ความคาดหวังในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

ศุภวรรณ บุญรอด
พิไลวรรณ ประพฤติ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจ และข้อมูลการผลิตปาล์มน้ำมัน 2) ความคาดหวังก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความคาดหวังในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 263 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำสวนปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 10.29 ปี มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 12.20 ไร่ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่ใช้แรงงานในครัวเรือน ปัญหาที่พบในการผลิตปาล์มน้ำมันก่อนเข้าร่วมโครงการฯ คือ มีต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกร ร้อยละ 98.9 รับรู้ข่าวสารโครงการเกษตรแปลงใหญ่ผ่านสื่อบุคคล คือ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร การลดต้นทุนเป็นความคาดหวังที่เกษตรกรใช้ในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ฯ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.42) หลังจากเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ พบว่ารายได้จากการขายผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น 1,856.84 บาทต่อไร่ต่อปี ต้นทุนการผลิตลดลง 443.52 บาทต่อไร่ต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้น 271.67 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี และเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.4 และพบว่าปัจจัยด้านประสบการณ์ปลูกปาล์มน้ำมันกับการพัฒนาคุณภาพ ขนาดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันกับการลดต้นทุน และขนาดพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการฯ กับการลดต้นทุน มีความสัมพันธ์กันทางบวก ส่วนรายจ่ายทั้งหมดของครัวเรือนกับการพัฒนาคุณภาพ มีความสัมพันธ์กันทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. คู่มือการดำเนินงานการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ ปีงบประมาณ 2559. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2565. ระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: https:// co-farm.doae.go.th. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565.

ฉวีวรรณ เจริญผ่อง, ชลาธร จูเจริญ และสุภาภรณ์ เลิศศิริ. 2565. ปัจจัยการตัดสินใจเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่โกโก้ของเกษตรกรในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. แก่นเกษตร. 50: 710-718.

รวิฐา ทวีพร้อม, พงศ์ภัทร เกียรติประเสริฐ, แก้วตา บุญร่วม, รุ่งทิพย์ เกษตรสิงห์ และสุเนตรา ทองจันทร์. 2565. แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในระบบเกษตรแปลงใหญ่แถบภาคอีสานใต้ตอนล่าง. สันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4: 1483-1494.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส. 2564. สรุปโครงการเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันจังหวัดนราธิวาส. จังหวัดนราธิวาส.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ปาล์มน้ำมันปี 2564. แหล่งข้อมูล: https://mis-app.oae.go.th/product/. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566.

สำนักงานสถิติจังหวัดนราธิวาส. 2561. สถานการณ์การปลูกปาล์มน้ำมันจังหวัดนราธิวาส. แหล่งข้อมูล: http://narathiwat.nso.go.th/index.php?option=com_content&view. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566.

สินีนาฏ จำนงค์, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และชลาธร จูเจริญ. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. เกษตรพระจอมเกล้า. 38: 408-416.

สุดารัตน์ แช่มเงิน. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนไวน์ศรีชุมแสงตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจพืชไร่นา. 2560. อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.แหล่งข้อมูล: www.arda.or.th/easyknowledge/easy-articlesdetail. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566.

Ajayi, M. T., and O. Solomon. 2010. Influence of extension contact and Farmers’ Socio-economic characteristics on adoption of oil palm technologies in Aniocha North Local Government, Delta State, Nigeria. Journal of Agriculture Science and Technology, 12: 35-46.

Alwarritzi, W., T. Nanseki, and Y. Chomei. 2015. Analysis of the factors influencing the technical efficiency among oil palm smallholder farmers in Indonesia. Procedia Environmental Sciences. 28: 630-638.

Arga, R., F. Ahmed, and S. Thongrak. 2021. The impact of oil palm farming on househosehold income and expenditure in indonesia. Journal of Asian Finance, Economics and Business. 8: 539–547.

Buapan, P., N. Sohheng, and N. Boonlue. 2018. The implementation of the extension policy on agricutural land plot support system of paddy field in chachoengsao province in the fiscal year 2016. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science. 13: 86-98.

Rist, L., Laure`ne Feintrenie, and P. Levang. 2010. The livelihood impacts of oil palm: smallholders in Indonesia. Biodiversity and Conservation. 19: 1009-1024.

Thirapong, K. 2017. The large agricutural land plot program and the context of Thailand’s Agriculture. Proceedings of the conference on the faculty of economics (pp.49-64). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Thongdeerawisuraket, P. 2019. Factors encouraging the participation of famers converting agricultural land in Kanchanaburi. Journal of Kanchanaburi Rajabhat University. 8: 107-119.

Yamane, T. 1967. Statistics, An Introductory Analysis, 2ndEd., New York: Harper and Row.