การศึกษาการดำเนินงานโครงการแปลงใหญ่ข้าว: กรณี ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการกลุ่ม 2) การดำเนินโครงการ และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ประธานและคณะกรรมการกลุ่ม เจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับผิดชอบโครงการ และคนในชุมชนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินความรู้กับกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ และสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ความรู้ เครื่องจักรกลการเกษตร และปัจจัยการผลิตจากหลายหน่วยงานรัฐ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้บรรลุ 3 เป้าหมายของโครงการตามเป้าหมาย 5 ด้าน คือ การลดต้นทุน (33.30%) การเพิ่มผลผลิต (25.93%) กลุ่มมีเมล็ดพันธุ์ดี กลุ่มมีการบริหารจัดการโดยมีโครงสร้างและกำหนดบทบาทหน้าที่ของกรรมการอย่างชัดเจน มีการปรับเปลี่ยนกติกากลุ่มตามสถานการณ์ และสามารถบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ และบริหารการเงินทำให้มีเงินปันผลให้สมาชิก แต่การพัฒนาคุณภาพการผลิตยังต่ำกว่าเป้าหมาย โดยสมาชิกได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์ 32% จากเป้าหมาย 50% และการมีตลาดรองรับผลผลิตที่ให้ราคาสูงกว่าตลาดทั่วไปที่มีเพียง 24% ของสมาชิกที่ไปจำหน่าย นอกจากนี้ ยังเกิดเครือข่ายสังคมระหว่างสมาชิก และองค์กรในชุมชน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 5.44) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการลดใช้สารเคมี การไถกลบตอซัง และการลดการเผาตอซัง ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มประสบปัญหาแหล่งรับซื้อที่ทำข้อตกลงอยู่ห่างไกล และการมีสมาชิกสูงอายุซึ่งส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมและเป้าหมายการพัฒนาของกลุ่ม กลุ่มควรจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิกเพื่อเพิ่มโอกาสในการหารายได้เข้ากลุ่ม มีการรวมกลุ่มในการจำหน่ายเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับแหล่งรับซื้อ เชื่อมโยงตลาดรับซื้อสินค้าตามมาตรฐาน และสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าโดยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว นอกจากนี้ กลุ่มควรมีการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้สามารถบริหารงานของกลุ่มได้อย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาที่ดิน. 2567. Agri-Map Online. แหล่งข้อมูล: http://agri-map-online.moac.go.th. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2567. ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: https://co-farm.doae.go.th/graph/ Dashboard1dsb.php. ค้นเมื่อ 7 มกราคม 2567.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2559. คู่มือ การดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล:
https://www.opsmoac.go.th/rayong-manual-files-402891791811. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560ก. ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนพัฒนาการเกษตร
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). แหล่งข้อมูล:
https://www.opsmoac.go.th/strategic-files-401191791792. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2560ข. คู่มือ การดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล:
https://www.agriman.doae.go.th/large%20plot%2059/k1/10_2%20(2).pdf. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2563. คู่มือการดำเนินงานโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด. แหล่งข้อมูล: https://co-farm.doae.go.th/up/doc/handbook.pdf. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ม.ป.ป. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th /chachoengsao -dwl-files-421591791801. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567.
เกศกุล สระกวี. 2564. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงและตัวชี้วัดทางพฤติกรรมในการประเมินผลกระทบทางสังคม. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 27(2): 1-19.
เกษศริน รอดศรี, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และพลสราญ สราญรมย์. 2562. ความเข้มแข็งของกล่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารแก่นเกษตร. 47(1): 1103-1110.
จินดา ขลิบทอง และเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ. 2558. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชน. แหล่งข้อมูล: https://ird01.stou.ac.th/Researchlib/ShowDataResearch.php?AutoID=2558_030. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567.
ฉวีวรรณ เจริญผ่อง, ชลาธร จูเจริญ และสุภาภรณ์ เลิศศิริ. 2565. ปัจจัยการตัดสินใจเข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่โกโก้ของเกษตรกรในอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วารสารแก่นเกษตร. 50(3): 710-718.
ธีรเดช ฉายอรุณ. 2562. การประเมินผลโครงการ. แหล่งข้อมูล: http://dcd.ddc.moph.go.th/uploads/file/HR_Nim/%E0%B8%81
%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%20(2562).pdf. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567.
บรรเจิดศักดิ์ สัณหภักดี, กันต์ติกมาฐ รัตนปริญญานุกูล, ชุติระ ระบอบ, พิษณุ วรรณกูล และมงคล ยุพัฒน์. 2564. นโยบายเกษตรแปลงใหญ่กับบริบทของเกษตรกรปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 13(1): 130-149.
บุญชม ศรีสะอาด. 2560. การวิจัยเบื้องต้น. สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. 2539. การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ และอารีย์ เชื้อเมืองพาน. 2564. ความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรระบบเกษตรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 38(3): 182-193.
วชิรญา ไชยวุฒิ, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และพิชัย ทองดีเลิศ. 2564. การได้รับการสนับสนุนจากโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าว อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 52(1): 57-70.
วีรนุช กุดแถลง และสุกัลยา เชิญขวัญ. 2567. การรับรู้ผลกระทบจากการเผาตอซังและฟางข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเกษตร. 40(1): 113-126.
สมชาย ชาญณรงค์กุล. 2560. สัมฤทธิ์ผลของการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: https://home.mju.ac.th/News/3.%E0%B8
%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88.pdf. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567.
สิริยุพา เลิศกาญจนาพร. 2566. ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวนาปีของเกษตรกร โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 40(1): 130-138.
สุภางค์ จันทวานิช. 2557. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, วิษณุ อรรถวนิช, ภูมสิทธิ์ มหาสุวีระชัย, กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงศ์ และจิรัฐ เจนพึ่งพร. 2562. ภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมอย่างไรสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. แหล่งข้อมูล: https://thaipublica.org/2019/10/farming-farmer-perspective-insight/. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องคการมหาชน). 2561. การลดความสูญเสียในกระบวนการเก็บเกี่ยวขาวเปลือก กรณีศึกษา
การเก็บเกี่ยวขาวในพื้นที่สงเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: https://hectortarr.arda.or.th/api/ uploaded
_file /QF_leERAef1HXTJZFIgG3. ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2566. สรุปผลการสำรวจ ภาวการณ์ทำงานของประชากร เดือน ธันวาคม 2566. แหล่งข้อมูล: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2024/20240125144415_15907.pdf. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. รายงานการประเมินผล โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2559 – 2561. แหล่งข้อมูล: https://api-research.nabc.go.th/uploads/bd6ed57539_6f4b4dedc4d2d175776d59239022e309.pdf. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567.
อนนท์ สุขสวัสดิ์. 2543. การจัดการฟางข้าวเพื่อการปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว. วารสารวิชาการเกษตร. 38(3): 280-286.
Braun, V. and V. Clarke. 2006. Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology. 3(2): 77-101.
Caldwell, J. S., and A. Promkhambut. 2023. Technology change in dry season vegetable production: a comparison of two villages with and without a farmer group in Khon Kaen Province, Northeast Thailand. Journal of International Society for Southeast Asian Agricultural Sciences. 29(1): 102-119.
Johnson, N., N. Lilja, and J. A. Ashby. 2003. Measuring the impact of user participation in agricultural and natural resource management research. Agricultural Systems Journal. 78(2): 287-306.
Kabir, M. S., D. N. R. Paul, M. I. Hossain, and N. M. F. Rahman. 2016. Area and production of rice under different crop-cut methods in Bangladesh. Bangladesh Rice Journal. 20(1): 11-16.
Knook, J., V. Eoryb, M. Brandera, and D. Moranc. 2020. The evaluation of a participatory extension programme focused on climate friendly farming. Journal of Rural Studies. 76: 40-48.
Promkhambut, A., A. Polthanee, B. Simma, J. Fox, and A. T. Rambo. 2023. Reconfiguring Farming Systems of Smallholders with Market-Led Approach: A Case Study in Northeast Thailand. Sustainability. 15(16): 12144.