การศึกษาประชากรไส้เดือนฝอยศัตรูข้าวและระดับรุนแรงของโรคในพื้นที่ปลูกข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อมรศรี ขุนอินทร์

บทคัดย่อ

ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne sp. เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของข้าวไร่และข้าวนาน้ำฝนมีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคกลาง ซึ่งมีพื้นที่การปลูกข้าวสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาไส้เดือนฝอยในแหล่งพื้นที่ปลูกข้าวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเก็บตัวอย่างรากและดินจำนวนทั้งสิ้น 40 ตัวอย่างมาแยกไส้เดือนฝอยด้วยเทคนิค Christie and Perry และจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยการทำ perineal pattern สามารถจำแนกไส้เดือนฝอยได้เป็น 3 สกุล คือ Meloidogyne sp., Hirschmanniella sp. และ Helicotylenchus sp. ตามลำดับ จากนั้นทดสอบความรุนแรงในการก่อให้เกิดโรคกับข้าวสายพันธุ์สุพรรณบุรี พบว่าไส้เดือนฝอยสกุล Meloidogyne sp. สามารถก่อให้เกิดอาการรากปมได้ในระดับสูง (ระดับ 5) และมีรากปมที่แตกต่างกัน เมื่อทำการตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาและจำแนกสายพันธุ์ พบว่าเป็นไส้เดือนฝอย 2 ชนิด คือ M. graminicola มีการสร้างปมบริเวณปลายรากทำให้ปลายรากม้วนงอ และ M. incognita การสร้างปมบริเวณทุกส่วนของราก จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบถึงสกุลและชนิดของไส้เดือนฝอยที่เข้าทำลายข้าว รวมไปถึงลักษณะอาการที่แตกต่างกัน เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาและหาแนวทางป้องกันได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ดรุณี รัตนประภา, อานนท์ บุญดวง และจรัส ชื่นราม. 2530. ความแตกต่างทางพฤติกรรมของไส้เดือนฝอยรากปมข้าว Meloidogyne graminicola (Golden and Birchfield) และไส้เดือนฝอยรากปม M. incognita (Kafoid and Whitehead) ที่มีต่อข้าว. น. 537-545. ใน: ประชุมวิชาการสาขาพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 25 เรื่อง Boletes of Thailand 3-6 กุมภาพันธ์ 2530. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ลือชัย อารยะสฤษฏ์, สืบศักดิ์ สนธิรัตน์, ประชา ลี้ประเสริฐ และประพาส วีระแพทย์. 2528. ความต้านทานของข้าวบางพันธุ์ต่อไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne graminicola (Gloden and Birchfield). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมชาย สุขะกูล. 2549. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชและการควบคุม. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

สืบศักดิ์ สนธิรัตน, เกษกานดา สิทธิสุข, วัฒนะ นรสิงห์, สุทิน ราชธา และชัลวาล สุวรรณสาร. 2521. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน: เอกสารงานวิจัยฉบับที่ 3. สำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ, ขอนแก่น.

อรุณ จันทนโอ. 2505. รายงานการสำรวจไส้เดือนฝอยศัตรูข้าวและชนิดอื่นบางชนิดในประเทศไทย. ใน: เอกสารทางวิชาการฉบับที่ 1. แผนกกีฏวิทยาและโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ.

Arayarungsarit, L. 1987. Yield ability of rice varieties in fields infested with root-knot nematode. IRRI. 12(5): 14.

Bellafiore, S., C. Jougla, E. Chapuis, G. Besnard, M. Suong, P. N. Vu, D. De Waele, P. Gantet, and X. N. Thi. 2015. Intraspecific variability of the facultative meiotic parthenogenetic root-knot nematode (Meloidogyne graminicola) from rice fields in Vietnam. Comptes Rendus Biologies. 338(7): 471-483.

De Man, J.G. 1884. Die frei in der reinen Erde und im süssen-Wasser lebenden Nematoden der niederländischen fauna. Eine systematische-faunistische Monographie (Vol. 1). EJ Brill, South Holland.

Foreign Agricultural Service. 2019. Report: Situation of World Rice Production and Marketing in 2018/2019. Washington, DC.

Mathur, V.K. and S.K. Prasad. 1972. Role of the rice root nematode, Hirschmanniella oryzae in rice culture. Indian Journal of Nematology. 2(2): 158-160.

Padgham, J. L., J. M. Duxbury, A. M. Mazid, G. S. Abawi, and M. Hossain. 2004. Yield Loss Caused by Meloidogyne graminicola on lowland rainfed rice in bangladesh. Journal of Nematology. 36(1): 42-48.

Ravichandra, N.G. 2010. Methods and Techniques in Plant Nematology. Department of Plant Pathology. University of Agricultural Sciences Bangalore, India.

Ruanpanun, P. and A. Khun-in. 2015. First report of Meloidogyne incognita caused root knot disease of upland rice in Thailand. J. ISSAAS. 21(1): 68-77.

Salalia, R., R. K. Walia, S. V. Somvansh, P. Kumar, and A. Kumar. 2017. Morphological, morphometric, and molecular characterization of intraspecific variations within Indian populations of Meloidogyne graminicola. Journal of nematology. 49(3): 254-267.

Starr, J. L., R. Cook, and J. Bridge. 2002. Resistance to plant-parasitic nematodes: history, current use and future potential. In: J. L. Starr, R. Cook, and J. Bridge. Plant resistance to parasitic nematodes. CABI Publishing, UK.

Swarup, G., and P.K. Koshk. 1965. A review of waked nematology in India. Plant protection committee the South East Asia and Pacific Region. Tech. Doc.