ พื้นที่หินภูเขาไฟเป็นดินอันดับออกซิซอลส์ ดินลึกมาก มีเนื้อดินละเอียดแบบดินเหนียวและปริมาณกรวดน้อยมาก สภาพความชื้นในดินพื้นที่หินทรายต่ำกว่าพื้นที่หินภูเขาไฟอย่างชัดเจน ปริมาณความจุน้ำสูงสุดในดินพื้นที่หินทรายและหินภูเขาไฟมีค่า 202.96 และ 790.48 ลบ.ม./ไร่ ตามลำดับ ในช่วงฤดูร้อน (โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์) ดินพื้นที่หินทรายมีความชื้นต่ำมาก (1-3% โดยน้ำหนัก) ขณะที่ดินพื้นที่หินภูเขาไฟมีค่าผันแปรระหว่าง 16-30% สภาพความชื้นที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลทำให้จำนวนชนิดพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรังบนพื้นที่หินทรายน้อยกว่าพื้นที่หินภูเขาไฟ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2556. อุตุนิยมวิทยาน่ารู้เพื่อการเกษตร. แหล่งข้อมูลวิชาการเลขที่ 551.6593-04-2013.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์, สุนทร คำยอง, นิวัติ อนงค์รักษ์, ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์, และสุภาพ ปารมี. 2562. คุณสมบัติทางกายภาพเคมีและการกักเก็บคาร์บอนและธาตุอาหาร ในดินที่เกิดจากหินภูเขาไฟและหินทรายในป่าเต็งรังที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร. 35: 475-486.

Barea, J.M., J. Palenzuela, P. Cornejo, I. Sánchez-Castro, C. Navarro-Fernández, A. Lopéz-García, B. Estrada, R. Azcón, N. Ferrol and C. Azcón-Aguilar. 2011. Ecological and functional roles of mycorrhizas in semi-arid ecosystems of Southeast Spain. Journal of Arid Environments. 75:1292-1301.

Day, P.R. 1965. Particle fraction and particle size analysis. P. 545-566. In: C.A. Black (ed.). Method of Soil Analysis Part 1. America Society of Agronomy, Madison.

Khamyong, S., T. Seeloy-Ounkeaw, N. Anongrak and K. Sri-Ngernyuang. 2014a. Water storages in plant and soils in two community forests of Karen tribe, Northern Thailand. TROPICS. 23:111-125.

Khamyong, S., S. Sumanochitraporn, and N. Anongrak. 2014b. Roles of pine (Pinus kesiya) plantation on water storages in the Doi Tung reforestation Royal Project, Chiang Rai province, Northern Thailand. Thai Journal of Forestry. 33: 75-87.

Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon, and organic matter. P. 961-1010. In: J. M. Bigham. Method of Soil Analysis Part 3. Chemical Methods No. 5., Soil Science Society of America., Madison.

Phongkhamphanh, T., S. Khamyong, and T. Onpraphai. 2015. Variations in plant diversity and carbon storage among subtype communities of a dry dipterocarp forest of Mae Tha Sub-District, Mae On District, Chiang Mai Province. Thai Journal of Forestry. 34: 83-98.

Phongkhamphanh, T., S. Khamyong, N. Anongrak, K. Sri-Ngernyuang, and S. Paramee. 2018. Water storage potential of two different dry dipterocarp forest sites in Northern Thailand. Journal of Tropical Forest Research. 2: 1-18.

Seramethakun, T. 2012. Plant species diversity, soil characteristic and carbon stocks in subtype communities of natural pine. Ph.D. Dissertation. Ching Mai University, Ching Mai.

Smithinand, T., T. Santisuk and C. Phengklai. 1980. The manual of Dipterocarpaceae of mainland Southeast Asia. Thai Forest Bulletin. 12: 1-110.

Soil Survey Division Staff. 1993. Soil Survey Manual United States Division Staff Handbook No. 18. U.S. Government Printing Office, Washington, DC.

Soil Survey Staff. 2014. Key to Soil Taxonomy. 12th Edition. USDA-NRCS, Washington, DC.