การศึกษาคุณค่าทางโภชนะ การตรวจสอบและการลดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างด้วยการหมักร่วมกับจุลินทรีย์ ของเศษผักที่มีศักยภาพเป็นอาหารสัตว์

Main Article Content

ปณัท สุขสร้อย
เจนจิรา นามี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณ คุณค่าทางโภชนะ และตรวจสอบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง รวมถึงศึกษาวิธีการลดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างของเศษผักในตลาดพืชผักผลไม้ศาลาลำดวน จังหวัดสระแก้ว โดยการสำรวจชนิดและปริมาณของเศษผักที่มีศักยภาพเป็นอาหารอาหารสัตว์ 5 ชนิด เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ และตรวจสอบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง จากนั้นเลือกเศษผักที่มีปริมาณ และคุณค่าทางโภชนะที่มีศักยภาพเป็นอาหารสัตว์มากที่สุด 1 ชนิด มาลดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างด้วยการหมักร่วมกับจุลินทรีย์ ผลการศึกษาพบว่าเศษกะหล่ำปลี เศษกะหล่ำดอก เศษผักกาดขาว เศษผักกาดหอม และเศษข้าวโพดฝักอ่อน มีปริมาณมากเพียงพอต่อการนำมาเป็นอาหารอาหารสัตว์ และมีผลผลิตตลอดทั้งปี สามารถใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบของสัตว์เคี้ยวเอื้องได้ เนื่องจากมีปริมาณเยื่อใยที่เหมาะสม ส่วนเศษกะหล่ำปลี เศษผักกาดขาว และเศษผักกาดหอม มีปริมาณโปรตีนหยาบเฉลี่ยเท่ากับ 12.66%, 14.07% และ 14.59% ตามลำดับ โดยเศษกะหล่ำปลีมีศักยภาพเป็นอาหารสัตว์มากที่สุด โดยพิจารณาจากปริมาณ และคุณค่าทางโภชนะ แต่จากการตรวจสอบสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตด้วยชุดทดสอบ GT-Pesticide Test ในเศษกะหล่ำปลีพบว่ามีระดับที่ไม่ปลอดภัย 20% การหมักกับเชื้อ Pseudomonas sp. TISTR NO. 554 ร่วมกับยีสต์ 4% และกากน้ำตาล 4% เป็นระยะเวลา 15 วัน พบว่าสามารถช่วยลดปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเศษกะหล่ำปลีได้มากกว่าวิธีอื่น โดยพบในระดับที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น 60.00% ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเศษกะหล่ำปลีศักยภาพเป็นอาหารสัตว์มากที่สุด โดยสามารถลดปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างได้โดยการหมักกับเชื้อ Pseudomonas sp. TISTR NO. 554 ร่วมกับยีสต์ 4% และกากน้ำตาล 4%

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2567. แผนที่นำทางการกำจัดขยะอาหาร (พ.ศ. 2566-2573). แหล่งข้อมูล: https://buriram.mnre.go.th/th/news/detail/174663. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567.

กรมปศุสัตว์. 2538. เทคนิคการให้อาหารโคนม. แหล่งข้อมูล: https://pvlo-cmi.dld.go.th/webnew/images/doc/ create_%20awareness/2562/012/01.pdf. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566.

กรมปศุสัตว์. 2566. ข้อมูลสถิติ นำเข้า-ส่งออกอาหารสัตว์. แหล่งข้อมูล: http://eservice.afvc.dld.go.th/dld-streaming/access.do?p=document%2FdocLocation_20230217_095751_1676602671537.pdf&m=img. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2566. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหาร. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/o0VgM. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566.

กอบทอง ธูปหอม. 2540. ชุดตรวจสอบยาฆ่าแมลง/สารพิษตกค้าง. ใน : เอกสารประกอบการฝึกอบรมผลงานประดิษฐ์คิดค้นประเภททั่วไป. สำนักงานวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

กอบทอง ธูปหอม. 2541. คู่มือชุดตรวจหายาฆ่าแมลงจีที. กองอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ.

กัมปนาจ เภสัชชา. 2561. คู่มือองค์ความรู้การเพิ่มผลผลิตโคเนื้อโดยใช้แหล่งอาหารในท้องถิ่น. แหล่งข้อมูล: http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/265e3d83e3608037e1866129cfa9ae79.pdf. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566.

ฐปน ชื่นบาล, ศรีกาญจนา คล้ายเรือง และจุไรรัตน์ อิมินา. 2558. การย่อยสลายสารไกลโฟเซตทางชีวภาพโดยแบคทีเรียแยกจากดินเกษตร. วารสารนเรศวรพะเยา. 8(1): 15-20.

บัณฑิต ต้วมศรี และสุรศักดิ์ เสาแก้ว. 2561. ผลของการแก้ไขปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสดในโรงพยาบาล. วารสารเภสัชกรรมไทย. 11(3): 575-585.

ฟ้าไพลิน เกียรติ์ชัยภา, ดุสิต อธินุวัฒน์ และวิลาวรรณ์ เชื้อบุญ. 2563. คัดเลือกและจำแนกแบคทเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสารเคมีไซเพอร์เมทรินที่ตกค้างในดินทางการเกษตร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38(4): 489-493.

มรกต เหล็กดี, ปติญญา จ้อยร่อย, ศิรวัจน์ ปิณฑะดิษ, ภูมพงศ์ บุญแสน และ สุริยะ สะวานนท์. 2560. ผลของระดับโปรตีนและปริมาณอาหารข้นที่ได้รับแตกต่างกันต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของโคนมเพศผู้ตอนระยะรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 48 (พิเศษ): 116-123.

วิโรจน์ ภัทรจินดา. 2559. TMR ยุคใหม่โคนมไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ศุจิมน มังคลรังสี, สุวพิชญ์ เตชะสาน, วีรยา สินธุกานนท์, จิดาภา รัตนถาวร, ธัญณ์สิริ วิทยาคม, ภูษณิศา กิจกาญจนกุล, ณกัณฐพันธ์ ประมาพันธ์ และเดชาธร สมใจ. 2565. ความชุกของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟตและคาร์บาเมตตกค้างในผักที่จำหน่ายในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 8(4): 129-140.

สุพัตรา ชุมผาง. 2553. การใช้เศษผักเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

สุรชัย สังข์งาม, กัมปนาท ศักรางกูล, ลัดดาพร ครองนุช, กัญจนพร ยุวเศวต, อรัญญา ชนะดี และคณิต หนูพลอย. 2563. การปนเปื้อนสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟสและคาร์บาเมต และวิธีการล้างผักสดในตลาด จังหวัดสุราษฎร์ธานี: กรณีศึกษาตลาดสดโพหวาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2(1): 1-8.

อภิเชษฐ หมื่นอร่าม, วิเชียร ลีลาวัชรมาศ และประมุข ภระกูลสุขสถิต. 2554. ผลของกากน้ำตาลและกากเซลล์ยีสต์ที่ความเข้มข้นต่างๆ ต่อการผลิตแบคทีเรียกรดแลกติก. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพฯ. หน้า 148-155.

Akbar, N., A. Aleem, and A. Malik. 2003. Determination of organochlorine pesticides in agricultural soil with special reference to c-HCH degradation by Pseudomonas strains. Bioresource Technology. 88: 41-46.

AOAC. 1998. Official Method of Analysis of the Association of Official Analytical Chemists. AOAC International, Arlington.

Bakshi, M., and M. Wadhwa. 2012. Nutritional evaluation of baby corn husk-A new feed resource for livestock. Indian Journal of Animal Sciences. 82(12): 1548-1550.

Boonsorn, S., P. Chiemsombat, C. Chamswarng, and S. Wasee. 2016. Chili shoot rot caused by Choanephora cucurbitarum and screening of Thai native chili for disease resistance. Agricultural Science Journal. 47(1): 19-28.

Briceño, G., H. Schalchli, A. Mutis, C.S. Benimeli, G. Palma, G.R. Tortella, and M.C. Diez. 2016. Use of pure and mixed culture of diazinon-degrading Streptomyces to remove other organophosphorus pesticides. International Biodeterioration and Biodegradation. 114: 193-201.

Bureenok, S., T. Namihira, Y. Kawamoto, and T. Nakada. 2005. Additive effects of fermented juice of epiphytic lactic

acid bacteria on the fermentative quality of guineagrass (Panicummaximum Jacq.) silage. Grassland Science. 1: 243-248.

Goering, H. K., and P. J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analysis (Apparatus Reagents, Procedures and Some Applications). Agriculture Handbook. United States Department of Agriculture, Washington DC.

Huang, Y., L. Xiao, F. Li, M. Xiao, D. Lin, X. Long, and Z. Wu. 2018. Microbial degradation of pesticide residues and an emphasis on the degradation of cypermethrin and 3-phenoxy benzoic acid: A review. Molecules. 23(9): 1-23.

Klančnik, A., S. Piskernik, B. Jeršek, and S. Možina. 2010. Evaluation of diffusion and dilution methods to determine the antibacterial activity of plant extracts. Journal of Microbiological Methods. 81: 121-6.

Matsumura, F. 1975. Toxicology of insecticides. Plenum Press, New York.

NRC. 2001. Nutrient Requirements of Dairy Cattle. National Academy Press, Washington D.C., United States.

Osman, M., I. T. Kadim, Y. Eltahir, S. Al-Lawatia, and A. M. Al-Ismaili. 2018. Nutritional value of vegetable wastes as livestock feed. Sultan Qaboos University Journal for Science. 23(2): 78-84.

Ravi, R. K., B. Pathak, and M. H. Fulekar. 2015. Bioremediation of persistent pesticides in rice field soil environment using surface soil treatment reactor. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 4(2): 359-369.

Ruangwut, C., and P. Kontong. 2011. Pesticide residues in fresh vegetable from markets in Ubonratchathani province. Rajabhat Agriculture Journal. 20: 22-31.

Singh, B. K., and A. Walker. 2006. Microbial degradation of organophosphorus compounds. FEMS Microbiology Reviews. 30(3): 428-471.

Sukirtha, T., and M. Usharani. 2013. Production and qualitative analysis of biosurfactant and biodegradation of the organophosphate by Nocardia mediterranie. Journal of Bioremediation and Biodegradation. 4(6):198-205.

Thoophom, G. 2007. Organophosphorous/Carbamate/Cholinesterase inhibitors. Handbook GT-Pesticide Test Kit publisher unknown, Bangkok.

Wadhwa, M., S. Kaushal, and M.P.S. Bakshi. 2006. Nutritive evaluation of vegetable wastes as complete feed for goat bucks. Small Ruminant Research. 64: 279-284.