สถานการณ์และปัญหาการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในเขตอำเภอเมือง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

สาวิภา รัตนกร
บุญถม ทับสมบัติ
จักรินทร์ ตรีอินทอง
พัชรี มงคลวัย
เกษม เชตะวัน

บทคัดย่อ

กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมเลี้ยงในเขตน้ำจืด แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังประสบปัญหาในเรื่องผลผลิตไม่แน่นอน และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพื่อให้มีข้อมูลพื้นฐานในการเลี้ยงและก่อให้เกิดเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างยั่งยืนแก่เกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้ดำเนินการวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์และปัญหาที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในเขตอำเมือง อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำนวน 259 ราย (37.70%) ผลจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มผู้เลี้ยงที่มีการจัดการรูปแบบการเลี้ยง (กึ่งพัฒนา) จำนวน 66 ราย (25.48%) ผลผลิตเฉลี่ย 222.35±60.82 กก./ไร่ และ 2) กลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งแบบดั้งเดิม จำนวน  193  ราย (74.52%) ผลผลิตเฉลี่ย 135.53±22.72 กก./ไร่ ส่วนปัญหาที่พบในการเลี้ยงกุ้งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1) ปัญหาที่พบในระดับสำคัญมาก มีเพียงปัญหาเดียว คือ ปริมาณน้ำใหม่ไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 2) ปัญหาที่พบระดับความสำคัญปานกลาง ได้แก่ กุ้งตายระหว่างขนส่งระยะไกล  ขนาดของลูกกุ้งไม่เท่ากัน กุ้งไม่ลอกคราบ น้ำเน่าเสีย ขาดน้ำระหว่างการเลี้ยง การใช้วัสดุปูน  การขาดออกซิเจนในบ่อเลี้ยง การสะสมของสารอินทรีย์จากอาหารที่เหลือและขี้กุ้ง 3) ปัจจัยที่พบระดับความสำคัญน้อย คือการใช้สารจุลินทรีย์ในการปรับสภาพแวดล้อมให้สมดุล ดังนั้น ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดกาฬสินธุ์ยังขาดการนำรูปแบบวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องคือการจัดการฟาร์มและการจัดการคุณภาพน้ำที่เหมาะสมมาใช้ในฟาร์ม จึงเห็นควรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนและช่วยเหลือต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กีรวิชญ์ เพชรจุล และมณีรัตน์ ศิริสวัสดิ์. 2559. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกุ้งก้ามกรามในบ่อเลี้ยงของเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี-พีซีอาร์. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 44:331-344.

กีรวิชญ์ เพชรจุล, กาญจนา กุลวิฑิต, อนุพงษ์ ทานกระโทก และพนิดา สืบชมพู. 2561. การศึกษาจุลินทรีย์โปรไบโอติกจากบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de Man) ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารแก่นเกษตร. 46:955-964.

กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามบัวบาน 1. 2554. คู่มือการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามกลุ่มก้ามกรามบัวบาน1. กาฬสินธุ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามบัวบาน 1, กาฬสินธุ์.

กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และกองส่งเสริมการประมง โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนืองมาจากพระราชดำริ. (2545). การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม. แหล่งข้อมูล https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/2011-002- 0268/?fbclid=IwAR0BQEGLZ4EW1fGIyCmYVXaTckyta7NwpayEZOB_rncmSgu3L-gvZT97hHQ#p=3. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2564.

จันทิมา เพียรพล. 2562. สถานการณ์กุ้งก้ามกราม ปี 2562 และแนวโน้ม ปี 2563. กลุ่มเศรษฐกิจการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง. แหล่งข้อมูล https://www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2564.

นพคุณ ภักดีณรงค์. 2558. ปัจจัยในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 1:251-260.

เรวัตร์ เหล่าฤทธิ์ และสุภาพร พวงชมพู. 2563. การจัดการการผลิตธุรกิจกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7:17-30.

วิรัช จิ๋วแหยม. 2562. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการคุณภาพน้ำ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วีร์ กี่จนา และฐากร ทิพย์สุนทรศักดิ์. 2554. การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยใช้วัสดุหลบซ่อนจำนวนต่างกัน. เอกสารวิชาการ สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดอ่างทอง, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรมประมง, กรุงเทพฯ.

สาวิภา รัตนกร, เกษม เชตะวัน, บุญถม ทับสมบัติ และจักรินทร์ ตรีอินทอง. 2561. ผลของการเสริมไคโตซานในอาหารเลี้ยงกุ้งก้ามก้าม (Macrobrachium rosenbergii) ที่เลี้ยงในบ่อดิน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 35(ฉบับพิเศษ 2): 989-994.

สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์. สรุปข้อมูลจังหวัดกาฬสินธุ์. แหล่งข้อมูล

http://www.kalasin.go.th/basicInfo/mobile/index.html#p=1. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2564.

สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์. 2561. กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานประมงจังหวัดกาฬสินธุ์, กาฬสินธุ์.

สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ และวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. 2552. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน: บทบาทของจุลินทรีย์และการประยุกต์ใช้. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุรีรัตน์ ถิ่นลออ. 2552. ธุรกิจการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ้านโคกก่อง ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

เสกสรร ดวงมนตรี. 2550. ลักษณะทางกายภาพและเคมีของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อนงค์นาถ โรจนกร วังคำหาญ, สินีนารถ จักรแก้ว และเสาวลักษณ์ อุทานิตย์. 2563. คุณภาพน้ำเสียจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในฟาร์มขนาดเล็กในพื้นที่บ้านตูม ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี. 4:39-44.

อารดา เทพณรงค์. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนเลี้ยงกุ้งก้ามกราม:กรณีศึกษา การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต, กรงเทพฯ.

Boyd, C.E. 1982. Water Quality Management for Ponds Fish Culture. Agricultural Experiment station, Auburn University, Auburn, AL, USA.

Cienfuegos-Martínez, K., M.D.C. Monroy-Dosta, A. Hamdan-Partida, M.P. Hernández-Vergara, D. Becerril-Cortés, and E. López-García. 2020. A review of the use of probiotics in freshwater prawn (Macrobrachium sp.) culture in biofloc systems. Latin American Journal of Aquatic Research. 48:518–528.

Ghosh, A.K., J. Bir, M.A.K. Azad, A.F.M. Hasanuzzaman, M.S. Islam, and K.A. Huq. 2016. Impact of commercial probiotics application on growth and production of giant fresh water prawn (Macrobrachium rosenbergii De Man, 1879). Aquaculture Reports. 4:112–117.

Krejcie, R.V., and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Education Psychology Measurement. 30: 607–610.

Lyman, R., and M.L. Ott. 2010. An Introduction to Statistical Methods and Data Analysis. 6th Edition. Brooks/Cole 10 Davis Drive Belmont, CA, USA.

Rungsin, W., N. Paankhao, and U. Na-Nakorn. 2006. Production of all-male stock by neofemale technology of the Thai strain of freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii. Aquaculture. 259: 88–94.

Sagi, A., Z. Ra’anan, D. Cohen, and Y. Wax. 1986. Production of Macrobrachium rosenbergii in monosex populations: yield characteristics under intensive monoculture conditions in cages. Aquaculture. 51:265–275.