อิทธิพลของสารเสริมหมักกากมันสำปะหลังร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวต่อคุณค่าทางโภชนะ ปริมาณการกินได้ และความสามารถในการย่อยได้ของโคเนื้อ

Main Article Content

ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร
ฐิติมา นรโภค
สุภาพร ดินรบรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการหมักเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมต่อคุณค่าทางโภชนะ ปริมาณการกินได้ และความสามารถในการย่อยได้ของโคเนื้อ ใช้โคเนื้อ 4 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 150±40 กิโลกรัม วางแผนการทดลองแบบ 4x4 Latin square design แบ่งออกเป็น 4 ทรีตเมนต์ ได้แก่ ไม่ได้รับกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว (กลุ่มควบคุม), กากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสัดส่วน 70:30% (CN1), กากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสัดส่วน 60:40% (CN2) และ กากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสัดส่วน 50:50% (CN3) สัตว์ทุกตัวได้รับอาหารข้นมีโปรตีนหยาบ 16 % โดยได้รับอาหารข้นและกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว 1 %BW โดยกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวได้เสริมให้กินร่วมกับอาหารข้นในอัตราส่วนอาหารข้น 0.5 %BW ร่วมกับกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว 0.5 %BW และให้โคเนื้อได้รับฟางกินอย่างเต็มที่ ผลการศึกษาพบว่า โคเนื้อที่ได้รับอาหารทั้ง 4 ทรีตเมนต์ ไม่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง และปริมาณการกินได้ ในขณะที่ความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุแห้ง และอินทรียวัตถุ มีค่าสูงในโคเนื้อที่ได้รับ CN2 และ CN3 ส่วนความสามารถในการย่อยได้ของโปรตีนมีค่าสูงในโคเนื้อที่ได้รับ CN2 อยู่ที่ 37.69 % แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับโคเนื้อที่ได้รับ CN3 นอกจากนี้ปริมาณการกินได้ของอินทรียวัตถุที่ย่อยได้, การย่อยได้ของอินทรียวัตถุในกระเพาะรูเมน และพลังงานใช้ประโยชน์ได้ มีค่าสูงในโคเนื้อที่ได้รับ CN2 และ CN3 การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่ากากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวสามารถช่วยให้ความสามารถในการย่อยได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ CN2 และ CN3 ส่งผลให้การกินได้ของพลังงานโดยได้จากการประมาณค่าสูงที่สุด     

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมปศุสัตว์. 2551. ความต้องการโภชนะของโคเนื้อในประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: http://nutrition.dld.go.th, สืบค้นเมื่อ 22 พ.ย. 2562.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2561. โรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดกาฬสินธุ์. แหล่งข้อมูล: userdb.diw. go.th/factory/46-1-.xls. สืบค้นเมื่อ 4 ต.ค. 2561.

จักรกริช หอมขาว. 2555. การเพิ่มโปรตีนในผลิตภัณฑ์มันสำประหลังโดยใช้จุลินทรีย์ และผลการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังหมักทดแทนอาหารข้นในโคเจาะกระเพาะต่อการหมักย่อยในกระเพาะหมัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

ฐิติมา นรโภค, เมธา วรรณพัฒน์, อนุสรณ์ เชิดทอง, ชูช้าง กาง, กัมปนาจ เภสัชชา และธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร. 2559. การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังหมัก และ กระบวนการหมักในหลอดทดลองด้วยการหมักยูเรียและ กากน้ำตาล. แก่นเกษตร. 44: 405-412.

ฐิติมา นรโภค, ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร, อนุสรณ์ เชิดทอง และนพรัตน์ ผกาเชิด. 2561a. การใช้กากมันสำปะหลังหมักด้วยสารเสริมต่อปริมาณการกินได้และ ความสามารถในการย่อยได้ของโคเนื้อ. แก่นเกษตร. 46: 590-596.

ฐิติมา นรโภค, ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร, อนุสรณ์ เชิดทอง และพีรพจน์ นิติพจน์. 2561b. การใช้ยูเรียร่วมกับกากน้ำตาลหมักกากมันสำปะหลังต่อปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ และค่าชีวเคมีในเลือดของโคเนื้อ. แก่นเกษตร. 46: 25-32.

ณรงค์ นิยมวิทย์. 2538. ธัญชาติและพืชหัว. คณะเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

ถาวร จันทโชติ. 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวจากแป้งข้าวกล้องงอกจากข้าวสังข์หยดเสริมไข่ขาว. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักบริหารโครงการวิจัยในอุดมศึกษา และพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 65 หน้า.

ภัทรภร ทัศพงษ์. 2554. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. แหล่งข้อมูล: http://www.agi.nu.ac.th /science/121113_1.php. สืบค้นเมื่อ 1 ก.ค. 2562.

วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่, ภานุวัฒน์ คัมภีราวัฒน์, และพิชาด เขจรศาสตร์. 2561. การใช้ผลพลอยได้จากโรงงานแป้งมันสำปะหลังเป็นแหล่งพลังงาน และเยื่อใยในสูตรอาหารแกะขุน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 30: 23-31.

ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินทวีโภคภัณฑ์กาฬสินธุ์. 2561. แหล่งข้อมูล: โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว. จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561.

AOAC. 1990. Official methods of analysis 15th ed. Assoc. Off. Anal. Chem., Arlington, VA.

ARC. 1984. Nutrient Requirements of the Ruminants Livestock. Suppl. 1.Commonwealth Agricultural Bureaux, Slough, UK.

Arieli, A., R. Sasson-Rath, S. Zamwel, and S.J. Mabjeesh. 2005. Effect of dietary protein and rumen degradable organic matter on milk production and effciency in heat-stressed goats. Livest. Prod. Sci. 96: 215-223.

Cherdthong, A., M. Wanapat, A. Saenkamsorn, N.Waraphila, W. Khota, D. Rakwongrit, N. Anantasook, and P. Gunun. 2014. Effects of replacing soybean meal with dried rumen digesta on feed intake, digestibility of nutrients, rumen fermentation and nitrogen use efficiency in Thai cattle fed on rice straw. Livest. Sci. 169: 71–77.

Giang, N.T.T., M. Wanapat, K. Phesatcha, and S. Kang. 2016. Level of Leucaena leucocephala silage feeding on intake, rumen fermentation, and nutrient digestibility in dairy steers. Tropical Animal Health and Production. 48: 1057-1064.

Ki, K.S., M.A. Khan, W.S. Lee, H. J. Lee, S.B. Kim, S.H. Yang, K.S. Baek, J.G. Kim, and H.S. Kim. 2009. Effect of replacing corn silage with whole crop rice silage in total mixed ration on intake, milk yield and its composition in Holsteins. Asian- Aust J. Anim. Sci. 22: 516-519.

Moe, P.W., and H.F. Tyrrell. 1972. Net energy value for lactation of high and low protein diets containing corn silage. J. Dairy Sci. 55: 318-325.
Norrapoke T., M. Wanapat, A. Cherdthong, S. Kang, K. Phesatcha, and T. Phongchongmit. 2016. Improvement of cassava pulp nutritive value and in vitro fermentation by urea and molasses treatment. Khon Kaen Agr. J. 44: 405-412.

Norrapoke, T., M. Wanapat, A. Cherdthong, S. Kang, K. Phesatcha, and T. Pongjongmit. 2017. Improvement of nutritive value of cassava pulp and in vitro fermentation and microbial population by urea and molasses supplementation. J. Appl. Anim. Res. DOI:http://dx.doi.org/10.1080/90712119.2017. 1288630.

Robinson, P.H., D.I. Givens, and G. Getachew. 2004. Evaluation of NRC, UC Davis and ADAS approaches to estimate the metabolizable energy values of feeds at maintenance energy intake from equations utilizing chemical assays and in vitro determinations. Anim. Feed Sci. Technol. 114: 75–90.

SAS Institute. Inc. 1996. SAS/STAT User’s Guide: Version 6. 12. 4th ed. SAS Institute Inc., Cary, North Carolina.

Steel, R. G. D., and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics: a biometric approach. 2nd edition. McGraw-hill. New York.

Van Keulen, J.V., and B.A. Young. 1977. Evaluation of Acid Insoluble Ash as a Natural Marker in Ruminant Digestibility Studies. J. Anim. Sci. 44: 282.

Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. J. Dairy Sci. 74: 3583-3597.