ประสิทธิภาพการย่อยมันพื้นบ้านด้วยเอนไซม์ย่อยอาหารของปลานิลเพื่อการใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารปลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบจากมันพื้นบ้านด้วยเอนไซม์ย่อยอาหารของปลานิลเพื่อการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นโมเดลในการผลิตอาหารเพื่อลดต้นทุนสำหรับเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ โดยได้ทำการศึกษาเอนไซม์ย่อยอาหารในปลานิล จากการศึกษากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์อะไมเลส โปรติเอส ทริปซิน และไคโมทริปซิน ที่สกัดจากลำไส้ปลานิล พบว่ากิจกรรมการทำงานของเอนไซม์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.1703 ± 0.02, 0.4057 ± 0.05, 0.1244 ± 0.02 และ 0.3371 ± 0.06 umol/mg protein ตามลำดับ ส่วนประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในมันพื้นบ้านทั้งหมด 30 ชนิด พบว่า เอนไซม์ย่อยอาหารในปลานิลมีประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนในมันพื้นบ้านได้ดีที่สุด 5 อันดับแรก คือ มันออน มันเหยือก มันอ้อนบ่อเกลือ มันปลา และมันเลือดนก โดยมีค่าเท่ากับ 2,361.7 ± 82.6, 2,344.1 ± 260.6, 2,254.4 ± 144.6, 2,131.0 ± 79.8 และ 2,003.9 ± 24.8 umol DL-alanine/g feed/trypsin activity ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติพบว่า มันออน มีค่าประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนไม่แตกต่างกันทางสถิติกับมันเหยือก มันอ้อนบ่อเกลือ มันปลา มันเลือดนก มันซา มันมือเสือ และมันพร้าวยาว ส่วนประสิทธิภาพการย่อยคาร์โบไฮเดรตของเอนไซม์ย่อยอาหารจากปลานิลสามารถย่อยมันพื้นบ้านได้ดีที่สุด 5 อันดับแรก คือ มันอ้อนบ่อเกลือ มันออน มันเหลี่ยม มันเลือดนก และมันกล่ำ โดยมีค่าเท่ากับ 7,940.4 ± 600.7, 6,777.5 ± 36.6, 6,736.9 ± 477.1, 6,524.1 ± 109.7 และ 5,574.0 ± 4.2 umol maltose/ g feed/ amylase activity ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติพบว่า มันอ้อนบ่อเกลือ มีค่าประสิทธิภาพการย่อยคาร์โบไฮเดรตไม่แตกต่างกันทางสถิติกับมันออน โดยค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในมันพื้นบ้านทั้ง 30 ชนิด มีค่าเท่ากับ 1,617.0 ± 388.3 umol DL-alanine/g feed/trypsin activity และ 4,974.7 ± 973.2 umol maltose/g feed/amylase activity ตามลำดับ กล่าวได้ว่าผลการทดสอบประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในมันพื้นบ้านทั้งหมด 30 ชนิดมันพื้นบ้านที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงปลานิล คือ มันออน และมันอ้อนบ่อเกลือ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การุณ ทองประจุแก้ว และอุทัยวรรณ โกวิทวที. 2555. เอนไซม์ย่อยอาหารกับการพัฒนาอาหารเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 22(3): 710-720.
กรมการค้าภายใน. 2566. ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์. แหล่งข้อมูล: https://agri.dit.go.th/index.php/department_doc/3/. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566.
จุลทรรศน์คีรีแลง, เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน, ชนกันต์ จิตมนัส, Hien Van Doan และสุดาพร ตงศิริ. 2565. ผลของการเสริมลำต้นใต้ดินของบัวหิมะ (Smallanthus sonchifolius) ในอาหารต่อประสิทธิภาพการย่อยในหลอดทดลอง การเจริญเติบโต และการใช้ประโยชน์จากอาหารของปลากาดำ (Labeo chrysophekadion). วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 14(2): 418-429.
โฉมอนันต์ โพธิวงค์, ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล, สุดาพร ตงศิริ และชนกันต์ จิตมนัส. 2564. ประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบจากกล้วยด้วยเอนไซม์จากอวัยวะย่อยอาหารของปลาหมอไทย. แก่นเกษตร. 49(3): 733-739.
ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ์. 2557. การสร้างสูตรอาหารสัตว์น้ำและสูตรอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจ. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
ธนาวัฒน์ ศิริปริญญานันต์, บัณฑิต ยวงสร้อย, สุธี วงศ์มณีประทีป และสุทธิศักดิ์ บุญยัง. 2557. การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบอาหารในปลาโมงด้วยวิธี in vitro protein digestibility. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 1): 32-37.
รุ่งกานต์ กล้าหาญ, นนทวิทย์ อารีย์ชน, เรืองวิชญ์ ยุ้นพันธ์ และอรุณี อิงคากุล. 2551. กิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหารในปลานิล (Oreochromis niloticus,L.) ที่ขนาดต่างๆ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 2(2): 33-43.
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. 2536. อาหารปลา. สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย, ศิรินาถ หอประเดิมนุสรณ์, ตรีรัตน์ สุขสวัสดิ์ และสุบัณฑิต นิ่มรัตน์. 2561. กิจกรรมจำเพาะของเอนไซม์ทริปซิน และไคโมทริปซินของปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่มีอายุต่างกัน และทดสอบที่ออุณหภูมิต่างกัน. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 36(2): 125-142.
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย. 2566. บทสรุปอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็งไทย ไตรมาส 4/2565. แหล่งข้อมูล: https://www.thai-frozen.or.th/Content/Images/Insights-file/IndustrySummary/2023-16-2--17-18-09บทสรุปอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งไทย Q4 65.pdf. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566.
สิทธิชัย ฮะทะโชติ, เกตุนภัส ศรีไพโรจน์, อรพินท์ จินตสถาพร และศรีน้อย ชุ่มคำ. 2562. ผลของการใช้กากมันสำปะหลังและเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในสูตรอาหารปลานิลต่อประสิทธิภาพการย่อยได้และการเจริญเติบโต. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1): 1187-1194.
สุดาพร ตงศิริ และดวงพร อมรเลิศพิศาล. 2556. การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงปลานิลแบบลดต้นทุน และเป็นอาหารปลอดภัย. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
สมนึก พรมแดง, รงรอง หอมหวน, มณฑา วงศ์มณีโรจน์, รัตนา เอการัมย์ และสุลักษณ์ แจ่มจำรัส. 2561. สารสำคัญทางโภชนาการของมันเลือด. วารสารวิชาการเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน สายวิทยาศาสตร์. 1(1): 19-27.
อรพินท์ จิตสถาพร, ทัศนีย์ คชสีห์, ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ และส่งศรี มหาสวัสดิ์. 2546. การใช้ดักไหมบ้านทดแทนปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม. น. 94-120. ใน รายงานเรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 41 ประจำปี พ.ศ. 2546 (สาขาประมง). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Areekijseree, M., A. Engkagul, U. Kovitvadhi, A. Thongpan, M. Mingmuang, P. Pakkong, and K. Rungruangsak-Torrissen. 2004. Temperature and pH characteristics of amylase and proteinases of adult freshwater pearl mussel, Hyriopsis (Hyriopsis) bialatus Simpson 1900. Journal of Aquaculture. 234: 575–587.
Gonzalez-Felix, M.L., M. Perez-Velazquez, A.G. Villava-Villalba, R. Civera-Cerecedo, J.M. Ezquerra, and E. Goytortua-Bores. 2010. Tailoring a diet for Nile Tilapia (Oreochromis niloticus) culture in Northwest Mexico. Journal of Marine Science and Technology. 18(5): 674-681.
Moyano, F.J., M.A. Saénz-de Rodrigáñez, M. Díaz, and A.G.J. Tacon. 2014. Application of in vitro digestibility methodsin aquaculture: constraints and perspectives. Review. Aquaculture. 6: 1-20.
Rungruangsak-Torrissen, K., A. Rustad, J. Sunde, S. Eiane, H. Jensen, J. Opstvedt, E. Nygard, T. Samuelson, H. Mundheim, U. Luzzana, and G. Venturini. 2002. In vitro digestibility based on fish crude enzyme extract for prediction of feed quality in growth trials. Journal of the Science of Food and Agriculture. 82: 644-654.