พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรผู้ผลิตมะเขือเทศผลสดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศผลสดในภาคตะตันออกเฉียงเหนือ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร 5 จังหวัด ได้แก่ นครพนม สกลนคร หนองคาย บึงกาฬ และนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 240 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows โดยใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบพฤติกรรม ใช้สถิต t-test และ F-test พบว่า เกษตรกรผู้ผลิตมะเขือเทศผลสดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 61.7 อายุเฉลี่ย 52.51 ปี และมีรายได้จากการผลิตมะเขือเทศผลสดเฉลี่ยครัวเรือนละ 70,169.49 บาทต่อปี มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศเฉลี่ย 2.74 ไร่ พันธุ์มะเขือเทศที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด ได้แก่ ตองหนึ่ง ลูกหล้าคำแพง และเทพประทาน ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านค้าเกษตร (ร้อยละ 82.5) ผลผลิตเฉลี่ย 3,876.33 กิโลกรัม/ไร่ ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ การขายส่งให้พ่อค้าคนกลางทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงการส่งโรงงานอุตสาหกรรม ปัญหาในการผลิตมะเขือเทศของเกษตรกร ที่สำคัญ ได้แก่ ต้นการผลิตทุนสูง แรงงานไม่เพียงพอ ราคาขายไม่แน่นอน อีกทั้งถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง จากนี้ยังพบปัญหา โรคและแมลงรบกวน เช่น โรคเหี่ยวเหลือง โรครากเน่าโคนเน่า การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศผลสด พบว่า เกษตรกรปฏิบัติทุกครั้งในเกือบทุกประเด็น และเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรจำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การปลูกมะเขือเทศ ขนาดพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ รายได้จากมะเขือเทศ และเขตพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001, 0.01 และ 0.05 ในหลายประเด็น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองโรงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. 2556. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563.
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. 2559. ผลการเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ ประจำปี 2559. แหล่งข้อมูล: https://www.thaipan.org/. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563.
ณัฐธญา วิลัยวรรณ. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. น.393-400. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน 17 มิถุนายน 2559. วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. 2532. วิธีทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. เจริญผลการพิมพ์. กรุงเทพฯ.
เพ็ญศรี เบ้าทอง. 2555. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวิถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2556. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2555. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/ard/?page_id=386. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2561. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร พ.ศ. 2560. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/ard/?page_id=386. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมีและวัตถุอันตรายทางการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95/TH-TH. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563.
วรรณรีย์ คนขยัน. 2551. คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร(มะเขือเทศ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.
วรารัตน์ ปราสาทหินพิมาย, ประภัสสร เกียรติสุรนนท์ และชัยชาญ วงศ์สามัญ. 2561. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการปลูกพริกของเกษตรกร อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 6 -7 กันยายน 2561. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วิบูลย์ ไชยวรรณ. 2544. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2562. สารเคมีในผักผลไม้ไทย อันตรายที่มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. แหล่งข้อมูล: http://www.thaihealthconsumer.org/news/vegetable_fruit_chemical/. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563.
World Health Organization. 2018. Poisoning Prevention and Management. Available: https://www.who.int/ipcs/poisons/en/. Accessed Nov. 25, 2020.