ลักษณะและผลกระทบของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลน กรณีศึกษาคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

วัชร์วิมล ประเสริฐวรากุล
กนกพร สว่างแจ้ง
กมลชนก พานิชการ
ธรรมเรศ เชื้อสาวถี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และลักษณะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผลกระทบที่เกิดในพื้นที่ป่าชายเลน กรณีศึกษาดำเนินการที่ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บ่อกุ้งธรรมชาติ บ่อกุ้งกึ่งพัฒนา และบ่อผสม ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลากประเภท เช่น หอยแครง ปูม้า เป็นต้น การศึกษาประกอบด้วยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และเก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 3 ประเภท และดินพื้นที่ป่าชายเลน ผลการศึกษาพบว่าสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว ปูม้า ปูทะเลหรือปูดำ หอยแครง ปลากะพงและปลานวลจันทร์ ระยเวลาที่ผู้ถูกสัมภาษณ์มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 21-40 ปี ขนาดพื้นที่10 ไร่ - 100 ไร่ขึ้นไป กระบวนการเพาะเลี้ยงแตกต่างกันขึ้นกับประเภทบ่อ ของเสียจากกระบวนการประกอบด้วย น้ำ เศษอาหาร และมูลสัตว์ ปล่อยลงสู่ป่าชายเลนโดยตรง ในด้านคุณสมบัติดิน พบว่าดินจากบ่อกุ้งธรรมชาติ และบ่อกุ้งกึ่งพัฒนา มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนและปริมาณอินทรีวัตถุแตกต่างจากดินพื้นที่ป่าชายเลนอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05)  ขณะที่ดินจากบ่อผสมมีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนและปริมาณอินทรีวัตถุมีสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Article Details

How to Cite
ประเสริฐวรากุล ว., สว่างแจ้ง ก. ., พานิชการ ก. ., & เชื้อสาวถี ธ. . (2021). ลักษณะและผลกระทบของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลน กรณีศึกษาคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแก่นเกษตร, 49(5), 1059–1069. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/252440
บท
บทความวิจัย (research article)

References

กนกเรขา สังข์จันทร์. 2554. การเปลี่ยนแปลงของสารอินทรีย์และธาตุอาหารในดินตะกอนป่าชายเลนที่มีแสมขาวเป็นพันธุ์ไม้เด่น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 19:28-39.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/thaisoils_museum/knownlg/series_C.htm. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-07.pdf. ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2563.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลคลองโคน. แหล่งข้อมูล : http://mueang.samutsongkham.doae.go.th/2014/index.php/82-2014-06-20-04-26-14/2014-07-29-14-17-34/523-2561-64. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2562.

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. 2562. ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน. แหล่งข้อมูล:https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/21492. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562.

ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล. 2560. การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. แหล่งข้อมูล: http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=65&Itemid=71&lang=th. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562.

ธัญรัตน์ มะเสน, สุพรรณี ลีโทชวลิต, ปวีณา ตปนียวรวงศ์, สรวิศ เผ่าทองศุข, และมะลิวัลย์ คุตะโค. 2560. จลนพลศาสตร์และการบำบัดแอมโมเนีมของดินตะกอนจากบ่อเลี้ยงกุ้งขาว. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 20(ฉบับพิเศษ) :17-24.

มลิวรรณ บุญเสนอ. 2551. การสะสมสารปฏิชีวนะในดินเค็มของบ่อเลี้ยงกุ้งและการบำบัดด้วยพืช. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. ม.ป.ป. ทรัพยากรป่าชายเลน. แหล่งข้อมูล: http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environment%20gr.3/page11_tem.htm. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562.

วราพร บุญประเสริฐ. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกักเก็บคาร์บอนในดินชายเลน กรณีศึกษา ตำบลคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา. 2555. ผลกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งทะเลต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม. แหล่งข้อมูล: http://www.nicaonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=777:2012-02-27-03-42-30&catid=37:2012-02-20-02-58-06&Itemid=117. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2543. สำรวจการเปลี่ยนแปลงทางประมงทะเล ปี 2543. แหล่งข้อมูล: http://statstd.nso.go.th/definition/projectdetail.aspx?periodId=74&defprodefId=900. ค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562.

Blakemore, L. C., P.L. Searle, and B. K. Daly. 1977. Methods for Chemical Analysis of Soils. Department of Scientific and Industrial Research, Lower Hutt, New Zealand.

Boyd, C. E., and S. Pipoppinyo. 1994. Factors affecting respiration in dry pond bottom soils. Aqauculture. 120: 283–293.

Culley, J. L. B. 1993. Density and compressibility In M.R. Carter (Ed.). Soil Sampling and Methods of Analysis. Lewis Publishers. Boca Raton, FL, U.S.A.

Krejcie, R. V., and D. W. Morgan.1970. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 30: 607–610.

Mehlich, A. 1984. Mehlich 3 soil test extractant: a modification of Mehlich 2 extractant. Communications in Soil Science and Plant Analysis. 15: 1409-1416.

Walkley, A., and I. A. Black. 1934. An examination of the Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science. 37: 29-38.