การจัดการธาตุอาหารในวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตของผักสลัดเรดโอ๊คภายใต้ระบบโรงเรือนอัจฉริยะ

Main Article Content

อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์
ณิรชา ขำทรง
พฤกษ์ ชุติมานุกูล
เอกราช รัตนอุดมพิสุทธิ์
อัมพร โพธิ์ใย

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการผลิตผักสลัดเรดโอ๊คในวัสดุปลูก (แกลบดิบ:แกลบเผา:ขุยมะพร้าว:มูลโค:ดิน = 1:1:1:1:0.25 โดยปริมาตร) ภายใต้ระบบโรงเรือนอัจฉริยะที่ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ย 30±3 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 10 ซ้ำ ประกอบด้วย 11 สิ่งทดลอง ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) ใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 20.90 กิโลกรัม N ต่อไร่ และใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ปุ๋ยอินทรีย์ผง และปุ๋ยมูลโค อย่างละอัตรา 10.90, 20.90 และ 30.90 กิโลกรัม N ต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ยทุกชนิดเพียงครั้งเดียวและเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นจำนวน 3 รอบการเก็บเกี่ยว ผลการทดลองพบว่า ในการเก็บเกี่ยวรอบที่ 1 การใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 20.90 กิโลกรัม N ต่อไร่ ทำให้ผักสลัดเรดโอ๊คมีน้ำหนักสดต้นมากที่สุด คือ 61.48 กรัมต่อต้น แต่พบว่า ในการเก็บเกี่ยวรอบที่ 2 และ 3 การใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ผักสลัดเรดโอ๊คมีน้ำหนักสดต้นน้อยที่สุดและไม่แตกต่างกับการไม่ใส่ปุ๋ยชนิดใด ในขณะที่การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดอัตรา 30.90 กิโลกรัม N ต่อไร่ ที่แม้ว่าทำให้ผักสลัดเรดโอ๊คมีน้ำหนักสดต้นในการเก็บเกี่ยวรอบที่ 1 (36.95 กรัมต่อต้น) มีค่าน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 20.90 กิโลกรัม N ต่อไร่ แต่พบว่าในการเก็บเกี่ยวรอบที่ 2 และ 3 ยังคงทำให้ผักสลัดเรดโอ๊คมีน้ำหนักสดต้นที่สม่ำเสมอและมีค่ามากที่สุด คือ 35.35 และ 35.76 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดอัตรา 30.90 กิโลกรัม N ต่อไร่ ถือเป็นอัตราที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเรดโอ๊คภายใต้ระบบโรงเรือนอัจฉริยะซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยจาก 3 รอบการเก็บเกี่ยวสูงที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการเกษตร. 2548. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักงานเลขานุการกรม, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กัณฐิกา ยังมณี, ภัทรารัตน์ เทียมเก่า และอรพิน หนูทอง. 2562. การใช้เถ้าบอยเลอร์และกากตะกอนปาล์มร่วมกับมูลสัตว์ในการผลิตปุ๋ยหมัก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 37(4): 604-611.

ขจรยศ ศิรินิล และอรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์. 2563. การพัฒนาวัสดุดินผสมเพื่อการเพาะปลูกผักสลัดกรีนโอ๊ค. แก่นเกษตร. 48(5): 990-1001.

คงเอก ศิริงาม, ปราณีต จิระสุทัศน์ และวิภาภรณ์ แสวงมี. 2558. ผลของวิธีการปลูกต่อการเจริญเติบโตและปริมาณรงควัตถุของผักกาดหอมใบพันธุ์กรีนโอ๊ค. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(1): 82-95.

จริญญา ฤทธิรัมย์. 2563. อิทธิพลของแสงและอุณหภูมิต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหอมในโรงงานผลิตพืชด้วยแสงเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาพืชศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

ปนัดดา จะแจ้ง, โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน, ชัยสิทธิ์ ทองจู และวนิดา สืบสายพรหม. 2563. ประสิทธิภาพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลนกแอ่นกินรังโดยไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eudrilus eugeniae. แก่นเกษตร. 48(3): 471-482.

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน และศรมน สุทิน. 2559. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 5(1): 22-30.

มนูญ ศิรินุพงศ์. 2544. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสู่การปฏิบัติในประเทศไทย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศิราณี วงศ์กระจ่าง และบัญชา รัตนีทู. 2561. ผลของการใช้ดินผสมจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น จ.นราธิวาส ต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค. แก่นเกษตร. 46(ฉบับพิเศษ 1): 1156-1160.

สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2538. แร่ธาตุอาหารพืชสวน. โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท, ขอนแก่น.

สุมิตรา สุปินราช และอิศร์ สุปินราช. 2561. ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของผักกาดหอมกระถาง. วิทยาศาสตร์เกษตร. 49(1): 47-52.

สุนทร เรืองเกษม. 2540. ผักกินใบ. พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

อรประภา อนุกูลประเสริฐ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม. Thai Journal of Science and Technology. 4(1): 81-94.

อภิชาติ หมั่นวิชา, ไพโรจน์ ศิลมั่น และสมปอง สรวมศิริ. 2562. ผลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ต่อผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. แก่นเกษตร. 47: 701-706.

อานัฐ ตันโช. 2555. โครงการต้นแบบการปลูกพืชอินทรีย์ในพื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มูลนิธิโครงการ หลวง, เชียงใหม่.

Aydin, M., N. Saglam, N. Gebologlu, S. Sahin, E. Yilmaz, H. Yucel, and M.R. Karaman. 2013. The role of shading on growth, yield and biochemical composition of crisp lettuce in soilless culture. Soil-Water Journal. 2: 1449-1454.

Barbosa, G.L., F.D. Gadelha, N. Kublik, A. Proctor, L. Reichelm, E. Weissinger, G.M. Wohlleb, and R.U. Halden. 2015. Comparison of land, water, and energy requirements of lettuce grown using hydroponic vs. conventional agricultural methods. International Journal of Environmental Research and Public Health. 12(6): 6879-6891.

Hasan, A.E., K.M. Bhiah, and M.T.H. Al-Zurfy. 2014. The impact of peat moss and sheep manure compost extracts on marigold (Calendula officinalis L.) growth and flowering. Journal of Organic Systems. 9(2): 56-62.

Hoque, M.M., H. Ajwa, M. Othman, R. Smith, and M. Cahn. 2010. Yield and postharvest quality of lettuce in response to nitrogen, phosphorus, and potassium fertilizers. Horticulture Science. 45(10): 1539-1544.

Knott, J.E. 1950. Vegetable Growing. Lea & Febiger, Philadelphia, Pennsylvania, USA.

Li, Y., N. He, J. Hou, L. Xu, C. Liu, J. Zhang, Q. Wang, X. Zhang, and X. Wu. 2018. Factors influencing leaf chlorophyll content in natural forests at the biome scale. Frontier in Ecology and Evolution. 6: 64.

Llorach, R., A. Martinez-Sanchez, F.A. Tomas-Barberan, M.I. Gil, and F. Ferreres. 2008. Characterization of polyphenols and antioxidant properties of five lettuce varieties and escarole. Food Chemistry. 108(3): 1028-1038.

Nagata, M., and I. Yamashita. 1992. Simple method for simultaneous determination of chlorophyll and carotenoids in tomato fruit. Journal of the Japanese Society for Food Science and Technology. 39: 925–928.

Paudel, K.P., S. Sukprakarn, K. Sidathani, and Y. Osotsapar. 2004. Effects of organic manures on production of lettuce (Lactuca sativa L.) in reference to chemical fertilizer. Kasetsart Journal (Natural Science). 38: 31 - 37.

Rubatzky, V., and M. Yamaguchi. 1997. World vegetables: Principles, production, and nutritive value. 2nd Edition. Chapman & Hall, New York, USA.

Slamet, W., E.D. Purbajanti, A. Darmawati, and E. Fuskhah. 2017. Leaf area index, chlorophyll, photosynthesis rate of lettuce (Lactuca sativa L) under N-organic fertilizer. Indian Journal of Agricultural Research. 51(4): 365-369.

Sutuliene, R., K. Laužike, T. Pukas, and G. Samuoliene. 2022. Effect of light intensity on the growth and antioxidant activity of sweet basil and lettuce. Plants. 11: 1709.

Ye, S., B. Peng, and T. Liu. 2022. Effects of organic fertilizers on growth characteristics and fruit quality in Pear-jujube in the Loess Plateau. Scientific Reports. 12: 13372.