การประยุกต์ใช้แถบอินดิเคเตอร์บ่งชี้ความสดเพื่อติดตามการเสื่อมสภาพของผักกาดหอม ตัดแต่งพร้อมบริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้อินดิเคเตอร์บ่งชี้ความสดเพื่อติดตามการเสื่อมสภาพของผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดตัดแต่งพร้อมบริโภค โดยทดสอบอินดิเคเตอร์กับบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดตัดแต่งพร้อมบริโภค และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4±1oC พบว่า แถบอินดิเคเตอร์มีสีเริ่มต้นคือสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดเกิดการเสื่อมสภาพในวันที่ 7 ของการเก็บรักษา โดยสอดคล้องกับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา โดยในวันที่ 7 มีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 1.34±0.11% ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด (Total aerobic bacteria) ของผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดตัดแต่งพร้อมบริโภคมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา โดยตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ Total aerobic bacteria ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และยังสอดคล้องกับเกณฑ์คุณภาพโดยรวมที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับซึ่งมีค่าต่ำกว่า 5 ในวันที่ 7 ของการเก็บรักษา การใช้แถบอินดิเคเตอร์บ่งชี้ความสดจะช่วยบ่งบอกคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดตัดแต่งพร้อมบริโภค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2560. เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร. แหล่งข้อมูล: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/wp-content/uploads/2017/Publish/e-book/dmsc-micro3.pdf. ค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567.
ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2548. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 236.
นิรมล สันติภาพวิวัฒนา และเนตรา สมบูรณ์แก้ว. 2548. สับปะรดตัดแต่งพร้อมบริโภค. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้รับทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
วรภัทร ลัคนทินวงศ์ และอรรถวุทธิ์ รื่นเริงใจ. 2549. การพัฒนาแถบสีบ่งชี้อายุการเก็บรักษาผักผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภคในเชิงพาณิชย์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2547. Food spoilage Indicators / ตัวบ่งชี้การเน่าเสียของอาหาร. แหล่งข้อมูล: https://www.foodnetworksolution.com. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566.
สิริลักษณ์ แสวงผล. 2554. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงคุณภาพกับอัตราการหายใจของผักสลัดตัดแต่งพร้อมบริโภคภายใต้สภาวะการเก็บรักษาด้วยบรรจุภัณฑ์ปรับแต่งบรรยากาศ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา. 90.
Ahvenainen, R. 1996. New approaches in improving the shelf life of minimally processed fruits and vegetables. Trends in Food Science and Technology. 7: 179-187.
Beuchat, L. R. 1996. Pathogenic organisms associated with fresh produce. Journal of Food Protection. 59(2): 204-216.
Chen, H. Z., M. Zhang, B. Bhandari, and Z. Guo. 2018. Applicability of a colorimetric indicator label for monitoring freshness of fresh-cut green bell pepper. Postharvest Biology and Technology. 140: 85-92.
Cuggino, S. G., G. P. Izquierdo, I. B. Villegas, Theumer, and F. P. Rodriguez. 2023. Effects of chlorine and peroxyacetic acid wash treatments on growth kinetics of Salmonella in fresh-cut lettuce. Food Research International, 167: 112451.
Francis, G. A., and D. O’Beirne. 2002. Effects of vegetable type and antimicrobial dipping on survival and growth of Listeria innocua and E. coli. International Journal of Food Science and Technology. 37(6): 711-718.
Kader, A. A. 1992. Postharvest Technology of Horticulture Crops. Second Edition. University of California, Division of Agriculture and Natural Resources. Oakland. 296.
Kuete, V. 2017. Medicinal Spices and Vegetables from Africa: Therapeutic Potential Against Metabolic,
Inflammatory, Infectious and Systemic Diseases. 1st edition. Africa: Academic Press.
Kuswandi, B., C. Maryska, Jayus, A. Aminah, and L. Y. Heng. 2013. Real time on-package freshness indicator for guavas packaging. Food Measure. 7: 29-39.
Lamikanra, O. 2002. Fresh-Cut Fruits and Vegetables. Science, Technology and Market. CRC Press, NY.
Nopwinyuwonga, A., S. Trevanichb, and P. Suppakula. 2010. Development of a novel colorimetric indicator label for monitoring freshness of intermediate-moisture dessert spoilage. Talanta. 81: 1126-1132.
Peleg, K. 1985. Produce Handing, Packaging and Distribution. AVI Pulb. Co. Inc., Westport. Conn. 625.
Watada, A.E., and L. Qi. 1999. Quality of fresh-cut produce. Postharvest Biology and Technology. 15: 201-205.