การเพิ่มปริมาณโซมาติคเอ็มบริโอและการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ของกาแฟโรบัสต้าพันธุ์พื้นเมือง -
Main Article Content
บทคัดย่อ
กาแฟโรบัสต้าจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย ปัจจุบันมีการนำเทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาช่วยในการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์กาแฟโรบัสต้าผ่านกระบวนการเอ็มบริโอเจนิซิส อย่างไรก็ตามกาแฟโรบัสต้าพันธุ์พื้นเมืองยังคงมีการเพิ่มปริมาณได้น้อย จึงได้ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณและการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ของโซมาติคเอ็มบริโอ โดยศึกษาจำนวนโซมาติคเริ่มต้นและชนิดของออกซิน โดยเพาะเลี้ยงโซมาติคเอ็มบริโอระยะรูปกลมจำนวนเริ่มต้น 10, 20 และ 30 เอ็มบริโอ ในอาหารเหลวสูตร Murashige and Skoog (MS) เติม 6-benzyladenine (BA) ความเข้มข้น 2 มก./ล. ร่วมกับออกซินต่างชนิดกัน ได้แก่ Indole-3-butyric acid (IBA) หรือ 2,4-dichlorophenoxy acetic acid (2,4-D) ความเข้มข้น 0.50 มก./ล. เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า จำนวนโซมาติคเอ็มบริโอเริ่มต้น 30 เอ็มบริโอที่เพาะเลี้ยงใน IBA ส่งเสริมการเพิ่มจำนวนโซมาติคเอ็มบริโอระยะตอร์ปิโดสูงสุด 20.67 เอ็มบริโอ จากนั้นนำโซมาติคเอ็มบริโอในระยะตอร์ปิโดไปเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งหรืออาหารเหลวที่เติม BA ความเข้มข้น 2 มก./ล. ร่วมกับการ ไม่เติมหรือเติม gibberellic acids (GA3) ความเข้มข้น 0.50 มก./ล. พบว่า การเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวร่วมกับการเติม GA3 ความเข้มข้น 0.50 มก./ล. ส่งเสริมการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่สูงสุด โดยให้อัตราการรอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ อัตราการงอก 90 เปอร์เซ็นต์ ความสูงต้น 0.59 ซม. และจำนวนใบเลี้ยง 1.95 ใบ หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการเกษตร. 2557. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
นิตยา สุขวรรณา และสุภาพร ภัสสร. 2559. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและชนิดของอาหารสูตร MS ต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นหนอนตายหยาก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 24: 64-75.
ยุพิน กสินเกษมพงษ์. 2546. การขยายพันธุ์กาแฟ. ใน: เอกสารทางวิชาการการขยายพันธุ์กาแฟโรบัสต้าโดยวิธีเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ. (ยุพิน กสินเกษมพงษ์), หน้า 5-8. ชุมพร: ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 7 กรมวิชาการเกษตร.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2536. สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Ahmed, W., T. Feyissa, and T. Disasa. 2013. Somatic embryogenesis of a coffee (Coffea arabica L.) hybrid using leaf explants. Journal of Horticultural Science & Biotechnology. 88: 469-475.
Carvalho, E.B., and W.R. Curtis. 1999. The effect of inoculum size on the growth of cell and root cultures of Hyoscyamus muticus: implications for reactor inoculation. Biotechnology and Bioprocess Engineering. 4: 287-293.
Chen, A.H., J.L. Yang, Y.D. Niu, C.P. Yang, G.F. Liu, C.Y. Yu, and C.H. Li. 2010. High-frequency somatic embryogenesis from germinated zygotic embryos of Schisandra chinensis and evaluation of the effects of medium strength, sucrose GA3, and BA on somatic embryo development. Plant Cell, Tissue and Organ Culture. 102: 357-364.
Elmeer, K.M.S., and M.J. Hennerty. 2008. Observations on the combined effects of light, NAA and 2,4-D on somatic embryogenesis of cucumber (Cucumis sativus) hybrids. Plant Cell, Tissue and Organ Culture. 95: 381-384.
Gonbad, R.A., U.R. Sinniah, M.A. Aziz, and R. Mohamad. 2014. Influence of cytokinins in combination GA3 on shoot multiplication and elongation of tea clone Iran 100 (Camellia sinensis (L.) O. Kuntze). The Scientific World Journal. 2014: 1-9.
Habas, R.R., M. Turker, and F.A. Ozdemir. 2019. In vitro multiple shoot regeneration from Petunia hybrida. Turkish Journal of Agriculture-Food Science and Technology. 7: 1554-1560.
Santos, M.R.A., C.A. Souza, J.F. Rocha, L.V. Araujo, and M.C. Espindula. 2015. Comparison of economic efficiency between in vitro and field methods for vegetative propagation of Coffea Canephora. Australian Journal of Basic and Applied Sciences. 9: 1-7.
Thanh, N.T., H.N. Murthy, K. Yu, C.S. Jeong, E. Hahn, and K. Paek. 2004. Effect of inoculum size on biomass accumulation and ginsenoside production by large-scale cell suspension cultures of Penax ginseng. Journal of Plant Biotechnology. 6: 265-268.
Wang, G., C. Xu, S. Yan, and B. Xu. 2019. An efficient somatic embryo liquid culture system for potential use in large-scale and synchronic production of Anthurium andraeanum seedlings. Frontiers in Plant Science. 10: 1-9.