ผลของการใช้ซังและเปลือกข้าวโพดหมักยีสต์ทดแทนรำละเอียดในอาหารโคเนื้อ ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส และการย่อยสลายในหลอดทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ซังและเปลือกข้าวโพดหมักยีสต์ Saccharomyces cerevisiae (S. cerevisiae) ทดแทนรำละเอียดในอาหารโคเนื้อ ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส และการย่อยได้ในหลอดทดลอง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (complete randomized design, CRD) โดยแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 11 กลุ่มการทดลอง แต่ละกลุ่มการทดลองใช้สัดส่วนของรำละเอียดต่อซังและเปลือกข้าวโพดหมักยีสต์ที่แตกต่างกันคือ 100:0 (กลุ่มควบคุม), 90:10, 80:20, 70:30, 60:40, 50:50, 40:60, 30:70, 20:80, 10:90 และ 0:100% (วัตถุแห้ง) กลุ่มการทดลองละ 3 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า คุณค่าทางโภชนะของซังและเปลือกข้าวโพดหมักยีสต์ S. cerevisiae เพิ่มสูงขึ้น เช่น โปรตีน (crude protein, CP) และไชมัน (ether extract, EE) นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เยื่อใยลดลงเช่น เยื่อใยที่ไม่ละลายในสารละลายที่เป็นกลาง (neutral detergent fiber, NDF) และเยื่อใยที่ไม่ละลายในสารละลายที่เป็นกรด (acid detergent fiber, NDF) เมื่อทำการทดสอบจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส พบว่าค่าของส่วนที่ละลายได้ทันที (soluble fraction, a) ค่าของส่วนที่ละลายได้ช้า (insoluble fraction, b) ค่าอัตราส่วนของการผลิตแก๊ส (gas production rate, c) และและค่าศักยภาพในการผลิตแก๊ส (potential extent of gas production, a+ b) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.01) โดยกลุ่มที่มีค่า a สูงสุดคือกลุ่ม T6 (-0.95) และต่ำสุดคือกลุ่ม T10 (-6.06) ค่า b มีค่าสูงสุดคือกลุ่ม T10 (138.03) และมีค่าต่ำทีสุดคือกลุ่ม T6 (110.37) และค่า c มีค่าสูงสุดใกลุ่ม T7 (0.023) และมีค่าต่ำที่สุดคือกลุ่ม T6 (0.014) และค่า a+ b มีค่าสูงสุดในกลุ่ม T8 (132.11) และกลุ่มที่มีค่าที่ต่ำที่สุดคือ T6 (109.42) สำหรับการย่อยสลายของวัตถุแห้ง (in vitro dry matter degradability, IVDMD) และการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในหลอดทดลอง (in vitro organic matter degradability, IVOMD) ทั้งในชั่วโมงที่ 12 และ 24 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) จากข้อมูลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่า การใช้ซังและเปลือกข้าวโพดหมักยีสต์ทดแทนรำละเอียดในสูตรอาหารในสามารถใช้ได้ถึง 100 % โดยมีผลต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สแต่ไม่มีผลต่อการย่อยสลายได้ในหลอดทดลอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขาวพอน สะพังทอง, กฤษณพงศ์ หนุนยศ, จุฬากร ปานะถึก, ชุติกาญจน์ ศรทองแดง, อนุสรณ์ เชิดทอง, สินีนาฏ พลโยราช, ฐิติมา นรโภค, รัชตาภรณ์ ลุนสิน และสุบรรณ ฝอยกลาง. 2566. ผลของการทดแทนรำละเอียดด้วยฝุ่นข้าวโพดในอาหารข้นต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊ส และความสามารถในการย่อยได้ในหลอดทดลอง. น. 152-160. ใน: ประชุมวิชาการสัตวศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 เรื่องยกระดับมาตรฐานวิชาชีพสัตวบาลไทยพลิกโฉมงานวิจัยสู่สากล 5-8 กรกฎาคม 2566. สัตวศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ ม.นเรศวร. พิษณุโลก.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2567. ข้อมูลจำนวนเกษตรกและปศุสัตว์ในประเทศไทยประจำปี พ.ศ 2567. แหล่งข้อมูล: https://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/428-report-thailand-livestock/reportservey2567/1813-2567-monthly. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2567.
ฉลอง วชิรากร. 2541. โภชนะศาสตร์และการให้อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องเบื้องต้น. ภากวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, พินิจ จิรัคคกุล, ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, บัณฑิต จิตรจำนงค์, อนุชา เชาว์โชติ, สมเดช ไทยแท้ และมานพ คันธามารัตน์. 2560. โครงการพัฒนาระบบการผลิตวัตถุดิบจากเปลือกและซังข้าวโพดสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (ออกแบบและพัฒนาเครื่องบดและแยกซังข้าวโพดจากเปลือกและซังเพื่อเตรียมวัตถุดิบสำหรับผลิตเอทานอล). ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น จ.ขอนแก่น.
นิราวรรณ กุนัน. 2560. อาหารและการให้อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง. สาขาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ปณัท สุขสร้อย. 2563. การประเมินคุณภาพอาหารหยาบและเศษเหลือทางการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดสระแก้ว. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38: 376-381.
ศรัญญา ม่วงทิพย์มาลัย, สุบรรณ ฝอยกลาง, อนุสรณ์ เชิดทอง, จุฬากร ปานะถึก และจุฑารักษ์ กิติยานุภาพ. 2562. การปรับปรุงคุณภาพของกากถั่วเหลืองเปียกจากโรงงานเต้าหู้ด้วยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สในหลอดทดลอง. วารสารแก่นเกษตร. 47: 131-136.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2566. เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ประจำปี 2564/2565.แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/maize%20province%2064.pdf. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566.
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2566. การปรับปรุงคุณภาพเปลือกและซังข้าวโพดแห้ง ด้วยลูกแป้งจุลินทรีย์ เลี้ยงโครีดนมในฟาร์มเกษตรกร. แหล่งข้อมูล: https://nutrition.dld.go.th/nutrition/index.php. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567.
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2566. เปลือกข้าวโพดแห้ง ผลพลอยได้จากการเกษตรเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์. แหล่งข้อมูล: https://nutrition.dld.go.th/nutrition/index.php. ค้นเมื่อ: 17 พฤษภาคม 2567.
สายสมร โพธิระหงส์ และฉลอง วชิราภากร. 2560. ผลของการ เสริมผนังเซลล์ยีสต์ต่อผลผลิตแก๊สและการย่อยได้โดยใช้เทคนิคการวัดผลผลิตแก๊สในหลอดทดลอง. วารสารแก่นเกษตร. 45: 53-57.
AOAC. 1995. Official Method of Analysis, 16th ed. Animal Feeds: Association of Official Analytical Chemists, VA, USA.
Foiklang, S., M. Wanapat, and T. Norrapoke. 2016. In vitro rumen fermentation and digestibility of buffaloes as influenced by grape pomace powder and urea treated rice straw supplementation. Animal Science Journal. 87: 370-377.
Foiklang, S., M. Wanapat, Y. Opatpatanakit, and A. Paserakung. 2016. Effect of yeast fermented and physical forms of corn husk on digestibility and fermentation by using in vitro gas techniques. The 17th Asian-Australasian Association of Animal Production Societies Animal Science Congress.
Lunsin, R., R. Pilajun, S. Foiklang, and J. Panatuk. 2021. Nutritive value and in vitrodigestibility of yeast-fermented corn dust with cassava pulp affected by ensiling time. Khon Kaen Aggiculture Journal. 50: 572-585.
Menke, K., L. Raab, A. Salewski, H. Steingass, D. Fritz, and W. Schneider. 1979. The estimation of the digestibility and metabolizable energy content of ruminant feedingstuffs from the gas production when they are incubated with rumen liquor in vitro. The Journal of Agricultural Science. 93: 217-222.
Ørskov, E.-R., and I. McDonald. 1979. The estimation of protein degradability in the rumen from incubation measurements weighted according to rate of passage. The Journal of Agricultural Science. 92: 499-503.
Sommart, K., D. Parker, P. Rowlinson, and M. Wanapat. 2000. Fermentation characteristics and microbial protein synthesis in an in vitro system using cassava, rice straw and dried Ruzi grass as substrates. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 13: 1084-1093.
Tilley, J., and d. R. Terry. 1963. A two-stage technique for the in vitro digestion of forage crops. Grass and Forage Science. 18: 104-111.
Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B. A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science. 74: 3583-3597.