พืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases; NCDs) โดยหมอยาพื้นบ้าน ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร จันทร์สองดวง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ปวีณา สาลีทอง คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง , พืชสมุนไพร , พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน , หมอยาพื้นบ้าน , จังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยหมอยาพื้นบ้าน ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2565 โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structer interviewed) หมอยาพื้นบ้าน ทั้งหมด 4 คน ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling ) ผลการศึกษาพบพืชสมุนไพร 34 ชนิด 31 สกุล 26 วงศ์ พืชสมุนไพรพบมากที่สุดในวงศ์ Fabaceae จำนวน
4 ชนิด (12%) รองลงมาเป็นพืชวงศ์ Acanthaceae, Moraceae, Rhamnaceae, Rutaceae และ Smilaceae มีจำนวนเท่ากัน 2 ชนิด (6%) วิธีการเตรียมพืชสมุนไพรที่นิยมมากที่สุดคือต้มดื่ม จำนวน 28 ชนิด (82%) รองลงมาคือ กินสด จำนวน 6 ชนิด (17%) ไม้ต้นเป็นลักษณะวิสัยของพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด จำนวน 13 ชนิด (39%) รองลงมาคือ ไม้พุ่ม จำนวน 9 ชนิด (27%) ส่วนของพืชที่นิยมนำมาทำยาสมุนไพรมากที่สุดคือ ลำต้น จำนวน 13 ชนิด (39%) รองลงมาคือ
ใบ จำนวน 9 ชนิด (26%) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ใช้สมุนไพรในการรักษา มี 6 กลุ่มโรค มีค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ความรู้ (ICF) ที่มากที่สุดคือโรคเบาหวาน ICF เท่ากับ 0.09 พืชที่มีดัชนีรายงานการใช้มากที่สุดเท่ากัน 2 ชนิด (UV=0.75) คือยอบ้าน (Morinda citrifolia L. Lecomte.) และกะทกรก (Passiflora foetida L.) ซึ่งใช้ในการบำรุงหัวใจ รักษาโรคความดันสูง และเบาหวานในทั้ง 2 ชนิด

References

กศิมา สง่ารัตนพิมาน และอรพิน ภัทรกรสกุล. (2564). การประเมินผลการพัฒนาระบบการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 5(1): 42-57.

ฐานข้อมูลพืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2553). ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565. http://www.phargarden.com/main.php.

มัทนา เครื่องเงิน และแดนชัย เครื่องเงิน. (2557). การใช้สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน: สักทอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1(1): 1-9.

สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541. กรมป่าไม้: กรุงเทพฯ.

นวพรรษ ผลดี และวรชาติ โตแก้ว. (2560). ภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหินฮาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย. สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 7. โรงพิมพ์เจริญผล: กรุงเทพมหานคร.

ปาจรีย์ อินทะชุบ. (2561). วิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในชุมชน. รายงานการวิจัย. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

พงศธร พอกเพิ่มดี. (2563). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2561-2580. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(1): 173-186.

พัฒ สุจำนงค์. (2524). การพัฒนาชนบทแบบผสมผสานสำหรับประเทศไทย. ไทยวัฒนาพานิช: กรุงเทพฯ.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการประเมินโอกาส เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก: กรุงเทพฯ.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด: กรุงเทพฯ.

ธีระ วรธนารัตน์. (2561). รู้เท่าทัน-ปรับพฤติกรรม-เสริมสร้างสุขภาวะ ป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อ NCDs. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. https://www.thairath.co.th/content/1374821.

สุวิมล ทองแกมแก้ว, พิทักษ์ อยู่มี และอนุสรา สีหนาท. (2560). โครงการการสำรวจพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ ในพื้นที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

สุนทรี จีนธรรม, ปัณณ์รภัส ถกลภักดี และจีรภัทร์ อัฐฐิศลิป์เวท. (2558). การศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดงบัง ตําบลดงขี้เหล็ก อําเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 10(3): 1-8.

ศรัญญา ก่อพันธ์, ธวัชชัย ธานี และสมบัติ อัปมระกา. (2018). ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชสมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในพื้นที่ป่าชุมชนโคกคูขาด-บ้านคูสี่แจ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(3): 247-262.

อาคม บุญเลิศ, อมร เปรมกมล และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2561). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการอีสานรวมมิตรในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนของเขตสุขภาพที่ 7. ศรีนครินทร์เวชสาร. 33(2): 122-128.

เอื้อมพร จันทร์สองดวง, ณัฐพล ดีประวี, ธรรณธร ผิวทอง และประภาสิริ ชื่นตา. (2565). พืชสมุนไพรของชุมชนไทลาวบ้านทรายมูล และชุมชนภูไทบ้านนากอก ในจังหวัดยโสธร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(1): 1-25.

Junsongduang A., Kasemwan W., Lumjoomjung S., Sabprachai W., Tanming W. and Balslev H. (2020). Ethnomedicinal knowledge of traditional healers in Roi Et. Thailand. Plants. 9(9): 1177.

Junsongduang A., Balslev H., Inta A., Jampeethong A. and Wangpakapattanawong P. (2014). Karen and Lawa medicinal plant use: Uniformity or ethnic divergence?. Journal of Ethnopharmacol. 151: 517–527.

Maneenoon K., Khuniad C., Teanuan Y., Saedan N., Prom-In S., Rukleng N., Kongpool W., Pinsook P. and Wongwiwat W. (2015). Ethnomedicinal plants used by traditional healers in Phatthalung Province, Peninsular Thailand. Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 11(43): 1-20.

Panyaphu K., On T.V., Sirisa-arda P., Srisa-ngac P., ChansaKaowa S. and Nathakarnkitkul S. (2011). Medicinal plants of the Mien (Yao) in northern Thailand and their potential value in the primary healthcare of postpartum women. Journal of Ethnopharmacol. 135: 226–237.

Phumthum M., Srithi K., Inta A., Junsongduang A., Tangjitman K., Pongamornkul W., Trisonthi C. and Balslev H. (2018). Ethnomedicinal plant diversity in Thailand. Journal of Ethnopharmacol. 214: 90–98.

Phillips O., Gentry A.H., Reynel C., Wilkin P. and Galvez-Durand B.C. (1994). Quantitative ethnobotany and amazonian conservation. Conservation Biology. 8(1): 225-248.

Smitinand T., Santisuk T. and Larsen K. (2005). Flora of Thailand. In Smitinand T., Santisuk T. and Larsen K., Editors. Diamond Printing: Bangkok.

Trotter R.T. and Logan M.H. (1986). Informant consensus: a new approach for identifying potentially effective medicinal plants. Bedfore Hills: New York.

World Health Organization. (2020). Noncommunicable diseases: Progress monitor 2020. Accessed 12 Jan. 2023. https://www.who.int/publications/i/item/ncd-progress-monitor-2020

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023 — Updated on 20-02-2024

Versions