การเปลี่ยนแปลงสมบัติดินบางประการในช่วงระยะปรับเปลี่ยนสู่ระบบเกษตรอินทรีย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปรับเปลี่ยนจากระบบเกษตรทั่วไปสู่เกษตรอินทรีย์ต้องใช้ระยะปรับเปลี่ยน 12-36 เดือน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดจากการตกค้างของสารพิษและปุ๋ยเคมีในดินซึ่งจะส่งผลต่อมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของสมบัติดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีในช่วงระยะปรับเปลี่ยน (12 เดือน) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดระยะการปรับเปลี่ยน โดยทำการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2559-2560 ทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างดินจากแปลงที่มีการปลูกพืชและวิธีการจัดการปุ๋ยเคมีที่แตกต่างกัน ได้แก่ พืชผัก พืชไร่ และไม้ผล ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินที่ 2 ระดับความลึก คือ ดินบนและดินล่าง ได้แก่ 0-20 และ 40-60 ซม. ในแปลงพืชผัก 2 แปลง และแปลงพืชไร่ 2 แปลง ในขณะที่แปลงไม้ผล 1 แปลงเก็บที่บริเวณขอบทรงพุ่ม ความลึก 0-20 และ 80-100 ซม. นำตัวอย่างดินที่ได้ไปวิเคราะห์สมบัติทางเคมีบางประการ และปริมาณธาตุอาหารพืช ผลการวิเคราะห์พบว่า ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในช่วงระยะเวลา 12 เดือน ในขณะที่ปริมาณธาตุอาหารพืช (Total N, P, K, Ca, Mg Mn, Fe, Zn และCu) ลดลง และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยปริมาณการลดลงของธาตุต่างๆเหล่านั้นแสดงความสัมพันธ์อย่างสูงกับ ความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน และปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว (%Clay) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมบัติดินดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลดลงของปริมาณธาตุต่างๆ ในช่วงระยะการปรับเปลี่ยน และควรนำมาใช้ประกอบการพิจารณาการกำหนดระยะปรับเปลี่ยนให้มีความถูกต้องและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอุตุนิยมวิทยา. 2555. ความรู้อุตุนิยมวิทยา. แหล่งข้อมูล: http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=22. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2555.
นงลักษณ์ ปูระณะพงษ์ และวีณา นิลวงศ์. 2557. การปลดปล่อยธาตุอาหารพืชในดินที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ. รายงานผลการวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ม.แม่โจ้.
พัชรี ธีรจินดาขจร. 2550. การวิเคราะห์ดินทางเคมี. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.). 2555. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic standard). สํานักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) จ.นนทบุรี.
วีณา นิลวงศ์. 2556. ศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทย ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม. รายงานผลการวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ม.แม่โจ้.
วีณา นิลวงศ์. 2557. ศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทย ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม. รายงานผลการวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ม.แม่ โจ้.
Baldock, J.A., and J.O. Skjemstad. 2000. Role of the soil matrix and minerals in protecting natural organic materials against biological attack. Organic Geochemistry. 31: 697-710.
Barrow, N.J. 1974. A mechanistic model for describing the sorption and desorption of phosphate by soil. Journal Soil Science. 34: 733-750.
Curtin, D., C.A. Campbell, and A. Jalil. 1998. Effects of acidity on mineralization: pH-dependence of organic matter mineralization in weakly acidic soils. Soil Biology Biochemistry. 30: 57-64.
Czarnecki, S. and R.A. Duering. 2015. Influence of long-term mineral fertilization on metal contents and properties of soil samples taken from different location in Hesse, Germany. Soil. 1: 23-33.
Gerke, J. 1992. Orthophosphate and organic phosphate in the soil solution of four sandy soils in relation to pH. Evidence for humic-Fe(Al)-phosphate complexes. Communication in Soil Science and Plant Analysis. 23: 601-612.
Hussain, M. Z., G.P. Robertson, B. Basso, and S. K. Hamilton. 2020. Leaching losses of dissolved organic carbon and nitrogen from agricultural soils in the upper US Midwest. Science of the Total Environment. 734: 1-10.
Lindsay, W.L., and A.P. Schwab. 1982. The chemistry of iron in soils and its availability to plants. Journal of Plant Nutrition. 5: 821-840.
LI, y., G. Feng, H. Tewolde, M. Yang, and F. Zhang. 2020. Soil, biochar, and nitrogen loss to runoff from loess soil amended with biochar under simulated rainfall. Journal of Hydrology. 591: 1-10.
Nilawonk, W., T. Attanandana, A. Phonpherm, X Shuai, and Y. Russell, 2007. Potassium release in representative maize-producing soils of Thailand. Soil Science Society of America Journal. 72: 791-797.
Nilawonk, W., T. Attanandana, and Y. Russell, 2010. Determining plant- available potassium in representative maize soils of Thailand. ASA, CSSA, and SSSA 2010 International annual meeting, Oct.31- Nov.4, Long Beach, CA.
Ramos, M. C., I. Lizaga, L. Gaspar, L. Quijano, and A. Navas. 2019. Effects of rainfall intensity and slope on sediment, nitrogen, and phosphorous losses in soils with different use and soil hydrological properties. Agricultural Water Management. 226: 1-11.
Sanchez, C.A. 2007. Phosphorus. In: Handbook of Plant Nutrition, ed. A.V. Barker, D. J. Pillbeam, pp. 51-90. Boca Raton, FL: CRC Press.
Weaver, D.M., G.S.P. Ritchie, G.C. Anderson, and D.M. Deeley. 1988. Phosphorus leaching in sandy soils. Short-term effects of fertilizer applications and environmental conditions. Australian journal of soil research. 26: 177-190.