การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยาสูบเตอร์กิชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่เหมาะสมของเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

อภิรักษ์ นพคุณ
ฝากจิต ปาลินทร
ไกรเลิศ ทวีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตและปัญหาในการผลิตยาสูบเตอร์กิช 3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยาสูบเตอร์กิชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่เหมาะสมของเกษตรกร และ 4) เปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยาสูบเตอร์กิชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในจังหวัดร้อยเอ็ดในฤดูการผลิต 2561/2562 ที่มีลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการที่แตกต่างกัน ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 183 ราย ในเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.79 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศชายร้อยละ 58.50 มีอายุเฉลี่ย 53.66 ปี มีขนาดพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 13.63 ไร่ ในปี พ.ศ. 2561       มีรายได้เฉลี่ย 161,480.50 บาท มีรายได้จากการจำหน่ายยาสูบเฉลี่ย 36,110 บาท มีภาระหนี้สินเฉลี่ย 29,797 บาท เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกยาสูบเฉลี่ย 2.70 ไร่ เกษตรกรทุกรายปลูกยาสูบโดยใช้พันธุ์แซมซูน เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยาสูบบนพื้นที่ราบและปลูกยาสูบแบบแถวเดี่ยว เกษตรกรได้รับผลผลิตยาสูบเฉลี่ย 172.02 กก./ไร่ การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยาสูบเตอร์กิชตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่เหมาะสมของเกษตรกรพบว่า ภาพรวมมีการยอมรับเทคโนโลยีในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.16 โดยประเด็นที่เกษตรกรยอมรับในระดับน้อย ได้แก่ 1) การปลูกยาสูบในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2) การพรางแสงก่อนตากแดด 3 – 5 วัน 3) การกองหมักใบยา โดยใช้วัสดุคลุมใบยาให้มิดชิด ตามลำดับ และประเด็นที่เกษตรกรไม่ยอมรับ ได้แก่ 1) การบันทึกผลผลิตและรายได้ 2) การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน 3) การบันทึกการระบาดของโรคและแมลงศัตรู และ 4) การบันทึกปัญหาและอุปสรรคที่พบ ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีพบว่า อายุ พื้นที่ปลูกยาสูบ และผลผลิตยาสูบเตอร์กิชเฉลี่ยต่อไร่ ที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกยาสูบที่มากกว่ามีแนวโน้มจะยอมรับเทคโนโลยีที่สูงกว่าเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกยาสูบที่น้อยกว่า ดังนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรส่งเสริมให้ความรู้แบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ประสบความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. สถานการณ์การปลูกยาสูบ ปี 2559. กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/agronomy/31.Tobacco.pdf. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2561.

กระทรวงพาณิชย์. 2561. ข้อมูลตลาดส่งออกใบยาสูบ 15 อันดับแรกของไทยรายประเทศ. กระทรวงพาณิชย์. แหล่งข้อมูล: http://www.ops3.moc.go.th/infor/MenuComTH/stru1_export/export_topn_re/report.asp. ค้นเมื่อ

พฤศจิกายน 2561.

กองมาตรฐานใบยา. 2559. ชั้นมาตรฐานใบยาเตอร์กิชไทย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายใบยา โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง.

การยาสูบแห่งประเทศไทย. 2561. ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกยาสูบแยกรายจังหวัด. กรุงเทพฯ: ฝ่ายใบยา การยาสูบแห่งประเทศไทย.

จุลลดา พลัง. 2554. การยอมรับของเกษตรกรผู้ผลิตยาสูบในแนวทางเกษตรกรผสมผสานในเขตสถานีใบยาป่าก่อดำ จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. 2527. การส่งเสริมการเกษตร:หลักและวิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญศรี วงค์หาญ. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเพาะกล้ายาสูบของชาวไร่ สถานีใบยาห้วยไซ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เบญจมาศ พันธุ์ดี. 2555. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงตามระบบจัดการคุณภาพเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2527. วิธีการส่งเสริมการเกษตร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้. 2553. คู่มือการเพาะปลูกยาสูบตามแนวทางเกษตรดีที่และเหมาะสม. เชียงใหม่: สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้

ฝ่ายใบยา โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง.

สถานีใบยาไทรงาม 2. 2561. ทะเบียนชาวไร่เพาะปลูกปลูกยาสูบเตอร์กิช ฤดู 2561/2562. ร้อยเอ็ด: สถานีใบยาไทรงาม 2.

สำนักงานยาสูบบ้านไผ่. 2561. รายงานสรุปผลการรับซื้อใบยาแห้งเตอร์กิช ฤดู 2560/2561. ในงานประชุมผลการรับซื้อใบยาแห้ง

เตอร์กิช. น. 1-4. สำนักงานยาสูบบ้านไผ่, ขอนแก่น.

Conbach, L.J. 1970. Essentials of psychological testing. 3rd ed., New York: Harper&Row Publisher. อ้างถึงในสำเริง จันทรสุวรรณ และ สุวรรณ บัวทวน. 2537. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Yamane, T. 1973. Statistics an Introduction Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row.