ผลทางอัลลีโลพาธีของใบกัญชงต่อการงอกและการเติบโตของวัชพืชและพืชปลูกบางชนิด

Main Article Content

ณัฐณิชา ศรีลาศักดิ์
ทิพรดา พูลสวัสดิ์
อินทิรา ขูดแก้ว

บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกกัญชง (Cannabis sativa L.) มากขึ้น เนื่องจากนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทำให้มีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น มีรายงานว่ากัญชงมีการสร้างสารกลุ่มอัลลิโลเคมิคอล ซึ่งสามารถยับยั้งการเติบโตของพืชข้างเคียงได้ การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทางอัลลีโลพาธีของใบกัญชงต่อการงอกและเติบโตของพืชชนิดอื่นจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี หญ้าโขย่ง หญ้าขจรจบดอกเล็ก คะน้ายอด ผักกาดหอม ถั่วผี ต้อยติ่ง และสาบเสือ และศึกษาสมบัติความเป็นพิษต่อตนเอง ด้วยวิธี sandwich ผลการทดลองพบว่าใบกัญชงสามารถปลดปล่อยสารอัลลิโลเคมิคอลออกมา และมีผลยับยั้งการงอก ความยาวยอด ความยาวราก น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งของพืชทดสอบชนิดทั้ง 10 ชนิด เมื่อเพิ่มความเข้มข้นมีผลการยับยั้งการงอกและการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น และมีแนวโน้มในการยับยั้งพืชใบเลี้ยงคู่ได้ดีกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยกัญชงส่งผลยับยั้งการงอกและการเติบโตของต้อยติ่งได้ดีที่สุด ที่ความเข้มข้น 1.43 มก.น้ำหนักแห้ง/มล.วุ้น สามารถยับยั้งการงอก ความยาวยอดและความยาวรากได้มากกว่า 80% และยับยั้งการงอกและการเติบโตได้ 100% ที่ความเข้มข้นมากกว่า 7.14 มก.น้ำหนักแห้ง/มล.วุ้น ผลของสมบัติความเป็นพิษต่อตนเองพบว่า ใบกัญชงบดที่ความเข้มข้นต่ำไม่มีผลในการยับยั้งการงอก และส่งเสริมการเติบโตของต้นกล้ากัญชง ขณะที่ใบกัญชงความเข้มข้นตั้งแต่ 7.14 มก.น้ำหนักแห้ง/มล.วุ้น สามารถยับยั้งการงอกและการเติบโตของกัญชงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาจะเห็นว่าใบกัญชงแห้งมีศักยภาพทางอัลลีโลพาธีในการควบคุมการงอกและการเติบโตของพืชชนิดอื่นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงสาธารณสุข. 2566. สืบค้นข้อมูลพื้นที่ปลูก กัญชงกัญชา: กัญชงผ่านระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS). แหล่งข้อมูล: http://hemp.fda.moph.go.th/FDA_MARIJUANA/service/map. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2566.

กลุ่มพัฒนาพฤติกรรมการบริโภค กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. 2564. เรื่องน่ารู้ กัญชาทางการแพทย์ กัญชงพืชเศรษฐกิจ. บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด. สมุทรปราการ.

จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. โรงพิมพ์ทั่งฮั่วซิน. กรุงเทพฯ.

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม. 2566. แหล่งข้อมูล: http://www.qsbg.org/Database/plantdb/index.asp. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566.

วีระชัย ณ นคร. 2564. กัญชง (กัญชา) ความรู้เบื้องต้น : ชีววิทยาและเทคนิคการปลูก. บริษัทธรรมสารจำกัด. นนทบุรี.

อินทิรา ขูดแก้ว. 2559. ผลทาง allelopathy ของวัชพืชบางชนิดต่อการงอกและการเติบโตของผักกาดหอม (Lactuca sativa L.). แก่นเกษตร. 44: 771–776.

Agnieszka, S., R. Magdalena, B. Jan, W. Katarzyna, B. Malgorzata, H. Krzysztof and K. Danuta. 2016. Phytotoxic effect of fiber hemp essential oil on germination of some weeds and crops. Journal of Essential Oil Bearing Plants. 19: 262–276.

Al-Shatti, A. H., A. Redha, P. Suleman and R. Al-Hasan. 2014. The allelopathic potential of Conocarpus lancifolius (Engl.) leaves on dicot (Vigna sinensis L.), monocot (Zea mays L.) and soil-borne pathogenic fungi. American Journal of Plant Sciences. 5: 2889–2903.

Amâncio, B. C. S., K. P. Govêa, L. de O. R. Trindade, A. R. C. Neto, T. C. de Souza, and S. Barbosa. 2020. Sandwich method applied to the screening of allelopathic action in Byrsonima spp. (Malpighiaceae). Biologia. 75: 175–182.

Ashrafi, Z. Y., S. Sadeghi, H. R. Mashhadi, and M. A. Hassan. 2008. Allelopathic effects of sunflower (Helianthus annuus) on germination and growth of wild barley (Hordeum spontaneum). Journal of Agricultural Technology. 4: 219–229.

Chon, S. U., J. A. Jennings, and C. J. Nelson. 2006. Alfafa (Medicago sativa L.) autotoxicity: current status. Allelopathy Journal. 18(1): 57–80.

Chu, C., P.E. Mortimer, H. Wang, Y. Wang, X. Liu, and S. Yu. 2014. Allelopathic effects of Eucalyptus on native and introduced tree species. Forest Ecology and Management. 323: 79–84.

El-Khawas, S. A., and M. M. Shehata. 2005. The allelopathic potentialities of Acacia nilotica and Eucalyptus rostrata on monocot (Zea mays L.) and dicot (Phaseolus vulgaris L.) plants. Journal of Biotechnology. 4: 23–34.

Fujii, Y., S. S. Parvez, M. M. Parvez, Y. Ohmae, and O. Iida. 2003. Screening of 239 medicinal plant species for allelopathic activity using the sandwich method. Weed Biology and Management. 3: 233–241.

Janatová, A., A. Fraňková, P. Tlustoš, K. Hamouz, M. Božik, and P. Klouček. 2018. Yield and cannabinoids contents in different cannabis (Cannabis sativa L.) genotypes for medical use. Industrial Crops and Products. 112: 363–367.

Konstantinović, B., A. Koren, M. Kojić, N. Samardžić, V. Sikora, and M. Popov. 2021. Allelopathic properties of hemp. Contemporary Agriculture. 70: 101–107.

Koodkaew, I., and R. Rottasa. 2017. Allelopathic effects of giant sensitive plant (Mimosa pigra) leaf powder on germination and growth of popping pod and purslane. International Journal of Agriculture and Biology. 19: 1113–1118.

Miller, D. A. 1996. Allelopathy in forage crop systems. Agronomy Journal. 88: 854–859.

Patanè, C., A. Pellegrino, S. L. Cosentino, and G. Testa. 2023. Allelopathic effects of Cannabis sativa L. aqueous leaf extracts on seed germination and seedling growth in durum wheat and barley. Agronomy. 13: 454. https://doi.org/10.3390/agronomy13020454.

Pate, D. W. 1994. Chemical ecology of Cannabis. Journal of the International Hemp Association. 2: 32–37.

Pratley, J., P. Dowling, and R. Medd. 1996. Allelopathy in annual grasses. Journal of Plant Protection Quarterly. 11: 213–214.

Pudełko, K., L. Majchrzak, and D. Narożna. 2014. Allelopathic effect of fibre hemp (Cannabis sativa L.) on monocot and dicot plant species. Industrial Crops and Products. 56: 191–199.

Putnam, R. Alan, and S. O. Duke.1985. Weed allelopathy. Boca Raton, Florida.

Reigosa, M. J., A. Sánchez-Moreiras, and L. González. 1999. Ecophysiological approach in allelopathy. Journal of Critical Reviews in Plant Sciences. 18: 577–608.

Rice, E.L. 1984. Allelopathy 2nd ed. Academic Press, New York.

Singh, H. P., D. R. Batish, and R. K. Kohli. 2010. Autotoxicity: concept, organisms, and ecological significance. Critical Reviews in Plant Sciences. 18: 757–772.

Singh, N. B., and R. Thapar. 2003. Allelopathic influence of Cannabis sativa on growth and metabolism of Parthenium hysterophorus. Allelopathy Journal. 12(1): 61–70.

Wang, C., Z. Liu, Z. Wang, W. Pang, L. Zhang, Z. Wen, Y. Zhao, J. Sun, Z-Y. Wang, and C. Yang. 2022. Effects of autotoxicity and allelopathy on seed germination and seedling growth in Medicago truncatula. Frontiers in Plant Science. Doi: 10.3389/fpls.2022.908426.